Category: Writer & Poet

Wad Rawee วาด รวี

แม้จะไม่มีระบุอยู่ในระเบียบกฎหมายใดว่า การเป็นนักเขียน จะต้องรวมกับความเป็นนักคิด และนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคม หรือเรียกร้องประชาธิปไตยที่ถูกปล้น แต่ชื่อของ วาด รวี ในฐานะนักเขียนที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง นักแปล และบรรณาธิการ เจ้าสำนักหนังสือใต้ดิน ก็เป็นหนึ่งในลำดับต้นๆ สำหรับนักเขียนที่กล้าเปิดตัวเผชิญหน้ากับสิ่งที่เขาเห็นว่า ‘ผิด’ ไปจากอุดมการณ์ที่เขายึดมั่น บทบาทในแวดวงวรรณกรรมของเขา

Suchart Sawasdsri

“ประเทศจะดีขึ้นเยอะถ้าเลิกมีคำขวัญ มันสะท้อนอาการเก็บกดของผู้ใหญ่” สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ เพราะบทบาทและชื่อเสียงของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี นักเขียนเจ้าของนามปากกา สิงห์สนามหลวง ผู้ก่อตั้ง รางวัลช่อการะเกด นั้นไม่ใช่แค่บุคคลสำคัญผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์เมื่อปี พ.ศ. 2554  หากแต่เป็นหนึ่งเสาหลักของวงการวรรณกรรมไทยร่วมสมัย ในฐานะบรรณาธิการสื่อวรรณกรรมระดับตำนาน ที่สร้างนักเขียนชั้นนำมาประดับบรรณพิภพมาแล้วมากมายนับไม่ถ้วน

Prabda Yoon

“สังคมพยายามที่จะบอกว่า ผู้ใหญ่เป็นคนที่รู้ทุกอย่าง ต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่” ปราบดา หยุ่น นับตั้งแต่ก้าวแรกสู่วงการวรรณกรรม จนได้รับรางวัลซีไรต์ในปี พ.ศ. 2545 เมื่อเขามีอายุได้ 29 ปี จากหนังสือรวมเรื่องสั้นชุด ความน่าจะเป็น ชื่อเสียงและบทบาทของ ‘ปราบดา หยุ่น’ ก็ไม่เคยขาดหายไปจากแวดวงหนังสือ ทั้งในฐานะนักเขียนและนักออกแบบที่มีความสามารถโดดเด่น ผู้มีผลงานสร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหลายสาขา รวมถึงบทบาทในฐานะกลุ่มผู้นำทางความคิดที่จะปลดปล่อยสังคมไทยจากอำนาจหรือข้อกฎหมายที่เขาและเหล่าผู้ร่วมอุดมการณ์เห็นว่าไม่เป็นธรรม

Aunyawan Thongboonrod

ไม่ว่าจะเป็นบทกวีของ ฌาคส์ เพรแวต์ (Jacques Prévert) หรือ บทเพลงแสนเศร้าแต่เปี่ยมไปด้วยพลังของ แจคเกอลีน ดู เพร (Jacqueline du Pré) ล้วนเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย งดงาม และมีความหมายของ อัญวรรณ ทองบุญรอด

Orasom Suttisakorn

อาหารจานสวยรสอร่อยล้ำ ที่หากเราได้มีโอกาสชิมและหมดเกลี้ยงภายในไม่กี่นาที บางคนอาจนึกไม่ถึงว่ากระบวนการปรุงรสเหล่านั้นต้องผ่านกรรมวิธีที่พิถีพิถัน ใช้เวลาค้นหาวัตถุดิบ คิดค้นสูตรนานเพียงใด บางจานอาจใช้เวลาเป็นปี

Angkarn Chanthathip

เมื่อบทกวีคือสิ่งที่เขารัก และการเขียนบทกวีคือการงานของความรัก หน้าที่หลักของกวีซีไรท์อย่างอังคาร จันทาทิพย์ จึงต้องรับผิดชอบต่อความรักของตนเองอย่างดีที่สุด เพื่อถ่ายทอดผลงานออกมาให้เป็นมาตรฐานที่สูงที่สุดที่นักเขียนคนนึงพึงจะทำได้

Vichai Matakul

อย่าไปฟูมฟาย อย่าไปให้ค่ากับมันมากเกินไป คนเรามีความฝันก็ได้ไม่มีก็ได้ แต่ว่าคุณต้องมีสิ่งที่คุณอยากทำ บางคนจะให้ค่าของความฝันแล้วก็รอมัน ฝันแล้วไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย บอกว่าอยากเป็นนักบินอวกาศแต่ไปทำนู่นนี่ไม่ได้เข็นชีวิตให้เบนไปทางนั้น

ศิวกานท์ ปทุมสูติ

ชีวิตที่แวดล้อมอยู่กับความซื่อตรงและความงดงามของธรรมชาติ ผนวกกับประสบการณ์ที่หลากหลายในวัยเยาว์ อีกทั้งคำสอนของพุทธศาสนา ล้วนเป็นเบ้าหลอมให้ผลงานทางด้านวรรณศิลป์ของศิวกานท์ ปทุมสูติ

ผาด พาสิกรณ์

ผาด พาสิกรณ์ เป็นนักเขียน “ตัวจริง” คนหนึ่งในวันนี้ และผมเชื่อว่าในอนาคต ความเป็นตัวจริงของเขาจะสำแดงออกมาชัดแจ้งขึ้น จนยุคสมัยไม่สามารถผ่านเลยเขาไปได้โดยเฉยเมย (ชาติ กอบจิตติ)

มกุฏ อรฤดี

ซอยเล็กๆ ติดห้างสรรพสินค้าสุดหรูใจกลางเมือง มีรถราแล่นวุ่นวายตั้งแต่เช้าจรดเย็น เดินเข้ามาไม่ถึงอึดใจ สำนักพิมพ์ผีเสื้อตั้งอยู่เงียบๆ ภายใต้รั้วสีเขียวแข่งกับไม้ใหญ่สีเขียวดูสบายตา จากประตูกระจกหน้าอาคารมองเข้าไปด้านใน สิ่งที่เห็นสิ่งแรกคือหนังสือมากมาย

วิภาส ศรีทอง

ตัวตนฅนซีไรต์ วิภาส ศรีทอง เจ้าของรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี 2555

เสี้ยวจันทร์ แรมไพร

Photo by : นิวัต พุทธประสาท เสี้ยวจันทร์ แรมไพร วันนี้เขาจะรอนแรมไปแห่งใด เสี้ยวจันทร์ แรมไพร บรรณาธิการ นักเขียน กวี ที่ทุกคนคุ้นหูกันดีนั้น คงเช่นเดียวกับนักเขียนที่ชอบเดินทางหรือนักเดินทางที่ชอบเขียน ทุกครั้งที่เขาออกเดินทาง เรื่องเล่าจากปลายทางของเขา มักทำให้เราอบอุ่น สนุกสนาน ชวนติดตาม

เจน สงสมพันธุ์

“ในความรู้สึกทุกครั้งที่เหนื่อย ผมก็อยากที่จะเขียนในความเหนื่อยนั่นเอง แม้อาจจะเขียนได้ไม่ดีเท่าที่ควรแต่ทุกครั้งที่เหนื่อยก็อยากเขียนหนังสือแล้วความสุขก็จะฟื้นคืนกลับมา”

วรพจน์ พันธุ์พงศ์

เมื่อเอ่ยชื่อของ “วรพจน์ พันธุ์พงศ์” หลายคนคงรู้จักเขาในนามของ “นักสัมภาษณ์มือหนึ่ง” ตามที่ใครบางคนได้เคยนิยามเอาไว้ หากแต่ที่มาของคำชื่นชมนั้นก็มิได้เป็นเพียงแค่คำกล่าวอ้างหรือคำร่ำลือ เพราะความสามารถที่ได้บ่มเพาะ ขัดเกลา และฉายชัดให้เราได้เห็นตลอดในระยะเวลาเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมา

ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ

“ผู้ขับกล่อมบทกวีแห่งลุ่มแม่น้ำยม” จากความประทับใจในบทอาขยานเมื่อครั้งยังเยาว์ เติบโต ขยับขยายจนกลายเป็นความรักในตัวหนังสือและท่วงทำนองคล้องจอง ที่ซึมซับผ่านหน้ากระดาษแผ่นแล้วแผ่นเล่า และได้ถ่ายทอดความรักนั้นเป็น ‘บทกวี’ รสสัมผัสเฉพาะตน ที่เมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไป ประสบการณ์หลายหลากช่วยขับเคี่ยวให้ทั้งตัวตนและผลงานของเขาเป็นที่ประจักษ์แจ่มชัดแก่เหล่านักอ่าน

มนตรี ศรียงค์

กวีรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2550 กวีหมี่เป็ด  มนตรี ศรียงค์ กวีหนุ่มชาวหาดใหญ่ ผู้เริ่มต้นการเขียนบทกวีในช่วงพฤษภาทมิฬ มีฉายานามในแวดวงวรรณกรรมคือ “กวีหมี่เป็ด” เพราะเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยวหมี่เป็ดชื่อ “ร้านหมี่เป็ดศิริวัฒน์” อยู่ริมถนนละม้ายสงเคราะห์ กลางเมืองหาดใหญ่ จ.สงขลา บ้านเกิด เป็นอาชีพหลัก

อนุสรณ์ ติปยานนท์

“การเขียนเป็นสิ่งหนึ่งในโลกที่ผมเชื่อมั่นในคุณค่าของมัน” อนุสรณ์ ติปยานนท์  ชายผู้ตัดสินใจหันหลังให้กับการสอนหนังสือ แล้วมาจับงานด้านการเขียนอย่างจริงจัง อนุสรณ์เป็นนักเขียนและนักแปลที่มีสำนวนภาษาหม่นเหงาทว่าชวนติดตาม งานของเขามักจะพาผู้อ่านล่องลอยไปในเรื่องราวชวนฝันอันนุ่มนวล ชวนเคลิ้มคล้อย และเชื่อแน่ว่าผู้อ่านไม่น้อยที่ได้เปิดหน้าแรกของงานเขียนของเขา จะภาวนาอยู่ลึกๆ ว่าไม่อยากให้เปิดถึงหน้าสุดท้าย

ภานุ ตรัยเวช

“นักเขียนต้องเป็นคนที่“มีอะไร หรือรู้อะไร”มากกว่าคนปรกติ” ภาณุ ตรัยเวช ชื่อจริงสกุลจริงของนักเขียนหนุ่มที่พุ่งแรงที่สุดในเวลานี้ ด้วยวัยเพียง 28 ปี ภาณุเป็นนักเขียนที่มีผลงานเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ถึง 2 สมัย จากนวนิยายเรื่อง “เด็กกำพร้าแห่งสรวงสวรรค์” ที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ประเภทนิยาย ในปี พ.ศ. 2549 และจากผลงานรวมเรื่องสั้น “วรรณกรรมตกสระ” ที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ประเภทรวมเรื่องสั้น ในปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา

สมเถา สุจริตกุล

ศิลปินอัจฉริยะ สมเถา สุจริตกุล  วาทยากร คีตกร นักประพันธ์เพลงคลาสสิค ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักเขียนที่มีชื่อเสียงเป็นสากลคนหนึ่งของเมืองไทย ภายใต้นามปากกา S.P.Somtow ที่เขาใช้ในการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีกลิ่นอายความเป็นเอเชีย ผลงานของสมเถาทั้งหมดเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ได้รับการแปลในหลายภาษา และได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมายในต่างประเทศ

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

กวีศรีรัตนโกสินทร์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ผู้เป็นต้นแบบให้กับกวีรุ่นหลังมากมาย มีผลงานหลากหลายและต่อเนื่องเสมอมา เนาวรัตน์โดดเด่นด้านกวีนิพนธ์ที่ถึงพร้อมทั้งลีลาและเนื้อหา ทำให้ไม่น่าแปลกใจ ที่ความสามารถทางกวีของเขา จะส่งให้เขาได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประเภทกวีนิพนธ์ในปี พ.ศ. 2523 จากกวีนิพนธ์ “เพียงความเคลื่อนไหว”

วสันต์ สิทธิเขตต์

“บทกวีเหมือนกับการเจียรนัยเพชร สกัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก ให้เหลือแต่แก่นสาระจริงงาม” วสันต์ สิทธิเขตต์ เป็นชาวนครสวรรค์ เป็นศิลปิน เป็นกวี เป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นนักต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรม เป็นชาวม็อบ เป็นผู้ก่อตั้งพรรคศิลปิน และอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายตามแต่ใครจะนิยามตัวตนให้แก่เขา

ประชาคม ลุนาชัย

นักเขียนผู้ล่องเรืออยู่ในมหานทีแห่งชีวิตอันไร้ฟองคลื่น ประชาคม ลุนาชัย ร่วมสองทศวรรษเห็นจะได้ นับตั้งแต่ที่ชื่อของ “ประชาคม ลุนาชัย” เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงวรรณกรรม จากการเป็นนักเขียนมือรางวัลสู่ผลงานที่ถูกตีพิมพ์ออกมาจนเกินคณานับ ผู้คนมากมายกล่าวถึง “ประชาคม” ในแง่ของพรสวรรค์ที่ไม่มีรากฐานใดจากประภาคารแห่งชีวิตมาเอื้ออำนวย ซึ่งนั่นอาจจะเป็นสิ่งที่หลอมรวมให้เกิดขึ้นมาเป็นตัวตนของเขาคนนี้ นับจากอดีตล่วงเข้าสู่ปัจจุบัน

ซะการีย์ยา อมตยา

ซะการีย์ยา อมตยา กับการเดินทางของกวีผู้ไม่มีฉันทลักษณ์ อะไรที่ทำให้คุณเริ่มต้นเป็นกวี คงต้องเริ่มจากการเขียนระบายความรู้สึกในสมุดจดในห้องเรียน ในช่วงปีหนึ่งตอนที่ไปเรียนต่อปริญญาตรีที่อินเดีย ซึ่งเป็นช่วงที่ผมต้องเรียนภาษา แต่ยังฟังอาจารย์สอนไม่รู้เรื่อง เพราะเรียนเป็นภาษาอาหรับทั้งหมด

จิระนันท์ พิตรปรีชา

นักเขียนรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2532 จากกวีนิพนธ์เรื่อง ใบไม้ที่หายไป จิระนันท์ พิตรปรีชา อะไรที่ทำให้คุณเริ่มเป็นกวี เริ่มเขียนกวีเพราะไม่มีอะไรจะทำ สมัยเด็กๆ เป็นลูกสาวคนเดียว พี่ชายน้องชายก็ไม่ค่อยเล่นด้วย แล้วก็อยู่ในร้านหนังสือ ร้านเป็นห้องแถว 3 ห้อง ซีกหนึ่งเป็นหนังสือเริงรมย์ล้วนๆ เลย พวกนิยายจากสำนักพิมพ์ต่างๆ

อุทิศ เหมะมูล

นักเขียนรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2552 อุทิศ เหมะมูล อะไรที่ทำให้คุณเริ่มเป็นนักเขียน และอะไรที่ทำให้คุณยังเป็นนักเขียน สิ่งแรกเลยคงต้องเริ่มต้นจากความอึดอัดคับข้องใจต่อคำถามที่พยายามแสวงหาคำตอบให้กับตัวเองในช่วงชีวิตวัยแรกรุ่น ความรู้สึกที่ว่าตัวเองไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่มีต่อครอบครัวและชุมชนที่ตนเองสังกัดอยู่

ฟ้า พูลวรลักษณ์

ผู้บุกเบิก การเขียนบทกวีแคนโต้  ฟ้า พูลวรลักษณ์ เป็นชื่อของชายสัญชาติไทย ผู้เป็นลูกชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 7 คนของตระกูลเศรษฐีของประเทศนี้ กระนั้น แทนที่จะเลือกดำเนินชีวิตในฐานะนักธุรกิจ ฟ้ากลับเลือกที่จะเป็นศิลปิน

กิติคุณ คัมภิรานนท์

กวีเลือดใหม่อนาคตไกล กิติคุณ คัมภิรานนท์  ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์วรรณกรรมไทย ‘บทกวี’ ไม่เคยห่างหายหรือเสื่อมมนตร์ขลังลงเลย ทว่าแม้ปัจจุบันบทกวีจะยังคงมีชีวิตอยู่เราก็อาจหา ‘กวี’ ผู้สามารถใส่ความร่วมสมัยลงในฉันทลักษณ์ได้น้อยเต็มที

อภิชาติ เพชรลีลา

อ่านตัวตน ผ่านบทสนทนาแบบสบายๆ อภิชาติ เพชรลีลา เมื่อวันที่ 28 พ.ย. ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในงานเสวนากิจกรรมนักเขียนพบผู้อ่าน ในหัวข้อ “สูตรลับของนักเขียน (มีอยู่จริง?)” ในงาน CMU Book Fair ครั้งที่ 15 ที่จัดขึ้น ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขจรฤทธิ์ รักษา

ความเป็นนักเขียน…พิสูจน์กันทั้งชีวิต!  ขจรฤทธิ์ รักษา นักเขียนหนุ่มใหญ่ชาวตรัง ผู้คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงวรรณกรรมไทยมานาน ทั้งในฐานะนักเขียน และผู้ก่อตั้งนิตยสาร “ไรเตอร์” ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นนิตยสารวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมและเสียงชื่นชมมากที่สุดเล่มหนึ่ง ด้วยฝีไม้ลายมือและประสบการณ์ที่สั่งสม จึงไม่แปลกที่เขาจะได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2551

วัชระ สัจจะสารสิน

ตัวตน ปณิธาน การงาน ทัศนะ  วัชระ สัจจะสารสิน เป็นนามปากกาของนักเขียนหนุ่มชาวสงขลา ผู้ได้แรงบันดาลใจในการเป็นนักเขียนจากกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ มีผลงานเรื่องสั้นตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 นับจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 10 กว่าปีที่วัชระเดินมาบนเส้นทางสายวรรณกรรม มีเรื่องสั้นที่เขียนไว้และเผยแพร่ตามหน้านิตยสารและการประกวดรางวัลกว่า 50 เรื่อง จนวาระสมควร จึงรวมเล่มออกมาเป็นรวมเรื่องสั้นเล่มแรกในชีวิต ในชื่อ “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง”

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์

ผู้มาจากความโดดเดี่ยว  เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีและนักเขียนหนุ่มชาวสุพรรณบุรี ผู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาอย่างเข้มข้นโชกโชน ทั้งการเป็นทหารเกณฑ์ คนงานในโรงงานผลิตรองเท้า ฯ เรวัตร์เริ่มต้นการเป็นนักเขียนเรื่องสั้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 พร้อมๆ กับผันตัวเองไปเป็นชาวไร่ ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2532 จะหันมาทำงานด้านกวีอย่างจริงจัง

ปราย พันแสง

“เขาบอกว่าวรรณกรรมไทยขายยาก”  ปราย พันแสง นักเขียนหญิงที่มีผลงานและได้รับการยอมรับในแวดวงวรรณกรรมไทยคนหนึ่ง ปรายเริ่มต้นเขียนงานตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยมปลาย ด้วยแรงกระตุ้นจากการได้อ่านผลงานของนักเขียนท่านอื่นๆ จนเกิดแรงบันดาลใจอยากเขียนผลงานของตัวเอง  ปรายคร่ำหวอดในแวดวงหนังสือมายาวนาน ทั้งในฐานะกองบรรณาธิการ นักข่าวหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการนิตยสาร นักเขียนบทละครโทรทัศน์ ฯลฯ

โชคชัย บัณฑิต

กวีแนวสร้างสรรค์ก็คือเอ็นจีโอที่ต่อมโรแมนติคโตผิดปกติ  โชคชัย บัณฑิต’ เป็นนามปากกาของโชคชัย บัณฑิตศิละศักดิ์ กวีชาวนครสวรรค์ ที่เริ่มมีผลงานเผยแพร่ตามหน้านิตยสารตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ขณะเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กาลเวลาผ่านไป ปัจจุบันโชคชัยมีผลงานรวมเล่มทั้งหมดจำนวน 5 เล่ม

บินหลา สันกาลาคีรี

นักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2548  บินหลา สันกาลาคีรี 18 ม.ค. 2550 ผมมีโอกาสไปร่วมงานเสวนาและเปิดตัวหนังสือ “ใบไม้ใบสุดท้าย” ผลงานของบุนเสิน แสงมะนี ที่ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2005 ของประเทศลาว ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้ วังจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ ภายในงาน ผมได้พบกับพี่บินหลา สันกาลาคีรี ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในงาน

ไพวรินทร์ ขาวงาม

ในความไพเราะ สวยงาม ลึกซึ้ง และกินใจ  ไพวรินทร์ ขาวงาม ชื่อจริงสกุลจริงของกวีชาวร้อยเอ็ด ผู้เติบโตและเก็บเกี่ยวอาหารทางจิตวิญญาณจากธรรมชาติชนบท ปรากฏเป็นลีลาอ่อนหวานชวนเคลิ้มฝันและลึกซึ้งตรึงใจในบทกวีที่เขาถ่ายทอดออกมา ไพวรินทร์ผ่านงานมาหลากหลาย ทั้งงานการสอน งานนิตยสาร หรืองานรับจ้าง แต่ทั้งหมดทั้งมวลก็คงไม่เทียบเท่างานที่ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นงาน คือ การเขียนกวี ที่เขาบอกว่าเปรียบเสมือนรักแท้ของเขา

สกุล บุณยทัต

“นักเขียนคือนักผจญภัยทางจิตวิญญาณ”  สกุล บุณยทัต-นักเขียนและนักวิชาการที่มีความสามารถสร้างผลงานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งบทละคร เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ นวนิยาย นิทาน สารคดี บทภาพยนตร์ บทเพลง บทวิจารณ์ รวมถึงบทความวิชาการด้านต่างๆ สกุลเคยมีผลงานรวมเรื่องสั้นผ่านเข้ารอบสุดท้ายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2536 คือเรื่อง “ขณะหนึ่ง…ขณะนั้น”

กฤษณา อโศกสิน

นักเขียนหญิง 5 ทศวรรษ กฤษณา อโศกสิน นามปากกาของสุกัญญา ชลศึกษ์ นักเขียนหญิงผู้มีชั่วโมงการทำงานยาวนานเป็นอันดับต้นๆ คนหนึ่งในวงวรรณกรรมบ้านเรา ภายใต้นามปากกานี้ สุกัญญามีผลงานเผยแพร่มากกว่าร้อยเรื่อง เช่น วิหคที่หลงทาง, ข้ามสีทันดร, บุษบกใบไม้, เพลงบินใบงิ้ว, น้ำเซาะทราย ฯลฯ

งามพรรณ เวชชาชีวะ

นักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2549 จากนวนิยาย “ ความสุขของกะทิ ”  งามพรรณ เวชชาชีวะ อะไรที่ทำให้คุณเริ่มเป็นนักเขียน และอะไรที่ทำให้คุณยังเป็นนักเขียน ดิฉันฝันอยากเป็นนักเขียนมาตั้งแต่เด็ก แล้วก็คิดเสมอว่าการเป็นนักเขียนน่าจะเป็นงานที่อิสระดี ได้มีโอกาสใช้จินตนาการอย่างที่ตัวเองคิดไว้และก็ยังจะสามารถสร้างงานที่ทำให้คนอื่น เช่น คนอ่าน ได้รับความบันเทิงไปด้วย

ชมัยภร แสงกระจ่าง

นักเขียนที่แท้จริงจะคิดเรื่องเงินเรื่องตลาดไม่ได้เลย เพราะถ้าคิดความต้องการนำเสนอที่แท้จริงมันจะเบี่ยงเบนไป นักเขียนผู้รจนาวรรณกรรมนั้นอยู่คู่สังคมอารยะมายาวนาน ไม่ว่าชนชาติใดย่อมจะมีนักประพันธ์เป็นเกียรติเป็นศรีแก่สังคม/ชุมชนนั้นๆ แม้กาลเวลาผันผ่านแต่ผลงานยังคงคุณค่าจารึกไว้ให้ผู้อ่านได้ซึมซับอรรถประโยชน์จากวรรณศิลป์อยู่มิรู้คลาย โดยไม่จำเป็นต้องประกาศจูงใจว่าตีพิมพ์ครั้งที่เท่าไหร่ หรือมีใครเขียนคำนิยมเชิดชูดังสมัยนิยมในปัจจุบัน ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย คนที่ 16

เดือนวาด พิมวนา

นักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2546 จากนวนิยาย “ช่างสำราญ” เดือนวาด พิมวนา