ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา WTF คาเฟ่เเละเเกลลอรี่ได้ดำเนินการบนความเชื่อหลักที่ว่าศิลปะเเละศิลปินคือปัจจัยหลักสำคัญที่มีผลกระทบต่อสังคมรอบตัวเราได้อย่างจริงจัง เเละสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบทสนทนา เรื่องบทบาทหน้าที่พลเมืองที่ดี ช่วยผลักดันสังคมให้ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราสนับสนุนศิลปินที่มีความพยายาม ที่จะเป็นหัวเข็มในการขับเคลื่อนหลักของความยุติธรรมในสังคม ช่วยปูหรือกระตุ้นเเนวทางเเละมุมมองใหม่ๆ เพื่อทำให้เราเข้าใจโลกได้ดียิ่งขึ้น ผลงานที่เรา ร่วมสร้างกับศิลปินจึงมีตั้งเเต่งานที่เป็นเรื่องน่ามหัศจรรย์ สนุกสนาน ดูเเล้วรู้สึกดี ไปจนถึงงานศิลปะที่มีความกล้าเเสดงออกทางความคิดอย่างรุนเเรงเเละ น่าหวาดเสียว รวมทั้งงานที่ยั่วยุทางความคิด
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการเปลี่ยนเเปลงอันยิ่งใหญ่ในประเทศของเรา การก่อรัฐประหารครั้งล่าสุดดูเหมือนจะก่อให้เกิดความขัดเเย้งมากกว่าการเเก้ปัญหา เกิดความสับสนทั้งภายในเเละระหว่างกลุ่ม ที่อาจดูเหมือนว่าเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ของประเทศเราในครั้งนี้ ด้วยความเชื่อที่ว่า ถ้าเราได้ “คนดี”เข้ามาจัดการปัญหาทั้งหมดทั้งมวล ความขัดเเย้ง ความรุนเเรงเเละความยุ่งเหยิงทางการเมืองก็จะหายไปได้ในพริบตา
ในช่วงปี 2014 ระหว่างการประท้วงที่กำลังเข้มข้น ซึ่งท้ายสุดได้นำไปสู่การทำรัฐประหารของรัฐบาลคณะปัจจุบัน WTF เเกลลอรี่ ได้ตัดสินใจจัดงาน นิทรรศการการเมืองที่ใช้ชื่อว่า “Conflicted Vision” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองสร้างบทสนทนาระหว่างศิลปินเเละนักคิด ที่มีอุดมคติทางการเมืองเเละสังคมที่ต่างขั้วกันอย่างอย่างสิ้นเชิง ทั้งสองฝ่ายต่างมีความต้องการเเสดงออกถึงความรู้สึกเเละความเห็นของตนเองผ่านผลงานศิลปะ ด้วยจุดประสงค์ที่เเตกต่างกัน อาทิเช่น เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง, เพื่อการเเสดงความไม่เห็นด้วย, ไม่พอใจ หรือการหาพื้นที่ในสังคมที่เหมาะสมกับตนเอง ไปจนถึงสาเหตุที่มากไปกว่าเรื่อง การเมือง การจัดนิทรรศการ Conflicted Visions ไม่ได้มีความคาดหวังมากถึงขนาดที่จะเปิดเวทีหรือช่องทางสำหรับบทสนทนาที่เเท้จริงเเละยั้งยืนระหว่าง กลุ่มคนที่มีอุดมคติอันรุนเเรงเเละเเตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในช่วงนั้น เเต่มันได้ทำหน้าที่ตั้งคำถามว่าศิลปินเเละประชาชนของประเทศนี้จะสามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างสันติหรือไม่ หากเเต่ละคนมีความเห็นที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเรื่องพื้นฐานหลักของความเชื่อ เเละอุดมคติทางการเมืองเเละสังคม เราเช่ือว่านิทรรศการ Conflicted Visions ได้เเสดงให้เห็นถึงความพยายามของการข้ามร้่วเส้นเเบ่งอคติของสังคม (Bangkok Post, 9/04/14)
ภายหลังงานนิทรรศการ Conflicted Visions เพียงไม่กี่เดือน รัฐบาลทหารได้ยึดอำนาจประเทศอีกครั้งอย่างเปิดเผยมากกว่าครั้งก่อน เเละตั้งตนเองเป็นรัฐบาลปกครองประเทศ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อลดระดับความคิดของคนทั้งประเทศให้มีความคิดเดียวกันไปในทางเดียวกัน (ปรองดอง) มาตราการหลักเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในครั้งนี้ คือการลดอำนาจสิทธิมนุษยชน เเละความเป็นอิสระในการเเสดงออกทางความคิดทั้งหมด ทัศนคติเเละวิธีคิดของรัฐบาลทหารในรูปเเบบนี้ มีผลกระทบครอบคลุมไปทั่วถึงทุกฝ่าย รวมทั้งวงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดเเย้งทางการเมืองเลยเเม้เเต่น้อย เป็นเพียงองค์กรที่มีภาระหน้าที่ในการเป็นกลางทางความยุติธรรม หรือองค์กรมีอุดมการณ์ที่สร้างอยู่บนความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
จากภาพที่เราเห็นของการปกครองที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งสามารถกักกันเเละขมขู่ใครก็ตามที่มีทัศนคติที่ไม่ตรงกับนโยบายของการปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งเกิดขึ้นครั้งเเล้วครั้งเล่า กลุ่มนักข่าว, นักวิชาการ หรือศิลปินส่วนมากได้เริ่มงดออกเสียงเเสดงความคิดเห็นลงอย่างชัดเจน มีเพียงศิลปินหรีอนักวิชาการบางกลุ่มที่มีความกล้ามากพอที่จะยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจเบื้องบนเเละถูกขู่หรือจับกุมมาโดยตลอด
เนื่องจากความเงียบเเละบรรยากาศที่ไม่ชวนให้ศิลปินออกเสียงวิพากษ์วิจารณ์สังคมผ่านสื่อศิลปะ WTF จึงได้พยายามคิดหาหนทางใหม่ ที่เป็นเเรงกระตุ้นต่อสังคม ในเเวดวงศิลปะเเละนักคิด ให้สามารถข้ามผ่านความเงียบเหงาซบเซาเเละความน่าเบื่อหน่ายของสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ไปให้ได้ เราได้เลือกที่จะหันหน้าสู่กลุ่มคนที่ไม่ได้มีอาชีพหรือเป็นที่รู้จักในนามศิลปิน เพื่อลองหามุมมองใหม่ๆ โดยทั้งหมดนี้เราไม่ได้ทำขึ้นเพราะเรายกธงขาว ยอมเเพ้ หันหลัง หรือละทิ้งความศรัทธาที่เรามีต่อวงการศิลปะเเละศิลปินในบ้านเรา เเต่เป็นเพียงเพราะเราต้องการสำรวจ เเละตรวจสอบกรอบ คำนิยามเเละบทบาทที่เเท้จริงของคำว่าศิลปะ ว่ามันจะถูกยอมรับหรือถูกปฎิเสธ หากกฎเกณฑ์เเละคำนิยาม ความหมายเเละบทบาทหน้าของศิลปะได้ถูกเเหกคอกออกไปอย่างสิ้นเชิง อะไรที่แปลว่าศิลปะ? เเละอะไรที่ไม่ใช้ศิลปะ? เเละมันยังจะถูกเรียกว่าเป็นศิลปะอยู่หรือไม่ถ้ามันถูกสร้างขึ้นด้วยคนที่ไม่ได้ถือตัวเองว่าเป็นศิลปิน หรือกลุ่มคนที่ไม่ได้ยอมรับจากวงการศิลปะว่าเป็นศิลปิน?
เราได้เชิญบุคคลที่ไม่ได้เป็นศิลปิน 13 ท่านเข้าร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ชื่อว่า Wonderful Thai Friendship 2 ซึ่งคอนเซ๊ปต์นี้เป็นคอนเซ๊ปต์ ที่เราเคยใช้ในงานเปิดตัว WTF เเกลลอรี่ครั้งเเรกเเละเป็นนิทรรศการที่มี 13 ศิลปินเข้าร่วมเมื่อปี 5 ปีที่เเล้ว
ผลงานศิลปะจะถูกสร้างขึ้นเเละจัดเเสดงโดย
• ไบรอัน เคอรติน, ภัณฑรักษ์เเละนักเขียน
• จีน กษิดิษ, นักร้องเเละนักเเต่งเพลง
• ยูกิ คุณชล, เจ้าของร้านวินเทจ
• เกรกกวาร์ กลาฉานท์, บรรณาธิการนิตยสาร
• เกเบรล เคมาลิน, อาจารย์
• เจาะข่าวตื้น, รายการทอล์คโชว์ประเด็นข่าวเเละสังคม
• เเพทริค วินน์, นักข่าว
• โคมัง ดูปุย, ผู้กำกับศิลป์เเละเจ้าของบาร์
• สัญญา สุวรรณาภูมิ, เจ้าของบาร์เเละร้านอาหาร
• โบว์ นิกันติ์ วะสีนนท์, ภัณฑรักษ์
• คาเงะ ธีระวัฒน์ มุลวิไล, ผู้สร้าง นักเขียนบทเเละนักเเสดงละครเวที
• ก้อง ฤทธิ์ดี, นักข่าว
• คริสโตเฟอร์ ไวส์, ช่างถ่ายภาพ
ผู้เข้าร่วมทั้งหมดสามารถตีความหมายคอนเซ๊ปต์ของนิทรรศการนี้ได้ตามต้องการ หรืออาจไม่สนใจคอนเซ๊ปต์นี้เลยก็ได้
นิทรรศการครั้งนี้ประกอบไปด้วยงานศิลปะจัดวาง 7 ชิ้น, งานภาพถ่าย 2 ชิ้น, งานวิดีโอจัดวาง 2 งานเเละภาพวาด 2 ชิ้น จุดประสงค์ของการจัดนิทรรศการครั้งนี้ ไม่ได้ให้ความสำคัญไปที่คุณภาพหรือความหมายของงาน เเต่เป็นการมุ่งประเด็นไปที่กระบวนการการทำงาน, มุมมองเเละทัศนคติของผู้สร้างเเละผู้ชมงานในครั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ออกมามีความสนใจเเละน่าเเปลกใจอย่างยิ่ง เนื่องจากเนื้อหาเเละการตีความหมายของผู้สร้างงานศิลปะได้ครอบคลุมความหมายอย่างกว้างขว้าง ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์สังคม ไปจนถึงการประชดเสียดสี เเละการใช้วิธีคิดสร้างงานศิลปะเเบบดั้งเดิมที่เเสดงออกถึงความรื่นรมณ์สุนทรีย์ในการทำงานศิลปะ
ผลงานในนิทรรศการครั้งนี้ หลายชิ้นต้องการสะท้อนเเละตั้งคำถามประเด็นสังคมที่มักถูกมองข้าม อาทิเช่น พฤติกรรมคนขับรถเมล์หรือเเท๊กซี่ในกรุงเทพฯที่บ้าระห่ำ, การยอมรับหรือการสร้างความตระหนักถึงประเด็นเรื่องเพศ, ความไม่เท่าเทียมกันในโอกาส อันเนื่องมาจากการถือพวกพ้อง ที่เกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนเเปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นล่าสุด หรือการพูดถึงประเด็นข่าวที่อาจมีความเป็นจริงหรือเกินความเป็นจริงบนหน้าหนังสือพิมพ์ ที่มีอายุสั้นเเค่เพียง 24 ชั่วโมง ในอีกเเง่นึง ผู้ร่วมเเสดงงานในนิทรรศการครั้งนี้อีกหลายท่าน ได้เลือกใช้วิธีการสร้างงานจากมุมมองที่เเตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นการเเสดงข้อคิดเห็นในเรื่องชนชั้นวรรณะ ที่มาจากเครื่องเเต่งกายของหญิงสาวยุโรปในอดีต ซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อเอกลักษณ์ทางเเฟขั่นของคนกรุงเทพฯจนถึงทุกวันนี้ หรือการหมุนเวียนอย่างไม่มีทีสิ้นสุดของเทรนด์แฟชั่นจากปีก่อนๆ เเละการเเสดงออกให้เห็นถึงภาพถ่ายในมุมมองที่สะท้อนบทบาทของกลุ่มคนชั้นสูงที่มีทรัพย์มากพอที่จะเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะได้ ส่วนกลุ่มสุดท้ายของผู้ที่ร่วมงานนิทรรศการครั้งนี้มุ่งความสนใจใปที่การสร้างงานที่ดูเหมือนจะมีความ “ดั้งเดิม” กว่าศิลปินโดยทั่วไปเสียอีก โดยพวกเขาเลือกที่จะประดิษฐ์งานจากมุมมองพลังสร้างสรรค์ในทางบวก หรือการมองหาความสวยงามในสิ่งที่เห็นอยู่รอบตัวประจำทุกวัน เป็นการยอมรับการเปลี่ยนเเปลง หรืออีกแง่อาจกล่าวได้ว่า ถึงเเม้ประเทศเราจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เเต่มันก็ยังมีพื้นฐานที่เหมือนเดิมเเละไม่เคยเปลี่ยนเเปลงเลย
งานเปิดนิทรรศการวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2558 เวลา 18.00น. ณ WTF เเกลลอรี่
นิทรรศการครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการโดย Bacardi
Exhibition : Wonderful Thai Friendship II
Artist :
Brian Curtin, art critic & curator
Gene Kasidit, singer-songwriter
Yuki Kunchon, vintage shop owner
Gregoire Glachant, magazine editor
Gabriel Camelin, visual communication lecturer
Shallow News In Depth, political satire show
Patrick Winn, journalist
Romain Dupuy, art director/bar owner
Sanya Souvanna Phouma, club owner/restaurateur
Nikan Bow Wasinondh, curator
Ka-ge Mulvilai, performer/producer
Kong Rithdee, journalist/critic
Christopher Wise, photographer/bar owner
Dates: 29 May – 28June, 2015
Venue : WTF Gallery & Cafe
Tel : 02-662-6246, 089-926-5474