ABSURDITY IN PARADISE

ด้วยความร่วมมือกับองค์กร Kasseler Kunstverein เมืองคาสเซิล ประเทศเยอรมนี หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นำเสนอนิทรรศการศิลปะไทยร่วมสมัยเป็นครั้งแรกที่พิพิธภัณฑ์ Fridericianum สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1779 ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสาธารณะและเป็นสถานที่จัดงานนิทรรศการ Documenta ตั้งแต่ปี ค.ศ.1955

นิทรรศการ ABSURDITY IN PARADISE เล่นไปกับความย้อนแย้งของเมืองไทยในความหมายของสรวงสวรรค์แห่งการมาเยือนของนักท่องเที่ยว ด้วยผลงานวิดีโอ มีเดีย ภาพถ่าย และศิลปะการจัดวางทั้งหมดได้ฉายให้เห็นถึงภาวะอันหลากหลายของเมืองไทยในปัจจุบัน และยังเป็นการนำเสนอผลงานของศิลปินที่ทำงานเคลื่อนไหวในระดับสากลเช่น อริญชย์ รุ่งแจ้ง ปรัชญา พิณทอง กรกฤช อรุณานนท์ชัย และผลงานของศิลปินรุ่นใหม่เช่น ณัฐพล สวัสดี อลิสา ฉุนเชื้อ หฤษฎ์ ศรีขาว เป็นต้น

ศิลปิน: ปรัชญา พิณทอง
ภาพพิมพ์สีพิกเมนต์ (ภาพในความครอบครองของ gb agency ปารีส และศิลปิน)

A proposal to set CH4*5.75H20 on fire (work in process) เป็นผลงานระยะยาวของปรัชญา พิณทอง ในงานชิ้นนี้ ปรัชญาศึกษามีเทนไฮเดรต สารประกอบที่นักวิทยาศาตร์ระบุว่าจะเป็นพลังงานทางเลือกรูปแบบหนึ่งในอนาคต มีเทนไฮเดรตพบได้เป็นจำนวนมากใต้ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (permafrost) บริเวณขั้วโลกเหนือ ใต้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกใต้และใต้ตะกอนในมหาสมุทรลึก สารประกอบชนิดนี้จะปล่อยแก๊สออกมาเมื่อได้รับความร้อนหรือได้รับความดันลดลง ภาพถ่าย 16 มม. เหล่านี้แสดงให้เห็นตัวอย่างของมีเทนไฮเดรต แก๊สที่ปล่อยออกมาจากมีเทนไฮเดรตจุดไฟได้ และจะได้เป็นเปลวไฟกึ่งโปร่งแสงสีส้มและน้ำเงิน สำหรับปรัชญา การสร้างผลงานซ้ำในแต่ละครั้งทำให้คนได้เห็นประเด็นนี้มากยิ่งขึ้น งานศิลปะชุดนี้อาศัยความร่วมมือระหว่างคนที่ทำงานในหลากหลายสาขา ทั้งธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ และศิลปะ และตั้งใจส่งเสริมให้คนรู้จักมีเทนไฮเดรตมากขึ้น รวมถึงคุณสมบัติทางเคมีของมันซึ่งระเหยเป็นไอได้ และผลต่ออุตสาหกรรมพลังงานด้วย

All is Dust, 2554-2561 ทองคำเปลวจัดวาง ขนาดหลากหลาย (ผลงานในความครอบครองของศิลปินและ gb agency ปารีส) All is dust เป็นข้อเสนอของศิลปินให้จัดแสดงผลงานที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ งานศิลปะชุดนี้ประกอบด้วยทองคำเปลว 2 แผ่นที่ทำขึ้นด้วยวิธีดั้งเดิมของไทย คือ การตีทองคำ 99.6 กะรัตมากกว่า 4,000 ครั้งเพื่อให้ได้แผ่นทองคำที่บางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ศิลปินได้ขอให้ช่างศิลป์ชาวไทยผลิตทองคำเปลวในขนาดที่จะยังเป็นแผ่นทองคำที่บางที่สุด แต่ยังสามารถนำออกมาจากกระดาษที่ประกบมันไว้ได้ ช่างศิลป์ได้ข้อสรุปว่าจะผลิตทองคำเปลวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 45 เซนติเมตร จากนั้น ศิลปินจึงส่งทองคำเปลวทั้งสองแผ่นไปให้ภัณฑารักษ์และเชิญให้ภัณฑารักษ์ “เปิดเผย” ผลงานในนิทรรศการ โดยเปิดกระดาษที่พับประกบทองเอาไว้ ภัณฑารักษ์หรือผู้ซื้องานสามารถตัดสินใจได้ว่าจะติดตั้งหรือจัดแสดงทองคำเปลวสองชิ้นนี้อย่างไร สำหรับปรัชญา พิณทองการมอบหมายงานให้คนสองกลุ่มที่แตกต่างกันนี้ทำให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของงานชิ้นนี้

ศิลปิน: ปพนศักดิ์ ลออ
Meeting Place, 2561, เรซิ่นใส ภาพวาด สีอะคริลิก สายไฟ (ผลงานในความครอบครองของศิลปิน)

ผลงานชิ้นนี้เป็นการค้นหาจุดร่วมด้านเวลาและบริบทจากมุมมองที่หลากหลาย แนวคิดหลักคือ การสร้าง “ที่นัดพบ” (Meeting Place) ที่ขยายกรอบจำกัดทางความคิดด้วยเรื่องราวและเรื่องเล่าที่อยู่ในองค์ประกอบต่างๆ สถานที่แห่งนี้เป็นที่รองรับและแบ่งปันแรงบันดาลใจร่วมกันในชั่วขณะนี้ ซึ่งสุดท้ายก็จะเปลี่ยนแปลงไป มันยังเป็นจุดเชื่อมต่อเศษเล็กเศษน้อยเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่าเล็กๆ ส่วนตัวหรือเรื่องราวใหญ่โต ภายในชั่วขณะนี้ไปสู่อีกชั่วขณะหนึ่ง หรือภายในบริบทหนึ่งที่กำหนดไว้ไปสู่บริบทใดๆ ก็ได้ในประวัติศาสตร์ เรื่องราวร่วมกันนี้หมายถึงวัตถุและพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะ และลักษณะเฉพาะเหล่านี้เองที่ทำให้เห็นเส้นด้ายที่ร้อยเรียงเรื่องราวเหล่านี้เข้าด้วยกันและทำให้มันมีชีวิต เชื่อมโยงเข้ากับผู้คนและสายสัมพันธ์ต่างๆ ในปัจจุบัน Meeting Place เปิดพื้นที่ใหม่ สำหรับความรู้สึกใหม่ ที่อาจจะเบิกทางไปสู่ทิศทางใหม่ๆ ขณะเดียวกัน มันก็จะช่วยคลายวิธีการเล่าเรื่องที่ตายตัว และทำให้เรื่องเหล่านั้นยืดหยุ่นมากขึ้น และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ง่ายขึ้นและดีขึ้น

ศิลปิน: ณัฐพล สวัสดี
Up against the wall, 2561, วิดีโอจอเดี่ยวความละเอียด 4k พร้อมเสียง, วิดีโอ + เสียงจัดวาง (ลิขสิทธิ์:Magaret Wu)

สำหรับผลงานชิ้นนี้ ผมเลือกที่จะสร้างฉากขึ้นมาใหม่ฉากหนึ่งจากภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง “Full Metal Jacket” โดย Stanley Kubrick ผมแสดงเป็นพลทหารไพล์ ตัวละครตัวนี้มีความโดดเด่นตรงที่เขาสามารถสื่อถึงการต่อต้านระบบได้โดยไม่ดูเหมือนกบฏเลยแม้แต่น้อย อันที่จริง เขาดูเหมือนคนโง่ด้วยซ้ำ ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ตัวละครดังกล่าวเป็นเด็กชายไร้เดียงสา ผู้ซึ่งค่อยๆ กลายมาเป็นนายทหารที่มีวินัย และกลายเป็นฆาตกรโรคจิตในภายหลัง ฉากความยาว 1 นาทีนี้แสดงให้เห็นพลทหารไพล์ มองตรงไปที่ครูฝึกของตนและยิงปืนใส่ครูฝึกจนถึงแก่ความตายขณะที่ครูกำลังตะโกนด่า ผมมองว่าฆาตกรรมในฉากนี้ไม่ต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นสังคมใต้ผู้นำเผด็จการ วงการศิลปะ หรือลำดับขั้นในระบบชนชั้นใดๆ ก็ตาม เป็นไปได้ว่าจะยังมีคนอย่างพลทหารไพล์อยู่ต่อไป สำหรับพลทหารไพล์ที่ผมสร้างขึ้นมาใหม่นี้ ผมเป็นสื่อที่ทำให้จิตวิญญาณของตัวละครมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งและมองตรงมาที่คุณ ขณะที่ผมกำลังเขียนย่อหน้านี้ ผมก็กำลังฮัมเพลงจาก The Who…

ศิลปิน: มานิต ศรีวานิชภูมิ
The Parliament of Happy Generals, 31 กรกฎาคม 2557, งานจัดวางผ้าและภาพถ่าย (ผลงานในความครอบครองของศิลปิน)

หลังจากยึดอำนาจสำเร็จ คณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ประกาศตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งจะมีสมาชิก200 คนเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติส่วนใหญ่เป็นนายทหารและตำรวจระดับสูง 115 คน ทั้งที่เกษียณอายุแล้วและยังดำรงตำแหน่งอยู่ ประกอบด้วยนายทหารจากกองทับบก 67 นาย จากกองทัพเรือและกองทัพอากาศ 19 นาย และตำรวจ 10 นาย

ศิลปิน: กรกฤช อรุณานนท์ชัย
Workshop for Peace / Cry Pan Cry, 2018 (ผลงานในความครอบครองของ Clearing Gallery และศิลปิน)
แบบจำลองดินเผารูปอาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ รากต้นไม้ที่ตายแล้ว แก้วเป่าสีแดง ดินเหนียว เปลือกหอยกาบและหอยนางรม กระดาษทิชชู่ เรซิ่น ไฟนีออน ไฟ LED ที่ตั้งโปรแกรมให้เปิด-ปิดตามจังหวะลมหายใจ กล่องใส

With history in a room filled with people with funny names 4, 2560
วิดีโอความละเอียดสูง + หมอน 5 ใบ 23:31 นาที วนซ้ำ

Workshop for Peace / Oceans of trauma, Rivers of dried up hopes and dreams=the joy of being human-being, 2561 แบบจำลองดินเผารูปอาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ปลาออร์ทำจากซิลิโคนโดยมีรูปหน้าศิลปินสลักอยู่ รากต้นไม้ตายแล้ว ดอกไม้แห้ง เปลือกส้มแห้ง เปลือกทุเรียนแห้ง แก้วเป่าสีน้ำเงิน เห็ดแห้ง เปลือกล็อบสเตอร์ไฟ LED ที่ตั้งโปรแกรมให้เปิด-ปิดตามจังหวะลมหายใจ ไฟนีออน เรซิ่น กล่องใส
(ผลงานในความครอบครองของ Clearing Gallery และศิลปิน)

มันเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ เป็นที่จดจำของทุกชาติในทุกทวีป ถือกำเนิดขึ้นมาจากเถ้าถ่านของสงครามระดับทำลายล้าง 2 ครั้ง มันตั้งอยู่เป็นสัญลักษณ์แทนความหวังว่าชาติต่างๆ จะสามารถมารวมตัวกัน ในที่เดียวกันเพื่อสร้างสันติภาพได้เมื่อ 60 ปีก่อน ผู้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติคงจะรวบรวมสถาปนิกชื่อดังระดับโลก มาออกแบบอาคารสำนักงานใหญ่ที่จะแสดงออกถึงภาพแห่งโลกอนาคตที่ปราศจากสงคราม
-Workshop for Peace (Un atelier pour la paix)
ความหวัง เป็นเชื้อเพลิงที่เติมไฟให้อุดมการณ์ทุนนิยมที่อเมริกาคอยหนุนหลังอยู่ ความหวังของการปฏิรูป เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนรูป และสับเปลี่ยน
ตั้งแต่รัฐบาลทหารยึดอำนาจในปี 2557 วิชาประวัติศาสตร์ก็ถูกถอดออกจากหลักสูตร

ศิลปิน: กวิตา วัฒนะชยังกูร
The Spinning Wheel, 2561 วิดีโอ 2 จอ (แยกจอ) ความละเอียดสูง 2.49 นาที
(ผลงานในความครอบครองของ Dunedin Public Art Gallery, Nova Contemporary, Clear Gallery Tokyo และศิลปิน)

Shuttle, 2018 วิดีโอความละเอียดสูง 3.27 นาที
(ผลงานในความครอบครองของ Dunedin Public Art Gallery, Nova Contemporary, Clear Gallery Tokyo และศิลปิน)

Untangled, 2561วิดีโอความละเอียดสูง 21.06 นาที
(ผลงานในความครอบครองของ Dunedin Public Art Gallery, Nova Contemporary, Clear Gallery Tokyo และศิลปิน)

ในผลงานชุด Performing Textiles กวิตาใช้ร่างกายตนเองเป็นเครื่องมือสำรวจและทดสอบขีดจำกัดทั้งทางร่างกายและจิตใจผ่านการอดทนทำงานซ้ำๆ กวิตาสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ในฐานะผู้หญิงไทยคนหนึ่ง ประกอบกับความสนใจในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานในชีวิตประจำวัน จากการวิจัยหาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง กวิตาได้เผยให้เห็นประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งแยกเพศชายหญิง สภาพการทำงานและอุดมการณ์ทางสังคม และกระบวนการทางอุตสาหกรรม ในผลงานชุด Performing Textile กวิตาใช้ร่างกายตนเองแทนเครื่องจักรและกระบวนการที่ใช้ในการผลิตสิ่งทอ ร่างกายของเธอกลายเป็นเส้นด้ายที่โดนหย่อนลงไปในสีย้อมผ้าสีแดง เป็นล้อปั่นด้าย เป็นกระสวยที่ถักทอด้ายในกี่ทอผ้า ในวิดีโอชุดนี้ กวิตาใช้ร่ายกายสื่อถึงกระบวนการที่ต้องใช้แรงงาน ซึ่งมักจะทำโดยผู้หญิงในประเทศไทยอนึ่ง อุตสาหกรรมทอผ้ามีอัตราส่วนคนงานเป็นผู้หญิงมากที่สุดอุตสาหกรรมหนึ่งในโลก

ศิลปิน: คณิช ขจรศรี

The Value of None, 2561, องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือน (ผลงานในความครอบครองของศิลปิน)
สีลม ย่านการเงินที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย เต็มไปด้วยชีวิตยามกลางวัน และสีสันยามค่ำคืน ย่านนี้เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหวและเปลี่ยนรูปไปตลอดเวลา ด้วยร้านรวงและผู้คนที่หายตัวไปและกลับมาใหม่อย่างไม่ขาดสาย ท่ามกลางย่านอันชุลมุนวุ่นวาย ยังมีสุสานสีลม พื้นที่ที่จังหวะช้าลงและชวนให้ครุ่นคิด สุสานมีอยู่มาตั้งแต่แรกเริ่ม ตั้งแต่ย่านนี้ยังเป็นที่ดินว่างเปล่า ก่อนที่จะกลายเป็นย่านอสังหาริมทรัพย์ราคาสูงอย่างทุกวันนี้ สุสานสร้างโดยกลุ่มคนที่ร่วมกันซื้อและร่วมกันเป็นเจ้าของ เพื่อสร้างเป็นสถานที่พักพิงแห่งสุดท้ายให้ผู้ที่จากไป ปัจจุบันสุสานเสื่อมสภาพเพราะขาดการดูแล อีกทั้ง สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและแรงกดดันจากการพัฒนา ทำให้สุสานต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของเมือง อนาคตของสุสานแห่งนี้ยังไม่แน่นอน แนวคิดเบื้องหลังผลงานชิ้นนี้คือ เก็บสะสมองค์ประกอบที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของสถานที่แห่งนี้ไว้ เช่น ดิน ป้ายสัญลักษณ์ และแม้กระทั่งเสียง เพื่อพิจารณาและทำความเข้าใจต่อไป นี่เป็นการสำรวจที่เปิดกว้าง เริ่มจากศิลปินที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับคุณค่าของชีวิต สถานที่ศักดิ์สิทธิ ประวัติศาสตร์ และความทรงจำ ที่คอยจะขัดแย้งกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจอยู่เสมอ ภายใต้การเจริญเติบโตของเมือง

ศิลปิน: เอกชัย เอกสาโรจน์
No Title, 2561, พรมแดง สายสะพายสีแดง-ทอง ผลงานจัดวางเฉพาะที่ ขนาดหลากหลาย
(ผลงานในความครอบครองของศิลปิน)

ประติมากร นักออกแบบ จิตรกร และนักเขียน ผมเรียกตนเองว่าเป็น “ศิลปินไม่ติดสื่อ” (non-stik media artist) เพราะผลงานของผมในฐานะศิลปินมักจะพูดถึงความเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงก็มีอิทธิผลต่อผม การสร้าง การเปลี่ยนแปลง อิทธิพลและมุมมองที่สืบเนื่องต่อมา คือเจตนาในการทำงานของผม เพื่อที่จะผสมผสานและแสดงให้เห็นมุมมองทางเลือกต่อสิ่งที่มีอยู่ ในงานศิลปะของผม สิ่งเหล่านั้นกลายมาเป็นแรงผลักดันที่ไม่รู้จักจบสิ้น ผลงานของผมควรจะชวนให้ผู้ชมเห็นการประชดประชันที่จำเป็น

ศิลปิน: สมบูรณ์ หอมเทียนทอง
Die Schone Heimat, วัตถุจัดวาง, 2561, (ผลงานในความครอบครองของศิลปิน)

 

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Bangkok Art and Culture Centre (BACC)
939 Rama I Rd., Wang Mai, Pathumwan,
Bangkok 10330

Facebook: baccpage
Instagram: baccbangkok

 

กชพรรณ บุญราศรี
Kachapan Boonrasri
Head of Media & PR
Tel. + 66 2 214 6630-8 ext. 501

You may also like...