ชุมชนบ้านบาตร

จากตำนานที่เล่าต่อกันมาว่าบรรพบุรุษของชาวบ้านบาตรเป็นชาวกรุงศรอยุธยา ที่อพยพมาตั้งหมู่บ้านทำบาตรเหล็ก ตั้งแต่คราวเสียกรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 บ้านบาตรจึงเป็นชุมชนแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีการทำบาตรพระด้วยมือ ตามแบบอย่างโบราณมาโดยตลอดเอกลักษณ์ของบาตรพระฝีมือของชุมชนบ้านบาตรแห่งนี้คือรอยตะเข็บ 8 ชิ้นจางๆที่ปรากฏอยู่รอบบาตร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพุทธประวัติที่ว่า บาตรใบแรกของพระพุทธเจ้าคือบาตรที่ฆฏิการพรหมนำมาถวายและเกิดหายไป ท้าวจตุมหาราช เทพผู้อภิบาลรักษาโลกประจำอยู่ในทิศทั้ง 4 จึงนำบาตรศิลามีพรรณรังสีเขียวมาถวายองค์ละ 1 ใบ พระองค์ทรงรับบาตรทั้งสี่อธิษฐานเข้าเป็นใบเดียวกัน จึงเป็นที่มาของธรรมเนียมการสร้างบาตรให้เป็นรอยประสานต่อกันเป็นตะเข็บเปรียบประหนึ่งการประสานบาตรของพระพุทธเจ้าในครั้งนั้น

ปัจจุบันความนิยมในบาตรพระที่ทำด้วยมือลดน้อยลง เหลือเพียงการจำหน่ายเป็นของที่ระลึกหรือรับสั่งทำจากพระภิกษุสงฆ์โดยตรงเท่านั้น ทำให้ชาวบ้านบาตรส่วนใหญ่หันไปประกอบอาชีพอื่น คงเหลือกลุ่มช่างที่ยังยืนหยัดสานผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านบาตรเพียง 3 บ้านเท่านั้น

รูปทรงของบาตรมี 4 ทรง
1.ทรงไทยเดิม
2.ทรงตะโก
3.ทรงลูกจัน
4. ทรงมะนาว

กว่าจะมาเป็นบาตร
ชาวบ้านบาตรทำบาตรด้วยวิธีดั้งเดิม คือ การต่อเหล็กและตีขึ้นรูปบาตรด้วยมือ เริ่มจากการนำเหล็กมาตีเป็นขอบบาตรก่อน แล้วจึงทำตัวบาตรด้วยการนำเหล็กมาตีเป็นขอบบาตรก่อน แล้วจึงทำตัวบาตรด้วยการนำเหล็กแผ่นมาตัดเป็นรูปกากาบาท นำมาโค้งด้วยเหล็กกะล่อนเป็นโครงบาตร เรียกว่า กงบาตร จากนั้นนำมาเข้าขอบและติดกงด้วยการประกอบเหล็กหน้าวัว ซึ่งเป็นแผ่นเหล้กรูปสามเหลี่ยมขนาดพอดีกับช่องว่างของกงเหล็กทั้งสี่ด้านติดเข้ากับกงบาตร เมื่อติดกงแล้วเสร็จทุกด้านจะได้บาตรที่มีรอยตะเข็บ 8 ชิ้น จากนั้นจึงประสานรอยต่อด้วยการเป่าแล่น โดยนำบาตรไปชุบน้ำแล้วหยอดผงทองแดงและน้ำยาประสานทองตามเส้นตะเข็บ แล้วจึงนำบาตรไปเผาจนบาตรสุกเพื่อให้เหล็กประสานเป็นเนื้อเดียว จากนั้นนำไปตีตามขั้นตอนต่างๆเสร็จแล้วจึงนำไปเจียและตะไบตกแต่งให้เรียบร้อยเป็นขั้นตอนสุดท้าย ส่วนผู้นำไปใช้งานอาจนำไปบ่มหรือรมควันเพื่อป้องกันสนิม และทำให้บาตรขึ้นสีต่างๆตามความต้องการต่อไป

ของดีที่บ้านบาตร
อนาคตของการทำบาตรบุจึงไม่อาจคาดคะเนได้ว่าจะอยู่คู่สังคมไทยไปอีกนานเท่าใด หากคนไทยด้วยกันเห้นคุณค่าและร่วมกันธำรงรักษาไว้ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการอุดหนุนผลิตภัณฑ์ของชุมชน

ผู้สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมการผลิตบาตรตามแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม ซึ่งต้องอาศัยช่างหลายประเภท กว่าจะเสร็จเป็นบาตรหนึ่งใบ การสนับสนุนช่างบุผู้ผลิตบาตรพระให้ทำงานต่อไปจึงเป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่ง โดยเฉพาะหากพิจารณาในแง่มุมของการอนุรักษ์ศิลปะและภูมิปัญญาไทยหลายแขนงไว้พร้อมกัน

พ่อปู่ครูบาตร ตั้งอยู่กลางชุมชนบ้านบาตร ชาวบ้านถือว่าเป็นบุคคลแรกที่คิดทำบาตรขึ้นในบ้านบาตร จึงถือเป็นครูของช่างทำบาตรทุกคน

การเดินทางสามารถใช้รถโดยสาร ขสมก. สาย 8, 15, 37, 47, ลงที่ตลาดวรจักร
สาย 35, 48 ลงที่โรงพยาบาลกลาง

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
นางอารีย์ สายรัดทอง
บ้านเลขที่ 16/1 ตรอกบ้านบาตร ถนนบริพัตร เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพมหานคร 10100
โทรศัพท์ : 02-223-8095, 086-907-4728

 

 

 

You may also like...