ไพฑูรย์ ธัญญา

ไพฑูรย์ ธัญญา เป็นนามปากกาของ ธัญญา สังขพันธานนท์ เกิดที่ ต.ท่ามะเดื่อ อ.เขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 8 คน ของนายชู และนางคลี่ สังขพันธานนท์ บิดาเป็นครู นามสกุลเดิม คือ ชูแหละ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษมุสลิม จบการศึกษา กศ.บ.จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา จบ กศ.ม.จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก

เคยเป็นครูสอนชั้นประถม ในโรงเรียนแถวบ้านเกิดพัทลุงและที่สุโขทัย ก่อนมาสอนวิชาวรรณกรรมวิจารณ์ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8 และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คู่สมรสคือ นางลาวัณย์ สังขพันธานนท์ หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผลงาน
Thanya01.jpg เริ่มต้นงานเขียนทั้งบทกวีและเรื่องสั้น ใช้นามปากกา “ไพฑูรย์ ธัญญา” มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2521 พร้อม ๆ กับเพื่อนนักเขียนรุ่นใหม่ละแวกบ้านเกิด จนกลายมาเป็นที่มาของกลุ่มนาคร กลุ่มศิลปะ-

วรรณกรรมสำคัญแห่งหัวเมืองปักษ์ใต้
เริ่มงานเขียนทั้งบทกวีและเรื่องสั้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 พร้อมกับเพื่อนนักเขียนรุ่นใหม่ในเขตปริมณฑลรอบๆ บ้านเกิด เป็นสมาชิกก่อตั้งของ “กลุ่มนาคร” กลุ่มศิลปวรรณกรรมที่สำคัญของหัวเมืองปักษ์ใต้
2527 “สองร้อยปีฤๅสิ้นเสดสา” ผลงานเล่มแรกในชีวิต วรรณกรรมกวีนิพนธ์เรื่องยาวที่เขียนร่วมกับเพื่อนใน กลุ่มนาคร มีประมวล มณีโรจน์ สมใจ สมคิด รัตนธาดา แก้วพรหม และโอภาส สอดจิตต์
2528 รวมเรื่องสั้นเล่มแรก “ก่อกองทราย” ได้รับรางวัล วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี พ.ศ. 2530
2530 รวมเรื่องสั้นเล่มที่สอง “ถนนนี้กลับบ้าน”
2532 นวนิยายเล่มแรก “ผีแห้งกับโลงผุ”
2534 รวมเรื่องสั้นเล่มที่สาม “โบยบินไปจากวัยเยาว์” ได้รับ รางวัลงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
2537 รวมเรื่องสั้นเล่มที่ 4 “ตุลาคม” ได้รับรางวัลงาน สัปดาห์หนังสือแห่งชาติและเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี 2539
2538 รวมบทความวรรณกรรมศึกษา “ปรากฏการณ์แห่ง วรรณกรรม” ในนามจริง ธัญญา สังขพันธานนท์
2539 หนังสือ “วรรณกรรมวิจารณ์”
2540 รวมบทความวรรณกรรม “นอกเหนือจินตนาการ”รวมเรื่องสั้นคัดสรร แปล ไทย-อังกฤษ ‘At the Western Battle Front : The so-sowar’ แปลโดย Tom Glass.
2544 รวมเรื่องสั้นคัดสรร แปล ไทย-อังกฤษ ในรอบ 15 ปี ‘Paradise waves’แปลโดย Tom Glass
2544 รวมเรื่องสั้นคัดสรร แปล ไทย-อังกฤษ ในรอบ 15 ปี ‘Paradise waves’แปลโดย Tom Glass
2545 รวมเรื่องสั้นเล่มที่ 5 “โดยวิธีของเราเอง”
2546 สารคดีชีวประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ “เทพเจ้าแห่งด่านขุนทด”
2547 นวนิยายขนาดสั้น “คืนฝนไฟ”
2548 หนังสือ “การเขียนสารคดีภาคปฏิบัติ”

ก่อกองทราย เป็นหนังสือที่ประกอบด้วยเรื่องสั้นรวม 12 เรื่อง ของไพฑูรย์ ธัญญา มีลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงชีวิตและธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสากล ดังเช่นมนุษย์ทั่วไปในโลกพึงจะเป็น และในขณะเดียวกันก็มีสีสันของท้องถิ่นและความเป็นไทย ทั้งในด้านถ้อยคำ และการใช้ฉากอันเป็นท้องเรื่อง เนื้อเรื่องมีความหลากหลายแสดงปัญหาและแง่มุมต่างๆ ของชีวิต หลายเรื่อง เช่น คนบนสะพาน บ้านใกล้เรือนเคียง และเพื่อนบุณย์ ได้สะท้อนธาตุแท้ของคน ส่วนเรื่อง คำพยากรณ์ และนกเขาไฟ ได้เน้นความคิด ความเชื่อของคนในชนบท ที่แสดงถึงสัจธรรมของชีวิตโดยแท้จริง

ตลอดจนถึงสำนวนที่ใช้ สามารถให้ผู้อ่านได้สัมผัสอย่างสมจริง เช่น หากก่อกองทรายให้เท่าเจดีย์ในวัด มันคงจะไม่พังง่ายๆ ถึงพังก็ไม่หมด เพราะทรายไม่เคยหมด

ที่มาเกี่ยวกับหนังสือ : http://atcloud.com/stories/71612
ที่มารูปภาพ : http://www.thummada.com/cgi-bin/iB315/ikonboard.pl?act=Print;f=6;t=136

You may also like...