UNHCR ร่วมกับท่าน ว.วชิรเมธี จัด “งานประมูลศิลปกรรมเพื่อผู้ลี้ภัย” ระดมทุนมอบที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยทั่วโลก

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จัดนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะเพื่อประมูล “Art Auction for Refugees” ระหว่างวันนี้ถึง 19 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ไลฟ์สไตล์ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน นำเสนอผลงานศิลปะจำนวน 30 ชิ้น ซึ่งสร้างสรรค์โดยศิลปินและช่างภาพชาวไทย 25 ท่าน เพื่อนำมาจัดงานประมูลแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ในวันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2560 ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA Bangkok) รายได้จากการประมูลจะใช้เพื่อการระดมทุนสำหรับการจัดหาที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยจำนวน 2 ล้านคนใน 12 ประเทศทั่วโลกตามแคมเปญ “Nobody Left Outside” หรือ”เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างนอก” ของ UNHCR

งานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี), พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA Bangkok), เขาใหญ่อาร์ตมิวเซียม และ ไฮบริดอาร์ตคอลเลกเตอร์ โดยมีแขกผู้มีเกียรติมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง อาทิเช่น (จากซ้าย): คุณคณชัย เบญจรงคกุล ผู้สนับสนุนพิเศษ, คุณอลิสัน การ์รอด ที่ปรึกษาฝ่ายคนเข้าเมืองประจำสถานทูตออสเตรเลีย, คุณณัฐภาณุ นพคุณ ผู้อำนวยการกอง กองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี), คุณอีโว ซีเวอร์ เอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำประเทศไทย, คุณรูเวนดรินี่ เมนิคดิเวล่า ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNHCR) และ คุณไซดา มูนา ทาสนีม เอกอัครราชทูตบังกลาเทศประจำประเทศไทย

รายชื่อและผลงานของศิลปินผู้ร่วมโครงการ
1.นายไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง เป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงในการเขียนภาพเหมือนจริง ซูเปอร์เรียลลิสม์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาประยุกต์ศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

2.นายนิติกร กรัยวิเชียร

นายนิติกร กรัยวิเชียร ช่างภาพผู้มีชื่อเสียงของเมืองไทย และนายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

3.นายธงชัย ศรีสุขประเสริฐ

นายธงชัย ศรีสุขประเสริฐ ศิลปินผู้มีชื่อเสียงของเมืองไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำ ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

4.นายช่วง มูลพินิจ (ทายาทร่วมมอบผลงาน)

นายช่วง มูลพินิจ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2556 เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงชาวไทย มีผลงานปรากฏทั้งในด้านจิตรกรรมและประติมากรรมตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา งานของช่วงในระยะแรกเริ่มเป็นภาพลายเส้นประยุกต์ลายไทย

5.นายปรีชา เถาทอง

ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชา ศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

6.นายเสงี่ยม ยารังษี

นายเสงี่ยม ยารังษี ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบงานอิมเพรสชั่นนิสต์ลำดับต้นของเมืองไทย

7.นายนนทิวรรธน์ จันทะนะผลิน

นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรม ภาควิชาสาขาย่อยประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

8.นายประทีป คชบัว

นายประทีป คชบัว ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบงานเซอร์เรียลลิสม์ลำดับต้นของเมืองไทย

9.นายสมภพ บุตราช

นายสมภพ บุตราช ศิลปินผู้มีชื่อเสียงของเมืองไทย

10.นายอภิรักษ์ ปันมูลศิลป์

นายอภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ศิลปินผู้มีชื่อเสียง และ 1 ใน 84 ศิลปินโครงการศิลปกรรมพระประวัติ และพระกรณียกิจ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

11.นายชลูด นิ่มเสมอ (ทายาทร่วมมอบผลงาน)

ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) เป็นศิลปินผู้มีความเชี่ยวชาญในการสร้างงานหลายประเภท และเป็นศิษย์รุ่นแรกๆของ ศ.ศิลป์ พีระศรี

12.นายชัชวาล รอดคลองตัน

นายชัชวาล รอดคลองตัน ศิลปินรุ่นใหม่ผู้มีชื่อเสียงของเมืองไทย มีความชำนาญด้านแสงและเงา

13.นายธณฤษภ์ ทิพย์วารี

นายธณฤษภ์ ทิพย์วารี ศิลปินผู้มีชื่อเสียงและอาจารย์ประจำ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

14.นายวีระศักดิ์ สัสดี

นายวีระศักดิ์ สัสดี ศิลปินผู้มีชื่อเสียง และเป็นหนึ่งในศิลปิน ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยใจศิลปินสืบศิลป์เมืองเชียงราย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

15.นายอนุพงษ์ จันทร

ศิลปินผู้มีชื่อเสียง และอาจารย์ประจำ ภาควิชาศิลปกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคฌนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

16.นายวิษณุพงษ์ หนูนันท์

นายวิษณุพงษ์ หนูนันท์ ศิลปินรุ่นใหม่ผู้มีชื่อเสียงของเมืองไทย ผู้มีความชำนาญด้านภาพเหมือน

17.นางสาวลำพู กันเสนาะ

นางสาวลำพู กันเสนาะ ศิลปินรุ่นใหม่ผู้มีชื่อเสียงของเมืองไทย

18.นายปัญญา วิจินธนสาร

นายปัญญา วิจินธนสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) และอดีตคณบดี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

19.นายเอกชัย ลวดสูงเนิน

นายเอกชัย ลวดสูงเนิน ศิลปินแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ แถวหน้าของเมืองไทย

20.นายบุญชัย เบญจรงคกุล (ร่วมมอบผลงานในครอบครอง)

นายบุญชัย เบญจรงคกุล นักสะสมงานศิลปะ และเจ้าของพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA)

21. นายคณชัย เบญจรงคกุล

นายคณชัย เบญจรงคกุล ช่างภาพแฟชั่นที่มีชื่อเสียง

22.นายสุริยา นามวงษ์

นายสุริยา นามวงษ์ ศิลปินผู้มีชื่อเสียง และภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA)

23.นายพรชัย ใจมา

นายพรชัย ใจมา ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาทัศนศิลป์ และศิลปินผุ้เชี่ยวชาญภาพจิตกรรมล้านนา

24.วราวุธ ชูแสงทอง

นายวราวุธ ชูแสงทอง ศิลปินรุ่นใหม่ผู้มีชื่อเสียงของเมืองไทย ผู้มีความชำนาญด้านภาพเหมือน โดยเฉพาะภาพของพระบรมวงศานุวงศ์

25.นายเดวิด เล้า

นายเดวิด เล้า ช่างภาพชื่อดังชาวจีน อันดับ 7 ของโลก จากเวทีประกวดภาพถ่ายระดับนานาชาติของสมาคมถ่ายภาพแห่งสหรัฐอเมริกา

“Nobody Left Outside” campaign to provide protection to the most vulnerable refugee children and families around the world.
โครงการ “NOBODY LEFT OUTSIDE” เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างนอก มอบที่พักพิงและความปลอดภัยแก่เด็กและครอบครัวผู้ลี้ภัยจากความรุนแรงทั่วโลก

Objective

With limited funding and more than 65 million people forcibly displaced globally, UNHCR is facing unprecedented challenges in providing adequate shelter for refugees.

In this light, UNHCR Thailand is joining the global campaign, “Nobody Left Outside”, to call on the private sector to contribute funds for shelter solutions for two million refugees in 12 countries including Afghanistan, Jordan, Lebanon and Rwanda over the next three years.

เป้าประสงค์ของโครงการ

ด้วยสถานการณ์ผู้ลี้ภัยที่เข้าขั้นวิกฤติ จากจำนวนผู้ที่ถูกบังคับให้ผลัดถิ่นเนื่องจากสงคราม ความรุนแรง การประหัตประหาร และการทารุณกรรม เพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 65 ล้านคนทั่วโลก และด้วยงบประมาณที่จำกัด ทำให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ไม่สามารถจัดหาที่พักพิงที่เพียงพอแก่ผู้ลี้ภัยได้

UNHCR ประเทศไทย จึงเข้าร่วมแคมเปญระดับโลก “Nobody Left Outside” หรือภายใต้ชื่อภาษาไทย “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างนอก” มีวัตถุประสงค์เชิญชวนทุกภาคส่วนของสังคมไทยร่วมระดมทุนเพื่อจัดหาที่พักพิงเร่งด่วนแก่ผู้ลี้ภัยจำนวน 2 ล้านคน ใน 12 ประเทศทั่วโลก อาทิ อัฟกานิสถาน จอร์แดน เลบานอน และรวันดา โดยมีระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 3 ปี

Where the donation goes
REGION COUNTRY COUNTRY
EUROPE Greece
Ukraine
ASIA Afghanistan
Iraq
AMERICAS Mexico
AFRICA Chad
Niger
Rwanda
Tanzania
Kenya
MIDDLE EAST AND NORTH AFRICA Lebanon
Jordan

รายชื่อประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือด้านที่พักพิงในโครงการ
ทวีป ประเทศ
ยุโรป กรีซ
ยูเครน
เอเชีย อัฟกานิสถาน
อิรัก
อเมริกา เม็กซิโก
แอฟริกา ชาด
ไนเจอร์
รวันดา
แทนซาเนีย
เคนยา
ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ เลบานอน
จอร์แดน

Why Shelter?
ทำไมต้องเป็นที่พักพิง
Shelter protects health…Shelter is vital for protecting people’s health especially children and families who already exhausted from their journeys and from being exposed to the elements en route. They often get very sick from extremes of
disease and epidemics when living and sleeping out in the open. This is particularly for people who are older, already ill, disabled or injured.

ที่พักพิงคือความปลอดภัยด้านสุขภาพ
การไม่มีที่พักพิงคือการมีชีวิตอยู่ในพื้นที่เปิด และต้องเผชิญกับความโหดร้ายไม่ว่าจะเป็นลักษณะอากาศที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นแดดร้อน พายุฝน หรืออากาศที่หนาวจัดติดลบ นอกเหนือจากนี้ยังต้องเสี่ยงกับโรคร้ายต่างๆที่อันตรายถึงชีวิตเช่นโรคมาลาเรีย ไข้ป่า รวมถึงการที่ต้องอยู่ในพื้นที่เปิดที่ไม่มีความสะอาด ทำให้ผู้ลี้ภัยซึ่งส่วนใหญ่คือเด็กเล็ก และผู้ที่อ่อนแอจากการเดินทางที่ยากลำบากต้องเสี่ยงกับการติดเชื้อ และโรคระบาดต่างๆ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆในครอบครัวหรือชุมชนซึ่งยากต่อการรักษาและกำจัดโรค

Shelter protects families and provides safety… Proper shelter, along with separate personal space for women and girls, is also vital for the prevention of rape and sexual violence. Without shelter, the risk grows exponentially, since women and girls are exposed and have no privacy. It is vital that women and girls can feel and be safe. A shelter with a locked door, not only physically improves that degree of safety, it helps people feel safe, which is vital for peace of mind and mental well‐being.

ที่พักพิงคือความปลอดภัยสำหรับครอบครัว
ที่พักพิงที่ปลอดภัยสามารถให้ความคุ้มครองเด็กผู้หญิงและผู้หญิงจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ข่มขืนและกระทำชำเรา ซึ่งการไม่มีที่พักพิงที่เหมาะสมและมิดชิด จะส่งผลต่อความเสี่ยงของการถูกล่วงละเมิดทางเพศ และที่พักพิงนั้นเป็นปัจจัยสำคัญของเด็กและผู้หญิงในการรู้สึกถึงความปลอดภัยในชีวิต โดยที่พักพิงที่มีเหมาะสมไม่เพียงแต่จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยทางด้านร่างกาย หากแต่ยังช่วยทำให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยแก่จิตใจอีกด้วย

Shelter offers hope and helps life resume… With shelter, refugees can start living again. Even the basics like a safe, dry, warm place to sleep, or the space to create and eat a family meal are a challenge without this essential resource. For children, it provides a space where they can feel they belong, a place to come back to after school where there are no strangers.

ที่พักพิงคือจุดเริ่มต้นของความหวังและโอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่
ที่พักพิงนั้นช่วยให้ผู้ลี้ภัยสามารถที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งเพียงแค่สิ่งง่ายๆ เช่นสถานที่ที่ปลอดภัย ไม่อับชื้น ที่นอนที่อบอุ่น หรือมีสถานที่ประกอบอาหารสำหรับครอบครัว ซึ่งถ้าขาดหายไปจากชีวิตของผู้ลี้ภัยก็จะทำให้เกิดปัญหาอย่างอื่นตามมา
อีกทั้งที่พักพิงนั้นยังเป็นสถานที่ที่ผู้ลี้ภัยสามารถรู้สึกผูกพัน เหมือนกับสถานที่ที่สามารถกลับมาได้หลังเลิกเรียน สถานที่ที่ปราศจากคนแปลกหน้า มีแต่คนครอบครอบ

About UNHCR
United Nations High Commissioner for Refugees was established by the UN General Assembly founded over 66 years. We provide international protection to refugees mostly children and women. Recently the agency has helped over 65 million displaced people in 123 counties. In Thailand, We have been working continuously with the government for 40 years in order to help and provide protection to over 105,000 of Myanmar refugees who live in 9 refugee camps in Mae Hong Son province, Tak province, Kanchanaburi province and Ratchaburi province in Thailand.

เกี่ยวกับ UNHCR
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติก่อตั้งมา 66 ปี โดยได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่ถูกบังคับให้ออกจากประเทศตนเองเพราะสงครามและความขัดแย้ง ส่วนใหญ่คือเด็ก และผู้หญิงที่สูญเสียทุกอย่าง ถูกกระทำ และพลัดพรากจากครอบครัว ปัจจุบัน เราให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นจำนวนกว่า 65 ล้านคนใน 123 ประเทศทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย UNHCR ทำงานร่วมกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิดเป็นเวลากว่า 40 ปี ในปัจจุบันเราให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยกว่าหนึ่งแสนคนที่อาศัยในค่ายจำนวน 9 แห่งในจ.แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ
ธนัช จรูญรัตนเมธา (มิ้นท์)
โทร.02-288-1389 (jarulrat@unhcr.org)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ
ธนัช จรูญรัตนเมธา (มิ้นท์)
โทร.02-288-1389 (jarulrat@unhcr.org)

 

You may also like...