เทศกาลบูโตนานาชาติแห่งประเทศไทยครั้งที่11

EVOLUTION/REVOLUTION เทศกาลบูโตนานาชาติแห่งประเทศไทยครั้งที่11 ประจำปี 2559 ขอเสนอ การแสดงเรื่อง Quiet House วันที่ 16- 18 ธันวาคม เวลา 19.00 น. ผลงานใหม่ที่ร่วมกันสร้างขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อเทศกาลปีนี้จากศิลปินญี่ปุ่นและไทย

บ้านไม่มีเสียง
ไม่มีใครอยู่บ้าน
มีภูเขาไฟระเบิด ผู้คนในบ้านตายจาก
ผู้คนแข็งเป็นหิน
ผู้คนแข็งเป็นน้ำแข็ง
บรรดาปูตามหาบ้านใหม่
พวกเขากำลังเล่นเกม พวกเขาถูกทำให้เงียบ
หรืออาจเป็นเพราะพวกเขาไม่มีปาก
บางคนตายในบ้านหลังนี้
ทุกคนรู้สึกเศร้าซึม
บางคนเสียชีวิต พวกเขาเงียบ
หลายคนเสียชีวิต พวกเขาพูดคุยกัน

อะไรผุดขึ้นมาในใจคุณ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างตกอยู่ในความเงียบ?


เกี่ยวกับศิลปิน
1. ทาคายูกิ ทาคิตะ ผู้กำกับ นักออกแบบท่าเต้น นักเต้น(ญี่ปุ่น)
ทาคิตะเป็นผู้กำกับ นักออกแบบท่าเต้น และนักเต้นในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขาเรียนหลักการเต้นของทัทซึมิ ฮิจิกาตะ ในปี 1994 เขาเริ่มทำงานกับกลุ่มละคร โกคิบูรคิ คอมบินัท ในฐานะนักแสดง ทากายูกิเริ่มต้นอาชีพนักเต้นเดี่ยวในปี 2001

2. ยูโกะ คาวาโมโตะ นักเต้น นักออกแบบท่าเต้น ผู้กำกับศิลป์ (ญี่ปุ่น)
ยูโกะ คาวาโมโตะ เป็นผู้กำกับและนักออกแบบท่าเต้นให้กับ Shinonome Butoh ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ยูโกะได้เรียนและแสดงร่วมกับทัทสึมิ ฮิจิกาตะ การแสดงของเธอได้รับการกล่าวขานว่ามีพลัง และรุนแรง เธอมีผลงานในเทศกาลต่างๆทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ตอนนี้เธอยังคงมีผลงานอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศทั่วโลก

3. ธีระวัฒน์ มุลวิไล (คาเงะ) ศิลปินนักการละครที่มากไปด้วยความสามารถ ผลงานของเขาอัดแน่นไปด้วยพลังศิลป์ที่มีความคมชัดต่อสารที่ต้องการสื่อ ทั้งในฐานะนักแสดง นักเต้น และผู้กำกับ

ธีระวัฒน์ มุลวิไล เคยได้ร่วมงานกับ บูโตแดนเซอร์ คัทสึระ คัง เขายังได้สร้างสรรค์งานในลักษณะของ Collaborative process กับศิลปินต่างสาขา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และได้บันทึกผลงานในลักษณะ Dance film เช่น “Requiem” “Ruin” อีกด้วย
ผลงานสร้างสรรค์ของเขาวิพากษ์สังคมระดับต่างๆ อย่างไม่ประนีประนอม

กิจกรรมพิเศษ! สำหรับปีนี้ เราได้เชิญคุณทาคาชิ โมริชิตะ ภัณฑารักษ์และผู้จัดแสดงงานที่เกี่ยวกับฮิจิกาตะ ทะสึมิ บิดาของการเต้นบูโต มาร่วมเสวนา และเปิดให้เข้าร่วมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

เกี่ยวกับ Lecturer
ทาคาชิ โมริชิตะ
เกิดเมื่อปี 1950 โมริชิตะได้เข้าร่วมในโปรดักชั่นของการแสดงบูโตตั้งแต่ปี 1972 ในฐานะสมาชิของกลุ่มบูโตของทัทสึมิ ฮิจิกาตะ ที่Asbestos Hall หลังจากเข้าทำงานในสำนักพิมพ์แห่งหนึ่ง ในการจากไปของฮิจิกาตะในปี 1986 เขาได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างและจัดการให้เกิดพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานให้กับทัทสึมิ ฮิจิกาตะ เข้าได้กลายเป็นผู้จัดการและวางแผนการจัดงานแสดงและการเสวนาต่างๆที่เกียวข้องกับฮิจิกาตะตั้งแต่นั้นมา

ทุกวันนี้ โมริชิตะ ได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับทัทสึมิฮิจิกาตะที่ ศูนย์วิจัยเพื่อศิลปะและการจัดการศิลปะที่ มหาวิทยาลัยKeio เป็นอาจารย์พิเศษให้กับคณะอักษรศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัย Keio และยังเป็นผู้แทนประธานให้กับ NPO Butoh Souzou Shigenอีกด้วย และยังมีงานเขียนเกี่ยวกับทัทสึมิ ฮิจิกาตะ ชือ Tatsumi Hijikata, Butohfu no butoh — Kigou no souzou, houhou no hakken (ทัทสึมิ ฮิจิกาตะ การเต้นบูโตบนพื้นฐานของบูโตสกอร์ การสร้างสรรค์ของสัญลักษณ์ และการค้นพบแบบแผน)

เทศกาล EVOLUTION/REVOLUTION:การเต้นบูโตนานาชาติในกรุงเทพ ครั้งที่ 11
การปฎิวัติเป็นนัยแห่งความเปลี่ยนแปลง EVOLUTION/REVOLUTION มุ่งสู่วิวัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจุดเปลี่ยนสู่การเต้นบูโตในทุกวันนี้

การเต้นบูโตเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในช่วงปลายยุค 50s โดยฮิจิกาตะ ทะสึมิ และ โอโน่ คะโซ เป็นการปฏิวัติรูปแบบของศิลปะที่ทำให้เกิดความแตกตื่นและความสับสนตั้งแต่ครั้งแรกที่จัดแสดงสู่สายตาผู้ชม หลังจากนั้นเรื่อยมาเป็นเวลา 57 ปี บูโตได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องในระดับสากล บุโตได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องในระดับสากล จนวันนี้ 30 ปีแล้วหลังจากการเสียชีวิตของฮิจิกะตะ บูโตได้ถูกนำมาใช้เป็นการเต้นบำบัดและการฟื้นฟูจิตใจให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำ เรายังสามารถพบเห็นอิทธิพลของการเต้นบูโตในศิลปะแขนงต่างๆ เช่น ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ดนตรี และภาพยนต์

เทศกาลปีนี้ขออุทิศให้กับ โค มุโรบุชิ ศิลปินบุโตผู้ล่วงลับไปในปีที่แล้ว ขอให้ดวงวิญญาณของเขาร่ายรำอยู่ในใจเรา

เวิร์คชอป
– 13 ธ.ค. เวลา 18.00 – 21.00 TUBUHKATATUBUH โดย โทนี โบรเออ (อินโดนีเซีย)
กระบวนการเรียนรู้ในร่างกาย เมื่อร่างกายไม่ใช่สื่อกลางของไอเดียหรือคอนเซ็ปต์ แต่ร่างกายเป็นไอเดียและคอนเซ็ปต์ในตัวมันเอง

– 17 ธ.ค. เวลา 13.00 – 16.00 พบกับ โรซานา บาร์รา (บราซิล/สเปน)
ผีเสื้อกินต้นส้ม ในดอกไม้คุณปู่เต้นรำอยู่ในซี่โครงของฉัน ฉันเป็นสหายระหว่างทาง เพื่อช่วยให้ทุกคนหาประตูทางเข้า เพื่อเปิดไปสู่การเริ่มต้นการเดินทาง เพื่อพบภูมิทัศน์ใหม่ๆ สัมผัสใหม่ จิตใจของมนุษย์แปลกหน้า สัตว์ พืช น้ำ ตึก และเพื่อค้นหาการรับรู้ใหม่ในพื้นที่และเวลา ฉันอยากจะร่วมเดินทางกับทุกๆคนเพื่อพาไปยังทางออก

– 18 ธ.ค. เวลา 13.00 – 16.00 พบกับ บูโตอัฟโฟร โดยคาเล่ มิรันดา (บราซิล)
เต้นรำกับวิญญาณของบรรพบุรุษ
บูโตอัฟโฟร เป็นการเต้นที่รวมกันระหว่างการเต้นบูโต และการเต้น Orixas ที่ทำให้ผู้เข้าร่วมเวิร์คชอปได้เข้าไปค้นหาในความทรงจำและบรรพบุรุษของตัวเองเพื่อสร้างการเต้นที่เป็นของตัวเองขึ้นมา

กิจกรรมทุกอย่างจัดขึ้นที่ หอศิลปะและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
*** เวิร์คชอปโปรแกรมละ 1000 บาท หรือเข้าร่วมทุกเวิร์คชอปในราคา 4000 บาท
**** บัตรราคา 600 บาท
**** บัตรนักเรียนนักศึกษาราคา 500 บาท

สำรองที่นั่ง โทร 094 494 5104 /email: bfloortheatre@gmail.com/bkkbutoh@gmail.com

You may also like...