ศิลปะในรัชกาลที่ 9 : ไทยเท่…จากท้องถิ่นถึงอินเตอร์

เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมายุครบ ๗ รอบ หรือ ๘๔ พรรษาในวันคล้ายวันประสูติที่จะมาถึงในปีนี้  นิทรรศการครั้งนี้เป็นการรวมเอารูปลักษณ์ใหม่ของงานศิลปะและผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ ในห้วงจังหวะเวลา และเหตุการณ์สำคัญแห่งรัชกาลที่๙ ผลงานที่ได้รับการคัดสรรมาจัดแสดงในงานล้วนเป็นผลงานที่มีความโดดเด่นและรังสรรค์ขึ้นในช่วง ๗ ทศวรรษ จึงทำให้งานครั้งนี้เป็นที่สุดของงานนิทรรศการศิลปะไทยกว่าครั้งใดที่ผ่านมา


ศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๙:  ไทยเท่…จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์ สะท้อนจุดเปลี่ยน บอกเล่าเหตุการณ์สำคัญ และสะท้อนต้นกำเนิดงานศิลป์ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินผู้มีชื่อเสียงและศิลปินหน้าใหม่ของไทย งานนิทรรศการครั้งนี้จึงมีมิติของผลงานศิลปะที่กว้างและครอบคลุมชิ้นงานเด่นๆ ในช่วงเวลาแห่งการครองราชย์ จุดเด่นของงานอยู่ที่เรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นประจำ อาทิ อัตลักษณ์ความเป็นไทย การเฉลิมฉลองวันครอบรอบในวโรกาสต่างๆ สถานะทางสังคม ศิลปะในพระอุปถัมภ์ ศิลปะแนวต่อต้าน ชายขอบ เพศสภาพ ข้อห้าม การทดลอง และ การเจริญเติบโตของศิลปะไทยจนเป็นที่รับรู้ในระดับสากล

ในนิทรรศการนี้ ผลงานที่นำมาแสดงไม่ได้จัดเรียงตามลำดับเวลา หากแต่นำมาจัดแสดงตามหัวข้อ (Themes) คือ การค้นหาอัตลักษณ์ไทย แรงบันดาลใจจากความเชื่อในพุทธศาสนา นามธรรมและปัจเจกนิยม พื้นที่ทางสังคมและการอุปถัมภ์ การต่อสู้ทางสังคมและการเมือง จินตนาการและความเหนือจริง เพศสภาพและชายขอบ การเป็นเป้าสายตาในท้องถิ่นและสากล การทดลองและวัฒนธรรมสื่อ

ความอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะและการเป็นผู้อุปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญซึ่งแสดงให้เห็นถึงบริบทของการพัฒนาในวงการศิลปะไทย ด้วยความสนพระทัยและความใคร่รู้นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานภาพสีน้ำมันบนผืนผ้าใบเปรียบเทียบกับความกระตือรือร้นในด้านการถ่ายภาพและดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีแนวแจ๊ส ผลงานที่ได้ประจักษ์สู่สาธารณะชนซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประทานให้กับงานนิทรรศการศิลปะแห่งชาติ ได้แก่ ภาพประกอบจากพระมหาชนกชาดก และการตกแต่งภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระพุทธรัตนะสถานซึ่งเป็นแบบอย่างในรูปแบบราชสำนัก

ศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๙:  ไทยเท่…จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ชมเกิดการค้นคว้าและจินตนาการ หัวข้อต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ที่สัมพันธ์กับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การเปลี่ยนรูปแบบของสังคมและการเมือง ค่านิยม การค้นหาความเชื่อทางศาสนา สภาวะการแบ่งชนชั้นและสังคม สถานะและการลำดับชั้นทางสังคมระหว่างช่างศิลป์และศิลปิน ระหว่างการอุปถัมภ์และความรับผิดชอบต่อสังคม ระหว่างครูสอนศิลปะและคณะกรรมการศิลปะ แม้กระทั่งระหว่างช่างฝีมือและผู้มีชื่อเสียง ถูกนำมาเปรียบเทียบในจิตวิญญาณที่เปิดกว้าง

นิทรรศการครั้งนี้รวมผลงานจากศิลปินกว่า 300 ท่าน ซึ่งมีชื่อเสียงระดับชาติและศิลปินรุ่นใหม่ที่มากด้วยพรสวรรค์ จากเหล่าจิตรกรแนวนีโอแบบดั้งเดิมสู่เหล่าศิลปินแนวศิลปะทดลอง จากเหล่าศิลปินผู้เป็นที่รู้จักในระดับสากลสู่เหล่าช่างศิลป์ในระดับท้องถิ่น จากเหล่าศิลปินในราชสำนักสู่เหล่านักกิจกรรมศิลปะ

นอกจากนี้ นิทรรศการครั้งนี้ยังรวมเอาข้อมูลและงานวิจัยที่เป็นเอกสารอันเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของศิลปะไทย ซึ่งเปรียบเทียบเหตุการณ์ต่างๆ และพัฒนาการด้านศิลปะในประเทศแถบเอเชีย ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และ ญี่ปุ่น เน้นการศึกษางานศิลปะผ่านการแสดงที่มองเห็นได้ ข้อความบนผนัง และคำบรรยายภาพร่วมกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ชุดการเรียนรู้ และเว็บไซต์ที่ครอบคลุมหลากหลายแง่มุมของประวัติศาสตร์ศิลปะในรัชกาลที่ ๙

การสัมมนาและการพูดคุยจากศิลปิน เปิดโอกาสให้ผู้ชมและนักเรียนได้มีส่วนร่วมและเรียนรู้เกี่ยวกับแนวโน้มต่างๆ ของศิลปะไทยในจุดเปลี่ยนของช่วงเวลาสำคัญต่างๆ

นอกจากผลงานเด่นๆ ที่เป็นภาพวาด ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย งานติดตั้ง การแสดง และศิลปะแนวทดลอง นิทรรศการ ‘ศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๙: ไทยเท่…จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์’ ยังนำเสนอการเปรียบเทียบผลงานในแวดวงสถาปัตยกรรม ดนตรี และภาพยนตร์ สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดนิทรรศการครั้งนี้ยังรวมเอาผลงานศิลปะสร้างสรรค์ โดยศิลปินชาวต่างชาติผู้ที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุน   และกระตุ้นให้เกิดผลงานสร้างสรรค์มากมาย  ในช่วงเวลาแห่งรัชกาลที่ ๙

นิทรรศการ ‘ศิลปะสมัยรัชกาลที่ ๙ :  ไทยเท่…จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์’ จัดโดย กรุงเทพมหานคร และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยได้เชิญภัณฑารักษ์ ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ เนื่องด้วย ศ.ดร. อภินันท์ เป็นนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงและเป็นภัณฑารักษ์ระดับสากล ท่านจึงได้รับเชิญให้เป็นหัวหน้าภัณฑารักษ์ในการทำการสำรวจทางประวัติศาสตร์เรื่องศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยภายใต้รัชกาลที่ ๙ ยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทีมภัณฑารักษ์ประกอบด้วย ลักขณา คุณาวิชยานนท์, กฤติยา กาวีวงศ์, เสริมคุณ คุณาวงศ์,  ปกรณ์ กลมเกลี้ยง และนิกันติ์ วะสีนนท์

ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ความเห็นว่า “ก่อนหน้านี้มีการจัดนิทรรศการ ซึ่งมีนัยสำคัญเกี่ยวกับศิลปะแห่งรัชกาลที่ ๙ ซึ่งจัดแสดงที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และที่หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ และ พ.ศ.๒๕๔๙ ตามลำดับ แต่นิทรรศการที่จัดขึ้นในครั้งนี้ครอบคลุมศิลปะในช่วง ๗ ทศวรรษที่ผ่านมา ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แห่งรัชกาลที่ ๙ วิธีการจัดเรียงไม่ได้เป็นไปตามลำดับเวลาเหตุการณ์ แต่จัดเรียงตามแก่นเรื่องในหลากหลายมุมมอง เราจะได้รับโอกาสในการกลั่นกรอง พินิจพิเคราะห์ และทำการทบทวนแนวโน้มที่เป็นนัยสำคัญ ซึ่งนำไปสู่รูปแบบผลงานศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทย นอกจากนี้ นิทรรศการครั้งนี้ยังพินิจทัศนศิลป์ในบริบทของภาพยนตร์ ดนตรี และวรรณกรรม ที่นำเสนอเชิงเปรียบเทียบแบบสหวิทยาการที่หลากหลายและกว้างขวางมากขึ้น”

ลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้เสริมเกี่ยวกับนิทรรศการครั้งนี้ว่า “ผู้ชมนิทรรศการจะได้มีโอกาส ชมผลงานศิลปะร่วมสมัยชิ้นสำคัญๆ ที่อยู่ในการสะสมส่วนบุคคล และไม่ค่อยได้นำออกมาจัดแสดงให้กับสาธารณชนมาก่อน นอกจากนี้ก็จะมีการจัดพิมพ์หนังสือ ที่รวบรวมรูปภาพและข้อเขียนโดยอาจารย์ ศิลปินนักวิชาการ ภัณฑารักษ์ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และพัฒนาการในแง่มุมต่างๆ ของศิลปะร่วมสมัยไทย ในรอบ 7 ทศวรรษที่ผ่านมานี้อีกด้วย ซึ่งก็จะเป็นหนังสืออ้างอิงที่สำคัญอีกเล่มหนึ่งของศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยของไทยต่อไป

 

นิทรรศการ : ศิลปะในรัชกาลที่ 9 : ไทยเท่…จากท้องถิ่นถึงอินเตอร์
ผู้จัด : กรุงเทพมหานคร และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
วันที่ : 16 สิงหาคม – 28 ตุลาคม 2555
สถานที่ : ชั้น 3-5 และชั้น 7-9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
รายละเอียดเพิ่มเติมเว็บไซต์ : http://www.bacc.or.th

 

 

รายละเอียดเพิ่มเติม :

เว็บไซต์ : http://www.bacc.or.th

You may also like...