ในบริบทสังคมที่มีความพยายามต่อการขับเคลื่อนโลก มีการคิดค้นและสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้น เช่น ทฤษฎีด้านกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเจาะประเด็นเรื่องจิตวิญญาณ (ไม่ใช่เรื่องผีสาง)
ซึ่งหากสามารถสื่อสารกับผู้คนในระดับจิตใจได้ การหมุนของโลกก็อาจเคลื่อนไปตามทิศทางของผู้มีอิทธิพลเหล่านั้น ในนิทรรศการ ‘จิตเป็นนาย’ ศิลปินได้หยิบยกประเด็นทางสื่อสารด้านจิตใจ ศาสนา นำมาแปรรูปผ่านสื่อมัลติมีเดีย เพื่อให้สอดคล้องกับโลกศิลปะ โดยการพูดถึง Human Spirit เพื่อตอกย้ำให้คนในสังคมได้ตระหนักรู้และตื่นตัว เกี่ยวกับการเจาะเข้าไปถึงระดับจิตใจของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน อันมีทีท่าว่าจะเข้มข้นขึ้นทุกวัน ผ่านกระบวนการทางสื่อที่รุมเร้า ผ่านเนื้อหาที่พร้อมจะฝังเข้าไปในจิตใจ และอาจปลุกให้เราเปลี่ยนตัวตน ไปในรูปแบบต่างๆ
ความสนใจร่วมกันระหว่างศิลปินต่างรุ่นผ่านผลงานมัลติมีเดียในนิทรรศการนี้ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ มุ่งเน้นที่เนื้อหาของสื่อที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ ความรู้สึก จิตสำนึก มีการตีความเกี่ยวกับเนื้อหาด้านอารมณ์ และความรู้สึก สื่อที่สะท้อนกันไปมาไม่รู้จบเรื่องราวของมดบนพื้นทรายที่เดินตามๆกันศิลปินจับมา จัดวางในห้องกระจกสะท้อนไปมา สร้างความตื่นตาตื่นใจไม่น้อยกับห้องไร้ขอบเขต
วิทยา จันมา ท้าทายและหลอกล่อผู้ชมให้มีส่วนร่วมกับผลงาน ด้วยการสร้างมายาภาพแห่งโลกเสมือนจริง ผ่านสิ่งสัมผัสสมมติ เช่น รูป แสง เสียง และเวลา คล้ายนำกระจกบานใหญ่มาติดตั้งเผชิญหน้าผู้ชมยั่วล้อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ ขณะเดียวกันวัตถุมีมวลสามารถมองเห็นด้วยตาที่วิทยาสร้างขึ้นกลับปรากฏ ทับซ้อนขึ้นมาวัตถุประติมากรรมเสมือนจริงที่เคลื่อนไหวออกมาล้อเล่นกับผู้ชม ซึ่งเราอดเล่นตอบกลับไม่ได้
คล้ายกับมีคำถามลอยมาว่าเล่นสนุกมั๊ย? คุณกำลังทำอะไรอยู่? ภาพที่ปรากฎนอกจากสะท้อนสิ่งต่างๆภายนอก กลับสะท้อนเรื่องราวข้างในของเราออกมา พร้อมกับคำตอบว่าภาพปรากฎนั้นมีอยู่ จริงหรือไม่?
ห้องแสดงงานศิลปะครั้งนี้ถูกศิลปินสองคนเล่าเรื่องราวที่ล้วนแล้วแต่ล้อกันไปมา การใช้สื่อต่างๆอาทิเช่นการสะท้อนของกระจกที่มีเพียงแสงตกกระทบวัตถุ และการนำกระจกที่เป็นวัตถุจริงมาสะท้อนกลับแสงที่ปรากฎภาพ และยังสอดคล้องกันในเชิงเนื้อหาที่ต่างก็ “สื่อ”กับคนดูให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน การเชื้อเชิญให้ผู้ชมนำตัวเองเข้ามาสร้างประสบการณ์กับสื่อต่างๆที่ปรากฎตรงหน้า เมื่อเวลาเคลื่อนไป ตัวเราเองจะได้มีโอกาศตรวจสอบตัวเอง เห็นตัวเองมากน้อยแค่ไหน สัมปัญชัญญะกับช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นจะกระตุ้นให้เราเข้าใจตนเองมากน้อยแค่ไหน นับเป็นเรื่องท้าทายมิใช่น้อย!!!
เกี่ยวกับศิลปิน
อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินผู้ทำงานศิลปะสื่อผสมในระดับนานาชาติ จบการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาจิตรกรรม จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และศึกษาต่อที่ ASP Akademy of Fine Art เมือง Krokow ประเทศโปแลนด์ อำมฤทธิ์เป็นหนึ่งในศิลปินที่ร่วมบุกเบิกการทำงานศิลปะสื่อผสม ได้รางวัลมากมาย อาทิ รางวัลชนะเลิศ การประกวดศิลปกรรมร่วมสมัยครั้งที่ 9, รางวัลทุนสร้างสรรค์ศิลป์ พีระศรี ประจำปี พ.ศ. 2545,รางวัลรองชนะเลิศ ในนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 32 อำมฤทธิ์ยังได้รับเชิญให้เข้ารวมการแสดงศิลปะนานาชาติ เวนิสเบียนาเล่ (Venice Biennale) ครั้งที่ 52 ปี 2550 ที่ประเทศอิตาลี่ ด้วยการนำเสนองานศิลปะชุด เชิญคุณก่อน ขอหยุดคิด และ ร่วมงาน กวางโจวเทรียนนาเล่ ที่เมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2554
ปัจจุบัน อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ เป็น ผู้อำนวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยา จันมา Media Artist จากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาจัดแสดงงานมากมาย อาทิ นิทรรศการ ต่าง-มอง ต่าง-มุม ที่หอศิลป์ PSG คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร พ.ศ. 2549นิทรรศการ Multimedia-Multivisions ที่หอศิลปะร่วมสมัย อาเดล กรุงเทพฯ พ.ศ. 2554 และ นิทรรศการเดี่ยว Light Time ที่ BKK Arthouse หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554
ปัจจุบัน วิทยา จันมา เป็นอาจารย์พิเศษคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
‘จิตเป็นนาย’สัญจร จังหวัดกระบี่
มัลติมีเดีย และ วีดีโอจัดวาง
ศิลปิน: อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ และ วิทยา จันมา
วันที่ : 16 มกราคม – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
เปิดงาน: วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 13.00 น.
เวลาทำการ: จันทร์-เสาร์ 9-18 น. เว้นวันหยุดราชการ
สถานที่: หอศิลป์ร่วมสมัยจังหวัดกระบี่
วันที่ : 17 มกราคม 2556
กิจกรรม: เปิดงานนิทรรศการ ‘จิตเป็นนายสัญจร’ / ปาฐกถาธรรม
สถานที่: หอศิลป์ร่วมสมัยจังหวัดกระบี่
จัดโดย : หอศิลป์ตาดูไทยยานยนตร์
Within today’s social context, there’re many attempts to propel the World, by creating new theory such as Marketing Strategy to convey people in spiritual level, making the World possibly moves along with those who’re authorized.
In ‘Spiritual Media Reaction’ exhibition, artists have pointed out religious issue and transformed through multimedia tools, in order to present it under the context of Arts. Human Spirit has been emphasized for audience to be more conscious about how people are spiritually conveyed, through media bombarding, which could enthuse people on changing inner-self and cause personality deformation.
Mutual interests between artists of two generations express through this multimedia exhibition. Amrit Chusuwan focuses on the content which impacts people’s state of mind, creating interpretation through Buddhism, emotions, and human being’s adhering to things or matters. Artwork’s interactive process will then invite audience to explore themselves from the inside. Witaya Junma challenges, while luring, audience to participate with the artwork, by establishing virtual world through form, light, sound, and time, encouraging audience to question the existence of the World and search for meaning of life, as well as dedication to make dreams come true.
About the Artists
Amrit Chusuwan, an international Mixed-Media Artist, finished his B.F.A. and M.F.A. in Painting, Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University. He also received Certificate from ASP Akademy of Fine Arts, Krakow, Poland. Amrit has won Art awards, such as 1st Award Winner, 9th Contemporary Art Competition, Bangkok, Thailand, Silpa Bhirasri Creativitity Grants, 2002, and 2nd Prize, 32ndNational Exhibition of Art, Bangkok, Thailand. He’s also invited to participate in Thai Pavilion, 52nd Venice Biennale, Italy, 2007, with his show, Globalization Please Slow Down and 4th Guangzhou Triennial, Guangdong Museum of Art, Guangzhou, China, 2011.
Amrit Chusuwan is currently a Director of Silpakorn University Art Center.
Witaya Junma, a Media Artist from Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University. His works include Tang-Mong Tang-Moom Exhibition at PSG Art Gallery, Faculty of Fine Arts, Silpakorn University, 2006, Multimedia-Multivisions Exhibition at Ardel Gallery, 2011, and Light Time Solo Exhibition at BKK Art House, BACC, 2011.
Witaya Junma is currently a special Lecturer at School of Digital Media, Sripatum University.