Category: Profile-Performing Artist

Vogue Dance & Life of Thai’s Voguer Sunya Phitthaya Phaefuang

GENDER – ART – POWER มนุษย์ไม่ได้ใช้ศิลปะเป็นเพียงเครื่องจรรโลงใจหรือเพื่อความบันเทิงเท่านั้น หากแต่ใช้เพื่อแสดงตัวตน และเป็นเครื่องมือสื่อสารแสดงอำนาจ โดยอาศัยความวิจิตรงดงาม ความอลังการ ความประทับใจ ความเคลิบเคลิ้มหลงใหล ความเร้าใจ ฯลฯ ที่เกิดจากอำนาจศิลปะมาสร้างให้เกิดความเชื่อความศรัทธาและการยอมรับมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน ประวัติศาสตร์โลกได้พิสูจน์ความจริงซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า การกล่อมเกลามวลชนให้เกิดความศรัทธาหรือการยอมรับถึงอำนาจด้วยกลไกแห่งศิลปะนั้น ทรงพลังยิ่งกว่าการทำสงครามหรือการบังคับขู่เข็ญ ศิลปะที่เหนือกว่า ครองใจคนได้มากกว่า หมายถึงอารยธรรมที่สูงส่งและแข็งแกร่งกว่า การแสดงออกเพื่อสื่อสารตัวตน สถานภาพ และทวงถามสิทธิเสรีภาพ เพื่อดำรงความหลากหลายทางเพศสภาพและเพศวิถี มีมากมายหลายวิธี ไม่ต่างกับการแสดงออกเพื่อสิทธิทางการเมือง การปกครอง ที่ล้วนต้องใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะการพูด การเขียน การแต่งกาย การออกแบบสถาปัตยกรรม การแสดง...

Gim Gwang Cheol

คิม กวัง ชอล เกิดใน พ.ศ. 2510 ที่สาธารณรัฐเกาหลีสำเร็จการศึกษาด้านจิตรกรรมตะวันตกจาก Chonnam national universityในพ.ศ. 2539 และเริ่มต้นอาชีพศิลปินนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

Ronnarong Khampha

รณรงค์ คำผา ช่างฟ้อนจากจังหวัดพะเยาผู้พัฒนาศิลปะการฟ้อนแบบล้านนาโบราณออกมาในรูปแบบ การฟ้อนล้านนาร่วมสมัยในแบบฉบับและเอกลักษณ์ของตัวเอง

Dreambox Theatre BKK

ดรีมบอกซ์ ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม2544 โดยผู้บริหารและก่อตั้ง แดส เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ซึ่งเป็นคณะละครเวทีที่ได้ชื่อว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของการพัฒนาวงการละครเวทีในประเทศไทย แดส เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานย้อนไปถึงปี 2529 ซึ่งเป็นปีแรกที่กลุ่มคนที่รักละครเวทีได้รวมตัวกันเพื่อผลิตงานละครเวที ให้เป็นที่รู้จักดียิ่งขึ้นนอกเหนือไปจากศิลปะการแสดงอื่นๆที่คุ้นเคยกัน อยู่แล้ว

พิเชษฐ์ กลั่นชื่น

กระแสวัฒนธรรมใหม่ๆที่หลั่งไหลเข้ามา กำลังเปลี่ยนแปลงและกลืนกลายวัฒนธรรมดั้งเดิม ไม่มีใครจะสามารถแช่แข็งวัฒนธรรมเดิมๆเอาไว้ได้ แต่หากยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรู้เท่าทัน และรู้จักรากฐานของวัฒนธรรมนั้นดีพอ วัฒนธรรมนั้นย่อมไม่มีทางสูญหายไปตามกาลเวลา หนำซ้ำยังคงคุณค่าและกลายเป็นอัตลักษณ์ ยากที่ใครจะเลียนแบบได้อย่างแน่นอน เช่นเดียวกับ โขนร่วมสมัย ของอาจารย์ พิเชษฐ์ กลั่นชื่น

เสรี หวังในธรรม

อาจารย์เสรี หวังในธรรม เกิดเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ ที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอายุ ๖๔ ปี ได้รับการศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียนศรีจรุง จากนั้นก็ได้ไปศึกษาต่อชั้นประถมที่โรงเรียนปิยะวิทยา ชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนชิโนรส แล้วจึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนนาฏศิลป์ของกรมศิลปากร ตามลำดับ

ภัทราวดี มีชูธน

  อยากทราบเหตุผลที่คุณครูเล็กเปิดภัทราวดีเธียเตอร์ โรงเรียนสอนตรงนี้ขึ้นมา จริงๆ ที่นี่ก็ไม่ได้สอนแบบโรงเรียนที่อื่นนะคะ คือไม่ได้สอนสม่ำเสมอ จะสอนเมื่อมีเวลา ที่สอนสม่ำเสมอก็จะมีรำไทยกับ โมเดิร์นดานซ์ แต่ว่าก็มีอยู่อย่างละคลาสเท่านั้นเอง ส่วนแอ็คติ้งก็จะสอน 2-3 เดือนครั้งหนึ่ง คือที่นี่ไม่ได้สอนเพราะมันเป็นโรงเรียน สอนเพราะว่า มันมีเด็กมืออาชีพต้องเทรน ก็ให้เด็กอื่นๆ ที่เขาอยากเรียนด้านนี้ส่งไปด้วย จริงๆ แล้วต่อไปจะร่วมมือกับกันตนาแล้วก็จะสอนมากกว่านี้ เพราะว่าจะฝึกเด็กนักแสดงให้กับกันตนา เขาก็คงจะส่งให้ฝึก คือร้อยคนอาจจะได้แค่ 2 คน แล้วแต่ว่าเขาจะคัดเอาไปทำงาน ที่เหลือก็อาจจะเป็นตัวประกอบหรือว่านักแสดงที่บทน้อยๆ หรือว่าเราอาจจะเห็นลู่ทาง คนนี้อาจจะไปทำคอสตูม ทำพร็อพทำอะไรแบบนี้ ก็จะต้องซุ่มฝึก ก็คิดว่า 80% ก็น่าจะได้ทำอะไร...

พิสูตร ยังเขียวสด

“ ผมเชื่อว่าประเทศไทยจะมีมุมมองใหม่เกิดขึ้น ผมไม่อยากให้เค้ามองประเทศไทยมีแต่พัฒน์พงศ์ พัทยา ผมอยากให้เค้าพูดถึงวัฒนธรรมชั้นสูงบ้าง เราก็พยายามดันขึ้นไป เพราะเวลาผมไปเมืองนอกพอมีคนถามแล้วผมบอกว่าเป็นคนไทยปุ๊บ เค้าก็จะบอกอ้า..พัฒน์พงศ์ พัทยา กู๊ด.. เราก็รู้สึกว่า ทำไมตัวอื่นมีเยอะแยะนะ มีศิลปะมีหลายๆ ตัวที่คุณไม่รู้เรื่อง แล้วอยากนำเสนอในมุมมองใหม่บ้างเมืองไทยจะได้ดูดีขึ้น ” 

วรารมย์ ปัจฉิมสวัสดิ์

นักวิชาการทางศิลปะท่านหนึ่งกล่าวว่า หัวใจของงานศิลปะทั้งมวล คือ จังหวะ เพราะสิ่งนี้ก่อกำเนิดลีลาแห่งสรรพสิ่ง สะท้อนความงดงามออกมาให้ประสาทสัมผัสมนุษย์ได้ยลยิน ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม ดนตรี ศิลปะการแสดง ฯ ล้วนแล้วแต่มีจังหวะเป็นองค์ประกอบสำคัญ ไม่เว้นแม้แต่นาฏลีลาที่ วรารมย์ ปัจฉิมสวัสดิ์ Artistic Director สถาบัน Dance Center ศิลปินไทยคนแรกที่สามารถเข้าร่วมแสดงกับคณะบัลเล่ต์ระดับโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ รักเท่าชีวิต 

สินีนาฎ เกษประไพ พระจันทร์เสี้ยวการละคร

ความเป็นมาของพระจันทร์เสี้ยวการละคร ประวัติของพระจันทร์เสี้ยวการละครต้องย้อนกลับไปเริ่มต้นประมาณปี พ.ศ.2512 ตอนนั้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีกลุ่มคนหนุ่มที่สนใจเรื่องงานวรรณกรรม รักในการอ่านหนังสือ และรวมกลุ่มกันพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณกรรม มีการเขียนเรื่องสั้น และบทละคร โดยรวมตัวกันหลวมๆ ในชื่อของชมรมพระจันทร์เสี้ยว