บัณฑิต จุลาสัย

“ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน” ฉันใดก็ฉันนั้น คุณค่าของผลงานที่เราตั้งใจสร้างสรรค์ออกมาอย่างเต็มที่ คงไม่จำเป็นต้องอาศัยการโปรโมทหรือโฆษณาอย่างหนักหน่วง ในยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและมีผู้แพ้ผู้ชนะเกิดขึ้นทุกเสี้ยววินาที “เมื่อมีโอกาส ได้รับโอกาสในทำงาน เราต้องทำเต็มที่ เค้าจ้างเราหนึ่งบาท เราต้องทำสิบบาท” นี่คือคำพูดของสถาปนิกมืออาชีพระดับประเทศ ผู้มีผลงานการออกแบบและรางวัลการันตีมากมาย หากเอ่ยสถานที่มาคงคุ้นหูคุ้นตากันบ้าง อาทิ โรงแรมรถไฟหัวหิน,โรงแรมเซ็นทรัลโซฟิเทล หัวหิน, อาคารจุลจักร์พงศ์ ศูนย์การค้าบิ๊กซี ฯลฯ ศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต จุลาสัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ปรึกษาบริษัทสถาปนิกจุลาสัย กรรมการสภาสถาปนิก กรรมการผังเมือง นักเขียน เขียนหนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อม เจ้าของผลงาน “หนอนคอนกรีต” ซึ่งเคยเข้าชิงรางวัลซีไรต์ เรื่องสั้น ภายใต้นามปากกา ปริญญา ตรีน้อยใส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ
เป็นโอกาสกับความตั้งใจ ถ้าไม่มีโอกาสเราก็ไม่ได้ทำอะไร โอกาสสำคัญอันนึงคือ ตอนที่เรียนจบจากฝรั่งเศลบังเอิญได้ทำงานอนุรักษ์โรงแรมรถไฟหัวหิน โชคดีเค้าให้ไปทำ ก็มีโอกาสได้ใช้ความรู้ เคยอธิบายให้นักเรียนฟังว่า เค้าจ้างบาท ต้องทำสิบบาท ตอนนั้นเราหนุ่มด้วยไม่ได้คิดอะไร ได้งานก็ทำเต็มที่  เสาร์-อาทิตย์ ไปอยู่ที่นั่นเพราะมันสนุก มันเป็นโอกาสของเรา ก็ทำเต็มที่โปรเจ็คท์มันยาว เพราะฉะนั้นตั้งแต่วันแรกที่เซ็นทรัลเทคโอเวอร์ตึกรถไฟเก่าๆเราก็เข้าไปพร้อมเค้า จนทุกวันนี้ที่บ้านก็ยังมีชิ้นส่วนของโบราณจากโรงแรมเก็บไว้เป็นที่ระลึก โถแตกยังมี  จากนั้นเราก็มาซ่อมของเก่า เซ็นทรัลไม่ยอมหยุดทำมาหากิน เราก็ทำไปออกแบบไปอนุรักษ์อาคารเดิม เปิดอาคารเดิมเป็นโรงแรมใหม่ที่สำเร็จรูปสวยงามหรูหรา ต่อเติมส่วนใหม่ทำล็อบบี้ใหม่ ทำห้องพักเป็นสองร้อยห้อง ทางเข้า สวนก็ลงไปทำ เฟอร์นิเจอร์ออกแบบหมดเราทำหมด ประสบความสำเร็จ ก็มาต่อการ์เด้นท์วิลล์สามสี่ร้อยห้อง ช่วงสองปีแรกไปอยู่ที่นู่นทุกเสาร์-อาทิตย์ พอวันศุกร์เลิกงานจากจุฬาก็ขับรถไป สมัยนั้นถนนก็ยังไม่ดีขับรถเป็นทางเดียวยังไม่คู่ขนาน ไปถึงที่นู่นกลางคืนสี่ทุ่มห้าทุ่มกินก๋วยเตี๋ยวแล้วนอน วันรุ่งขึ้นทำงานทั้งวัน เสาร์ทำงานทั้งวัน อาทิตย์บ่ายก็กลับ อยู่อย่างนี้ คนเราถ้ามีโอกาสต้องทำงานเต็มที่ พอได้งานทำมีโอกาสทำ ตอนเซ็นทรัลเค้าเริ่มโครงการบิ๊กซี ผมก็ต้องไปดูงาน สมัยนั้นเมืองไทยไม่มีบิ๊กซี ไม่มีเทสโก้โลตัส ไม่มีอะไรเลย เพราะฉะนั้นเราต้องไปดูงานที่ต่างประเทศ ไปดูงานวออล์มารท์ ดูงานทาร์เก็ต ดูงานห้างคล้ายๆทำนองเดียวกัน เค้าก็ไปดูกัน รับรองไม่มีใครได้โอกาสอย่างนี้เลย ยิ่งกว่าทัวร์ไทย ไปอยู่ที่นั่น 5 วัน แต่ละวันดูศูนย์การค้าประมาณ 6 -7 แห่ง  ไม่ทำอย่างอื่นเที่ยวศูนย์การค้ากับห้างแล้วก็เดิน ยิ่งกว่าทัวร์ช๊อปปิ้งอีก ดูกันจนเข้าใจถึงมาออกแบบ ทำบิ๊กซีอยู่ประมาณสิบแห่งจนเกิดวิกฤติ เซ็นทรัลเค้าขายไปให้คาสิโน เราก็เลยเลิกทำงานกับเค้า ทำงานจริงๆเราลงไปทำหมด ทำระบบให้หมด พื้นวัสดุอะไรที่มีอยู่เป็นคนคิดให้ดีที่สุด เพราะว่าของที่มาจากต่างประเทศมันใช้ไม่ดื้ พื้นจะใช้ชนิดไหนดี หินขัดดีไหม พื้นที่มันทน ใช้กระเบื้องยางก็หลุดร่อนเพราะมันใช้งานหนัก ระบบแอร์ ระบบการก่อสร้าง ระบบเสาที่ประหยัดเป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้มันง่าย มันมีตัวอย่างเราก็ก๊อปปี้ แต่ตอนนั้นมันไม่มีให้ก๊อปปี้ ต้องคิดหมดเลย ระบบแอร์ ระบบช่องแสงหลังคา เดิมทีใช้ช่องแสงที่ประหยัดไฟ แต่ทำให้สินค้ามีนสีซีดแต่ก็ร้อนเกินไป อย่างนี้ คือลองผิดลองถูกอยู่พอสมควร ผมทำอยู่สิบสาขา ถ้าไม่ได้ไปทำ เซ็นทรัลไม่ให้โอกาสไปทำ เราก็ไม่มีทางเข้าใจเรื่องพวกนี้ ฉะนั้นก็เป็นประโยชน์ในการสอนหนังสือมากเลย

เคยได้งานชิ้นนึงเจ้าของเค้าอยากได้ สร้างเร็วๆ ประหยัดๆ เป็นโรงสำหรับจัดกิจกรรมลูกเสือที่เมืองโบราณ ใหญ่มาก 32 x 80เมตร  สำหรับลูกเสือชุมนุมกัน เค้าต้องการให้เสร็จเร็ว และประหยัดที่สุด เพื่อให้ทันงานลูกเสือโลก ผมก็คิดระบบทุกอย่าง สุดท้ายก็ไปใช้ไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์ไม้เทียมทั้งหลายแหล่ เอามาทำเป็นตึก ออกมาก็แปลกกว่าไม่ค่อยมีใครใช้ เค้ามาใช้ตกแต่งเล็กน้อยตามบ้านจัดสรรแต่นี่ใช้ทั้งหลัง คนเห็นก็เป็นเรื่องแปลก หลังๆก็ชื่นชมว่าเป็นแนวทางอาคารประหยัด มันต้องมีโอกาส สถาปนิกนี่คิดเฉยๆนะ แต่ว่าเราไม่มีโอกาส ต้องมีโอกาส ยกเว้นบ้านตัวเองที่ต้องทำ นอกนั้นก็ไปทำบ้านคนอื่นหมด คนอื่นต้องให้โอกาสเรา ได้โอกาสเราต้องทำเต็มที่ เวลาได้งานมาแล้วไม่คิดว่าเป็นค่าจ้างทำงาน ไม่ทำงานเหมือนทำตามหน้าที่ เราต้องคิดทุกอย่าง ฉะนั้นแต่ละงานที่ทำจะส่งผลให้กลับมา แล้วผมก็ค้นพบว่า อย่างทำโรงแรมรถไฟที่หัวหิน จนทุกวันนี้ ถ้าเค้ารู้ว่าเราออกแบบโรงแรมรถไฟหัวหิน ก็จะอยากได้บ้านอย่างหัวหิน คนที่อยากได้บ้านอย่างหัวหินเนี่ย อย่างบ้านดร. สุรเกียรติ บอกว่าอยากได้บ้านเหมือนโรงแรมรถไฟหัวหิน  ทำไปทำมาสูงหกชั้น เป็นโรงแรมรถไฟหัวหินที่สูงหกชั้น โรงแรมจริงมันสูงสองชั้นเอง นี่เราออกแบบมาแล้วมันก็ได้เหมือนอย่างโรงแรมรถไฟทุกประการเค้าก็ชอบ เพราะฉะนั้นก็ต้องบอกว่าทุกงานที่เราทำมันส่งผลมาให้เรา เผอิญผมเลือกงานด้วย ยิ่งถ้าทำงานกับธุรกิจการค้าเนี่ย โอกาสที่เจ้าของที่ไม่เป็นจะเยอะ เผอิญเราได้ทำงานกับคนที่เก่งเรื่องนี้ เรื่องเจ๊งไม่มีปัญหา แต่เราจะเหนื่อยมากในการทำงานกับเค้า

ภารกิจหลักที่ต้องทำ
ทำตรงนี้มานาน เป็นคณบดี เป็นรองคณบดี เป็นผู้ช่วยอธิการบดี เป็นหัวหน้าภาคมาสองภาค ตอนนี้ใกล้เกษียณแล้วก็เลยบอกมหาลัยว่าจะใช้งานใช้การก็ใช้เถอะ เพราะว่ามันมีความรู้ มีประสบการณ์ก็ทำ เมื่อมีความรู้ มีโอกาส เราก็ทำเต็มที่ ถ้าเทียบกับคนรุ่นใหม่ก็อยากจะทำนู่นทำนี่ แต่พอเราเป็นอย่างนี้ เราก็จะรู้ว่า เมื่อเรามีโอกาสทำโรงแรมรถไฟหัวหิน เราก็ออกแบบให้ดีที่สุดในแบบนั้น ในเรื่องอย่างนั้น พอมาทำศาลาลูกเสือ โรงลูกเสือเค้าต้องการอีกโจทย์นึง เราก็ทำให้มันดี พอเวลาเป็นผู้ช่วยอธิการบดี เราก็ทำเต็มที่ในบทบาทผู้ช่วย เราอย่าทำในบทบาทคนอื่น พอเป็นคณบดี เราก็เป็นคณบดีก็ทำหน้าที่คณบดี อย่างอื่นเราก็ไม่ยุ่ง จะว่าไปแล้วมันก็กลับไปที่สถาปัตยกรรม เวลาเราทำงานชิ้นนึงมันจะมีโจทย์ที่ชัดเจนและต้องการความรู้ความสามารถของเราให้ดีที่สุด ถ้าเปรียบก็คือ ตอนเป็นหัวหน้าภาคก็เป็นหัวหน้าภาคที่ดีที่สุด ทำงานให้เต็มที่ ดีไม่ดีไม่รู้ ทำให้เต็มที่แต่เราไม่ยุ่งเรื่องอื่น ทีนี้ก็เลยเถิดมา  คือตั้งแต่เป็นอาจารย์ ก็เป็นอาจารย์ที่ทุ่มเท สอนหนังสือสอนปีหนึ่งมาลูกศิษย์ลูกหาทุกคนใครเรียนสถาปัตย์จุฬา ผมว่าร้อยละแปดสิบต้องผ่านมือผม โดนด่า เวลาที่สอนก็จะรู้กันว่าอาจารย์บัณฑิตเป็นยังไง บทบาทเราสอนเราก็เอาตายเลย เอาให้เต็มที่ หน้าที่เราคือทำให้เค้าเข้าใจ  ถ้าวันไหนสอนหนังสือแล้วนักเรียนเข้าใจ เราถือว่าเราสำเร็จ ถ้าสอนแล้วไม่เข้าใจก็ใส่พลังเต็มที่ เพราะฉะนั้นนักเรียนก็จะบอกทำไมแค่นี้ต้องซีเรียสด้วย ผมคิดว่าเมื่อมีโอกาสคำว่าโอกาสคือเวลาและสถานที่ กาละเทศะ เมื่อมีโอกาสได้ทำเราทำเต็มที่ ไม่ว่าจะทำบทบาทไหน จะเป็นอาจารย์ สถาปนิก ผู้บริหาร ผมว่าทั้งหมดมันผูกพันกันหมด ทุกวันนี้ความรู้ ความสามารถที่เราได้มาจากการออกแบบ คุยกับลูกค้า คุยด้านความต้องการประโยชน์ใช้สอย ก็เอามาสอนหนังสือ วิธีการสอนหนังสือเราก็เข้าใจคน เข้าใจนักเรียน

ภารกิจหลักที่ต้องเร่งดำเนินการ
ก่อนเกษียณไม่มีแล้ว อีกไม่นานก็จะหมดวาระ แล้วคิดว่ามันมีอีกเยอะ ที่ต้องทำ ควรจะทำ ต้องแก้ไข ต้องทำให้มันดีขึ้น แต่ว่ามันทำไม่ได้ คล้ายๆเหมือนกับคนเราทุกคนมีความสามารถ เป็นความเชื่อของผมว่าทุกคนมีความสามารถ เป็นความเชื่อส่วนตัว มีทฤษฎีเรียกว่านิเวศวิทยา ในโลกนี้มีสรรพสิ่งมากมาย ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิต มีสัตว์ มีพืชเยอะแยะ แต่ละคนมีบทบาทเป็นของตัวเอง สิงโต หมาป่า กระต่าย แม้แต่ปลวก ก็มีบทบาทของมันและมีหน้าที่ของตัวเอง ซึ่งใครก็ไม่รู้กำหนดไว้ให้และทุกคนต้องทำหน้าที่ตรงนั้นให้ดี ถ้าทุกคนทำให้ดีแล้วทุกคนก็จะอยู่ด้วยสันติภาพ ด้วยสมดุลย์ แต่มันไม่ใช่ว่าจะสมดุลย์ตลอดไปนะ บางทีมันเกิดเภทภัยฝนแล้ง ทุกคนก็ต้องปรับตัว ทุกอย่างในโลกนี้ก็ต้องปรับตัวเข้าสู่สมดุลย์ใหม่ เค้าเรียกว่าสรรพสิ่งในโลกมันมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีใครบอกว่าชั้นไม่เปลี่ยน

ตรงนี้ที่ผมคิดว่ามันเป็นหลักทางนิเวศวิทยาที่ผมใช้ วันนี้เรามีบทบาทเราเป็นสถาปนิกเราต้องทำบทบาทสถาปนิกให้ดีที่สุด แต่เมื่อถึงความจำเป็นที่เราจะเปลี่ยนเราก็พร้อม สอนหนังสือเดี๋ยวนี้สอนมาสามสิบปีมันก็ต้องเปลี่ยน เพราะเด็กมันเปลี่ยนไป วิธีคุยกับเด็กมันก็จะเปลี่ยนไป เมื่อก่อนเวลายกตัวอย่างคนสวย สามสี่ปีที่แล้วคนสวยใคร สมัยนั้นต้องเป็นสาวสาวสาว เดี๋ยวนี้ก็ต้องเปลี่ยนเป็นนาตาลี เกลโบว่า มันต้องเปลี่ยนหมดเพราะฉะนั้นเวลาสอนหนังสือก็ต้องบอกว่า นี่สวยนะ สวยแบบนางงามอภัสรา ตอนนี้อภัสราก็แก่แล้ว สวยยังไง แม้แต่ภรณ์ทิพย์ก็ไม่สวยแล้ว ตอนนี้นาตาลีก็สู้ปุ๊กลุ๊กไม่ได้ มันก็ต้องเปลี่ยน เนื่องจากสภาพทุกอย่างเปลี่ยนไปไม่หยุดนิ่ง ตรงนี้มันสำคัญ คือเป็นสถาปนิกเนี่ยมันก็เปลี่ยนตลอดเวลา สิ่งที่ผมเรียนมาจนเดี๋ยวนี้มันก็ผิด วิชาการก็เปลี่ยน วัสดุมันก็เปลี่ยน โครงสร้างก็เปลี่ยน เพราะฉะนั้นถ้าสถาปนิกยังยึดอยู่ก็จะนิ่งไปหมด ฉะนั้นคนก็จะสงสัยว่าทำไมงานออกแบบผมมันหวือหวามาก ถ้าไปดูงานออกแบบจะเปลี่ยนหมด อย่างเช่นโรงพิมพ์บางกอกโพส์ไม่ใช่หัวหิน ถ้ามาเทียบกับหัวหินซึ่งจะแปลกมากเลย เพราะฉะนั้นตอนที่ฝรั่งเอางานไปลงที่เมืองนอก ต้องน่าทึ่งมาก เพราะมันมีงานเยอะ คือเค้าเอางานไปสามงาน งานแรก บ้านจิมทอมป์สัน บ้านไทย ผมทำวัสดุใหม่ไม่ได้เป็นไม้นะ ดูแล้วเป็นไทยประเพณีเลย แต่ไม่ใช่นะเป็นปูน บ้านเก่าทำด้วยไม้เป็นปูนแต่เลียนแบบ ขณะเดียวกันผมก็ทำโรงพิมพ์บางกอกโพส ซึ่งเป็นโลหะหมดเลย ฟอร์มทันสมัยเหมือนยานอวกาศต่างดาว อันที่สามก็เป็นลูกเสือ ซึ่งเป็นไม้ระแนงที่ดูเข้ากับสภาพแวดล้อม มีเทคเจอร์ สามอันนี้ทำพร้อมกัน

เพราะฉะนั้นหลายคนก็จะสงสัยว่าอาจารย์ทำได้ยังไงเป็นอาจารย์สอนหนังสือ เป็นสถาปนิกแล้วก็เขียนหนังสือ ไม่ค่อยมีใครรู้ ผมใช้นามแฝง เขียนให้มติชนมา 15 ปีแล้ว เค้าก็จะถามว่าทำไมทำหลายอย่าง แต่ผมจะรู้สึกว่าเมื่อเราทำอะไร เราต้องทำให้มันดี เราต้องทำในบทบาทนั้นนะ พอบทบาทเป็นอาจารย์เราก็ลุกขึ้นเป็นอาจารย์ ใส่หัวโขน คราวนี้เป็นอาจารย์ยักษ์ก็จะลุกขึ้นเฆี่ยนตีนักเรียน ถ้าวันนี้สวมหัวโขนเป็นคณบดีก็จะต้องพูดแต่เรื่องบริหาร บทบาทเป็นสถาปนิกเราก็สวมหัวโขนสถาปนิกคิดสร้างสรรค์ ทุกวันนี้ก็ทำพร้อมๆกันแล้วกลับบ้านเขียนหนังสือ เราก็เป็นนักเขียน พอกลับบ้านเราก็คิด มันอาจจะใกล้เคียงกันบ้างการเขียนหนังสือ เหมือนกับการสอนหนังสือ แต่วิธีที่จะใช้ก็ต่างออกไปหรือบางทีเราก็เขียนเรื่องตึกใหม่ หรือวิธีที่เราจะออกแบบ วิธีเขียนหนังสือ มันก็เหมือนออกแบบอาคาร ผมว่าเราเรียนรู้กันได้ ปรับประยุกต์ได้ แต่เราต้องเข้าใจบทบาท  มันกลับไปที่สิ่งแวดล้อมนิเวศวิทยาว่า มนุษย์เป็นสัตว์สิ่งนึงในโลกนี้ มีขีดความสามารถที่อาจจะต่างจากคนอื่น สัตว์ตัวอื่นหรือคนอื่น เรามีขีดความสามาถ เราทำเกินนี้ก็ไม่ได้ อันนี้เป็นอันที่ผมยอมรับ คืออาจจะเก่งอย่างนี้  ไม่เก่งอย่างนี้ที่ ทำตรงนี้ได้ ตรงนี้ไม่ได้ แต่มันไม่จำเป็น คุณเคยคิดดูว่าถ้าโลกนี้ไม่มีปลวกโลกนี้ตาย เพราะว่าปลวกทำลายกิ่งไม้ คุณดูหน้าฝนอย่างนี้ต้นไม่มันโตเร็วมาก ถ้าไม่มีปลวกสมัยโบราณตั้นไม้มันคงล้นโลก เพราะมันไม่มีใครตัด ต้องมีปลวก แมลงวันมันยังมีความหมายเลย ถ้ามันไม่มีแมลงวัน สรรพสิ่งมันไม่ย่อยสลายนะ คุณกินคุณใช้ใบไม้ทับถมไปเนี่ยมันก็จะกองสูงขึ้นเป็นภูเขาเลย เพราะฉะนั้นแม้แต่สัตว์เซลล์เดียว เชื้อโรคที่มันย่อยสลายเป็นดินมันก็มีบทบาท ทีนี้เราต้องรู้ว่าเรามีหน้าที่อะไร ความคิดของผมคิดว่าเราต้องรู้ว่าเรามีหน้าที่อะไร ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ผมว่าเราจบไม่ต้องพูดคนอื่นนะ บางคนอยากให้คนอื่นทำนู่นทำนี่ คิดแต่ให้คนอื่นทำนู่นทำนี่แต่ตังเองไม่ทำ ทีนี้ถ้าผมเป็นครู ผมก็เป็นครูที่ดีที่สุด อยากให้นักเรียนพูดว่า โอ้โหอาจารย์บัณฑิตนั่นมาก เราก็อยากให้ทุกคนคิดถึงเราเวลาเค้าจบไปแล้ว ถ้าเป็นสถาปนิกเราก็จะอยากให้คนที่เป็นเจ้าของงาน หรือเจ้าของอาคารคิดถึงเรา ไม่ใช่ด่าเรา ถ้าเราเป็นผู้บริหาร เราก็อยากให้คนที่อยู่ใต้บังคับบัญชาเรา เค้ารู้ว่าเราเป็นอย่างไร ที่นี่จะรู้หมดว่าเดี๋ยวอาจารย์บัณฑิตก็จะเป็นยักษ์แล้วจะสั่งการอาละวาด แต่ทุกคนจะรู้ที่สั่งการเนี่ยเราช่วยทุกคน เราทำงานได้ เรามีความรู้ช่วยเค้าจัดการได้เราช่วยเค้า แต่แน่ล่ะเวลาทำงานมันทำผิดก็ต้องบอกว่าผิด เหมือนนักเรียนทุกคนก็จะกลัวเรา บอกอาจารย์บัณฑิตนี่ก็กลัวกันนะ มันอยู่ที่ว่าด้วยความคิด ทุกคนมีบทบาท มีขีดความสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ ใครจะบอกว่าเปลี่ยนไม่ได้ไม่จริง นั่นเป็นข้ออ้าง มนุษย์มีขีดจำกัด แต่ก็พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่ความสมบูรณ์ใหม่

วันแรกจนมาถึงวันนี้ อาจารย์มองโลกแล้วมันมีความเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน
เมื่อก่อนโรงเรียนสถาปัตย์ต้องมีโต๊ะเขียนแบบใหญ่ๆ มีเครื่องมือเป็นไม้ทีเพื่อเขียนเส้นขนาน เดี๋ยวนี้นักเรียนใช้โน๊ตบุ๊ค ไม่มีแล้วโต๊ะที่เรียนทำงาน เมื่อก่อนเป็นโต๊ะใหญ่ เดี๋ยวนี้เล็กลง พอผมเป็นคณบดีก็ทำไวไฟ นักเรียนก็จะอยู่ตามต้นไม้ ตามใต้ถุน แล้วก็คีย์เข้าไปสะดวกกว่า สิ่งที่ผมกลัวสิ่งเดียวคือ การไม่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ทุกวันนี้ก็ยังกลัวอยู่ ผมเพิ่งไปนิวยอร์คมา ผมก็รู่ว่าบ้านเมืองมันเปลี่ยนไป ไปคุยกับอาจารย์ด้วยกัน เราต้องมาสัมนากันนะว่า เราไม่รู้ว่าโลกอนาคตจะเป็นอย่างไร เราจะออกแบบอะไร ที่แน่ๆสถาปัตยกรรมก็จะเปลี่ยนไป มันเปลี่ยนอยู่แล้วตามโลก คุณนึกดูสนามบินสุวรรณภูมินี่มันมหัศจรรย์มากนะ เสียดายบ้านเราพูดกันน้อยมาก สุวรรณภูมิเป็นหนึ่งตัวอย่างสถาปัตยกรรมในอนาคต คุณคิดดูพื้นที่ 16 ไร่นะ มีเสาอยู่แปดต้น มหัศจรรย์ไหม 16 ไร่ ผมว่าเอาจุฬาไปอยู่ในนั้นก็คงจะพอ มันมีคนใช้ปีนึง 45 ล้านคน อย่างนี้เราไม่รู้นะ อย่างนี้เราไม่รู้ เราพูดไม่ได้เลยในปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นคนที่เป็นอาชีพอย่างสถาปัตย์เนี่ย เราไม่ได้ออกแบบวันนี้เราต้องเผื่ออนาคต ตอนที่ผมบอกว่าผมออกแบบบิ๊กซี ไม่มีใครรู้ว่าผมออกแบบยังไง ยังเป็นตึกแถวอยู่ จนทุกวันนี้บิ๊กซีก็ยังเป็นแบบที่เราวางไว้ เพียงแต่เปลี่ยนหน้าเปลี่ยนตา หรือตอนที่เราไปดูซากโรงแรมรถไฟ ไม่มีใครรู้ว่ามันเป็นอย่างนี้  ไม่มีใครรู้ว่าจะสวยงามอย่างนี้ มันต้องคิดล่วงหน้า เพราะฉะนั้นอาชีพสถาปัตย์อาจจะได้เปรียบตรงนี้ แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความหวาดกลัวให้ผม ทุกวันนี้ก็ยังกลัวเลยว่าจะเป็นอย่างไร โรงเรียนสถาปัตย์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะโลกมันเปลี่ยนไปเร็วมาก ผมจะบอกนักเรียนโดยตลอดว่าอย่าเป็นเพจเจอร์นะ มันวูบแล้วมันหายไปเลย พีซีที วูบแล้วหายไป ที่อันตรายมากคือว่าโลกมันเปลี่ยนเร็ว ทำให้ทุกคนกลายเป็นโบราณสถานอย่างรวดเร็ว ใครยกโทรศัพท์ พีซีที มาใช้ถือว่าเอาท์ไปเลย เพราะมันเก่า สิ่งที่กลัวก็คือ เราจะตามโลกไม่ทัน ถ้าโลกมันเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นทุกคนก็ต้องเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงทุกคนจะสูญหายไปในระบบ ถูกกินไป ในระบบนิเวศ ถ้าตัวเองปรับตัวไม่ได้ก็จะถูกธรรมชาติกลไกตรงนี้กำจัดออกไปเหมือนไดโนเสาร์ พอโลกมันเปลี่ยน ไดโนเสาร์เป็นสิ่งที่ไม่ยอมรับมันก็ไป ระบบธรรมชาติสอนไว้ เพราะคนที่จะเซอร์ไวท์ได้เนี่ยต้องเป็นคนที่ปรับตัว ฉะนั้นปรับตัวได้นี่ต้องรู้อนาคต

ผมไปนิวยอรค์ก็มองเห็นว่ามันเปลี่ยนไปอย่างนั้นอย่างนี้ มันเปลี่ยนเห็นได้ชัดๆอย่างเช่น สมัยก่อนถ้าเราไปอเมริกา ไปยุโรป สั่งน้ำเปล่า ทุกคนจะงงมาก ไปเมืองนอกกินน้ำเปล่าทุกคนหัวเราะ เดี๋ยวนี้เค้าไม่กินโค้กกัน กินน้ำเปล่า มันเปลี่ยนไปหมด เดี๋ยวนี้น้ำผลไม้มากขึ้น ทุกร้านอาหารฟาดฟู๊ดมีสลัด เมื่อก่อนไม่มี บิ๊กแมคไม่มีผักซักชิ้น เดี๋ยวนี้มีแล้ว เห็นไหมฝรั่งเค้าเปลี่ยนแล้วเค้าเปลี่ยนมากกว่านี้นะ เค้ามีเมนู มีกลไกที่จะผลักดันให้มันเปลี่ยนไป ของเราก็ได้รับผลต่อมาทั้งขายสลัดขายอะไรกันขึ้นมา โลกมันเปลี่ยนไปมากๆ ผมโชคดีที่ได้ไปต่างประเทศเพราะผมต้องไป ไม่อย่างนั้นเราอยู่กันไม่ได้ กลัวตกขบวนรถ เป็นอาจารย์สอนหนังสือ ตอนนี้สอนหนังสือผมก็ใช้มือ เอากล้องนี้ขึ้นมาไม่รู้กดตรงนี้ เมื่อก่อนไม่มีเดี๋ยวนี้ผมถือว่าเอาตึกซิดนีย์โอเปร่านักเรียนรู้จักไหม ไม่รู้จักก็กดตรงนี้ นี่ตึกซิดนีย์โอเปร่า เมื่อก่อนทำได้ที่ไหน เมื่อก่อนต้องถ่ายรูป เดี๋ยวนี้อยากรู้จักไหม เซี่ยงไฮ้โอเปร่ารู้จักรึเปล่า เข้าใจไหมอธิบายได้ง่าย เพราะฉะนั้นวิธีการสอนเนื้อหาที่สอนก็เปลี่ยนไป มันก็ต้องตามให้ทัน เป็นสถาปนิกมันจะเหนื่อยกว่าคนอื่น นอกจากทันแล้วมันต้องล่วงหน้า เพราะฉะนั้นงานที่ทำก็ต้องล่วงหน้าไป เวลาเราเขียนหนังสือมันก็ต้องคิดเรื่องไปข้างหน้า ทำงานที่คณะผมเตรียมคณะไว้ให้เป็นรากฐานในอนาคต จัดระบบการเงินใหม่ จัดระบบการทำงานโครงสร้างคณะใหม่ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ผมเป็นคนยอมรับการเปลี่ยนแปลง อาจจะเป็นเพราะสอนเด็กปีหนึ่งด้วย เด็กปีหนึ่งมันเปลี่ยนทุกปี เดี๋ยวนี้มันเด็กมากเลย อายุ 14 รึเปล่า ที่จริงเค้าก็เท่าเดิมแต่เราแก่ แต่ทำยังไงให้เราเข้าใจ

เวลามีปัญหาใดๆผ่านเข้ามาในชีวิต อาจารย์มีเคล็ดลับและวิธีแก้ไขยังไงให้กับตัวเอง
เมื่อก่อนจะเป็นคนหงุดหงิด ผมไม่ชอบปัญหา โดยส่วนตัวผมไม่ใช่นักแก้ปัญหา ผมเป็นคนคิดล่วงหน้าด้วยราศีเกิด เดือน ปี เพราะฉะนั้นผมก็จะคิดล่วงหน้าถ้าจะเกิดปัญหา ผมคิดล่วงหน้า แล้วถ้ามันเกิดจริงๆผมก็ยอมรับมัน สมมติว่าเราไปตกเครื่องบิน เราต้องรู้ล่วงหน้าว่าเราพลาดแล้วเราก็ไม่โวยวาย แต่ถ้าเป็นอะไรที่ผมไม่รู้ก่อนผมจะเป็นคนที่แย่มาก ผมไม่ใช่นักแก้ปัญหา คือถ้าสมมติเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาผมจะหวาดระแวงมาก ไม่เป็นตัวของตัวเอง แต่ถ้าผมรู้ปัญหา ผมคิดล่วงหน้าจะไม่มีปัญหา อันนี้ทุกคนรู้หมดลูกน้องพรรคพวก เพราะว่าเราออกแบบเรามีปัญหาเราก็จะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เราก็เตรียมตัว แต่พอเกิดปัญหาจริงๆเมื่อก่อนจะไม่มีสติสตังค์โวยวาย เดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่บ้างมีอารมณ์ เราคิดไม่ออกว่าเราจะแก้ปัญหาอะไร ถ้าเราแก้ปัญหาได้เราก็จะผ่าน เราก็สงบลง ทุกวันนี้ก็เรียนรู้มากขึ้น รู้อย่างที่บอกว่าเราต้องรู้เฉพาะเรื่อง เพราะอายุมากขึ้น มันคงมีอีกร้องเรื่องที่เราไม่รู้ แลัวปัญหาที่เราแก้ไม่ได้แต่มีความเชื่อว่ามันจะปรับตัวเข้าด้วยกัน เพราะฉะนั้น บางปัญหาเช่น ปัญหานักเรียนบางคนเราแก้ไม่ได้นะ บางคนเราช่วยได้บางคนเราแก้ไม่ได้ ลงไปทุบตีได้ บางทีมันนอกเหนือการควบคุมของเราก็ต้องปล่อยไป บางปัญหาเราก็แก้ไม่ได้ก็กลับบ้านนอน เราค้นพบว่าบางปัญหามันก็เยียวยาของมันเอง บางปัญหามันก็หายไปเมื่อเวลาเปลี่ยนไป บางปัญหาเมื่อเปลี่ยนสถานที่ก็เปลี่ยน ง่ายๆเช่นผมเป็นคนใจร้อน ไม่อยู่นิ่ง เป็นคนทำหลายอย่าง ทีนี้เวลาไปรอหมอ รอเครื่องบิน ไปรอใคร เป็นโรคหงุดหงิดมากเวลาไปต้องไปรอใคร ตอนหลังก็มีสองอย่าง คิดซะก่อนว่าเราต้องรอเราก็ทำใจ ตอนหลังเราก็เอางานไปทำ เชื่อไหม การเป็นนักเขียนขึ้นมาเพราะต้องรอ ถ้าเรารอโน่นนี่แล้วมันก็จะใช้เวลาตรงนั้นคิด เขียน เล่นเกม มันก็ไม่มีการรอ เพราะมันกำลังสนุก เมื่อก่อนเคยมีปัญหาเครียด แล้วนอนไม่หลับผมก็ลุกมาเขียนหนังสือ เมื่อก่อนลุกมาดูทีวีก็สนุกมากเลยตาค้าง อ่านหนังสือก็อีหรอบเดียวกันต้องอ่านให้จบ ตอนหลังเขียนหนังสือยิ่งกว่าสมาธิอีกเพราะเราต้องรวมทุกอย่างจากที่เราว้าวุน สมมติเราจะเขียนเรื่องอะไรซักเรื่อง เราก็จะรวบรวมสมาธิในการเขียน ผมจะเขียนตอนนอนไม่หลับ มันฟุ้งซ่านมากเราก็จะตบตัวเรา จนทุกอย่างมันรวมที่ปากกากับคำที่เราเขียน  มันเลยเป็นสมาธิ บางทีเราเขียนได้ซักห้าประโยค หลับเลย ยิ่งถ้ามันมีความซับซ้อนยอกย้อน เราก็พยายามจะคิดจะทำยังไงจะอธิบายจะทำยังไง เพราะฉะนั้นข้างเตียงก็จะมีกระดาษอยู่ ถ้านอนไม่หลับ ช่วงนึงมีปัญหาเครียดในหลายๆเรื่องเข้ามา ตอนนั้นเราก็ยังปรับตัวปรับใจไม่ได้แล้วเราพยายามคิดว่ามันถูกทำไมมันผิด จริงๆมันผิดสถานที่ ผิดคน ผิดเวลา ตอนนั้นเราไม่เข้าใจผมจะหงุดหงิดมากเลยใช้การเขียนหนังสือ โกรธใครเราก็ระบายในนั้น ให้มันตายไปในตัวหนังสือ สนุกมาก ถ้าผมไม่ชอบคุณผมก็เขียนด่าคุณ บางทีก็ใส่ชื่อคน  บางทีก็ดัดแปลงนิดหน่อย มันก็ดีนะ มันก็มีบางช่วงเวลาที่เราเกลียดเราอยากให้ไอ้นี่มันตาย มันก็ต้องตายเลย ขับรถชน เขียนให้ตัวละครตายได้ ผมว่ามันช่วยนะ ตอนหลังก็ทำให้เรานอนหลับ หายเบื่อ ผมจะมีวิธีเขียนไม่เหมือนคนอื่น คนอื่นเค้าเก่งผมไม่เก่งขนาดนั้น คือจะอ่านหนังสือเยอะๆอ่านแล้วเหมือนสถาปนิกคือรวบรวมข้อมูล แล้วผมจะคิด ถ้าเป็นสถาปัตย์เจ้าของเค้าจะเอาอะไรยังไง ข้อมูลเยอะแยะหมดแล้วเอาไปประมวล  ในนั้นก็จะมีข้อมูลเก่า รูปตึก โครงสร้าง วัสดุ ข้อมูลทุกอย่างอยู่ที่เราอ่านมาแล้วรวบรวม อยู่ในไบท์ อยู่ในเมมโมรี่เรา แต่หน้าที่เราคือเราต้องผสมผสานออกมาจน นี่เป็นตึกใช่ไหม โครงสร้างเป็นอย่างนี้ มันจะออกมาพร้อมกัน เขียนหนังสือก็คล้ายๆกันคือจะออกมาจากข้อมูล ข้อมูลเรามีเยอะมาก บางทีเรื่องที่เราอ่านแล้ว เรากระทบใจมากเลย อ่านแล้วช็อค เป็นนักเขียนชาวเยอรมันกำลังพูดถึงเรื่องอนาคต เค้าเขียนดีมาก เค้าเขียนว่าศตวรรษที่แล้วเป็นศตวรรษแห่งอีทเตอร์ออล คุณต้องเลือกผู้ชายหรือผู้หญิง คุณต้องเลือกว่าจะอย่างนั้นหรืออย่างนี้ แต่ศตวรรษต่อไปเป็นเรื่องของแฮร์ เมื่อก่อนผู้หญิงหรือผู้ชายเราต้องเลือก แต่เดี๋ยวนี้ผู้หญิงผู้ชายอาจจะเป็นคนเดียวกันก็ได้ ผมว่ามันสำคัญนะ นี่ผมยกตัวอย่าง จริงๆเค้ามีตัวอย่างหลายอย่าง ตัวอย่างนี้มันเข้าใจง่ายดี ผมรู้สึกอึ้งไปเลยว่าคนนี้เค้าอธิบายแปลกดี แล้วเค้าพูดเรื่องไต ผมเอามาเขียนเรื่องสั้น เค้าพูดว่า หมอเปลี่ยนถ่ายอวัยวะได้เนี่ย มันก็จะมีคนสองพวก พวกหนึ่งคือคนที่ต้องการไตไปใส่ให้รอด อีกพวกนึงคือพวกขายไตเพื่ออยู่รอด ถ้าอ่านหนังสือ เอ็นจีโอ เราจะรู้สึกว่าพวกนี้เป็นพวกถูกกระทำ แต่มันไม่ใช่ พวกนี้ทั้งสองคนเนี่ยกำลังต้องการความอยู่รอด ถ้าไม่ขายก็ไม่อยู่รอดในโลก คนนี้ถ้าไม่ได้ไตก็ไม่อยู่รอด ดังนั้นความอยู่รอดตรงนี้ มันเป็น ลอฟ เซอร์ไวเวิล พูดดีมากเลยนะมันสะกิดใจผม เมื่อก่อนเราอ่านหนังสือพวกนี้เป็นพวกขายไตเป็นพวกลักลอบขายไตเอไตาชาวบ้านมา พวกนี้เป็นพวกทุนนิยมซื้อขายไต แต่นี่เค้ามองอีกมิติ เค้ามองใหม่ ผมก็เลยว่ามันต้องอยู่ด้วยกันได้ อ่านจบไปแล้วชอบมาก ตอนนี้อ่านละเอียดเพราะจะแปลให้นักเรียนแปลได้พารากราฟนึงเกิดอารมณ์ต้องเขียนเรื่องสั้นแล้ว เลยเก็บไว้ไปเดินคิดๆแล้วก็เขียน ฉะนั้นเวลาที่ทำงานผมจะร่างตอนกลางคืน หยาบๆ  ผมก็จะมีเลขาเค้าก็จะพิมพ์ลายมือผม เสร็จเรียบร้อย มันคล้ายๆเฟรมความคิดผมนิ่ง แล้วผมก็จะเอามาแก้ให้สละสลวย ถ้าเป็นเรื่องยากๆแก้กันยี่สิบครั้งถ้าเป็นบทความทั่วไปง่ายๆสามครั้งก็จบแล้ว ตอนที่แก้ผมทำระหว่างรอหมอ รอเครื่องบิน แม้แต่รอประชุม คนก็หาว่าบ้านะ คือประชุมไปด้วยเขียนเรื่องไปด้วย แต่มันช่วยได้

อาจารย์คิดว่าอะไรที่ทำให้ในวันนี้อาจารย์ประสบความสำเร็จ
ไม่ใช่ประสบความสำเร็จนะ เพียงแต่ว่าผมทำงานที่ตัวเองได้มีโอกาสทำ แล้วทำให้มันดีที่สุด ขึ้นอยู่กับว่าเราตีความว่าความสำเร็จคืออะไร ถ้าตีความความสำเร็จของผมก็คือ เมื่อมีโอกาสได้ทำอะไร ผมทำให้มันดีที่สุดแล้วจบ ความสำเร็จของผมคือ ทำตามโอกาสที่มีแล้วทำให้มันดีที่สุด นั่นคือความสำเร็จของผม อาจไม่ใช่ของคนอื่นก็ได้ อย่างที่บอกพอเขียนเรื่องสั้น ด้วยความที่มันอาจจะเป็นภาษาที่แปลก วิธีคิดที่แปลก มันเข้ารอบซีไรต์เนี่ย ซึ่งเป็นอะไรที่น่าจะพอใจอย่างหนึ่ง ไม่ต้องได้ซีไรต์นะแต่ผมคิดว่านี่เป็นความสำเร็จของผม พอผมสอนหนังสือ ทำงานวิจัย ผมก็ได้เป็นศาสตราจารย์ ผมว่าต้องมีคนเห็น เมื่อเราเป็นอาจารย์ เราเขียนตำรา เขียนงานวิจัยออกมาแล้วก็มีคนให้เราเป็นศาสตราจารย์  มันก็เหมือนได้เข้ารอบซีไรต์ เมื่อเราออกแบบแล้วมีคนให้รางวัลเรา ถ้าเราออกแบบดีแล้วมีคนไปเห็น แล้วคนให้เราออกแบบต่ออีกผมว่านั่นเป็นความสำเร็จแล้วนะ แต่นึกดูถ้าเราออกแบบเสร็จแล้วเจ้าของด่าเราทุกวันเนี่ย เพราะฉะนั้นผมก็จะบอกนักเรียนทุกวันตลอดเวลาว่า ความสำเร็จของสถาปนิกคนเค้าหันหลับมาให้เราทำซ้ำ บางงานเราทำไปตั้งห้าครั้งอเจ้าของให้เราแก้ห้าครั้ง เราต้องถือว่าสำเร็จเพราะเค้ากลับมานะ อย่างโรงแรมรถไฟหัวหิน ต่อจนไม่รู้จะต่อยังไง เดี๋ยวก็ต่อ เดี๋ยวก็ต่อ คือเค้าให้เรากลับไปทำ กลับไปทำตลอด ถ้าไม่ดีเค้าคงไม่ให้เรากลับไปทำ ทุกวันนี้ก็จะมีหน้าที่ไปทำศูนย์การค้าแอร์พอร์ทเชียงใหม่ เซ็นทรัลไปยึดมาตอนปี 40 ฟองสบู่แตก เค้าให้เรารีโนเวท สมัยนั้นก็รีโนเวทเล็กๆ จะเจ๊งไม่เจ๊งไม่รู้นะ พอทำดีก็ต่อๆ ต่ออยู่นั่นแหล่ะ ผมว่าน่าจะเป็นความสำเร็จอย่างนึง ความสำเร็จไม่ใช่ว่ามีชื่อเสียงนะ ถ้าผมเขียนหนังสือแล้วมีคนยอมรับ มหิดลเค้าก็ยังให้ลงทุกอาทิตย์แต่ไม่รู้ว่ามีคนอ่านรึเปล่า เราไม่รู้ ก็มีคนบอกว่าอ่านๆอย่างเนี้ย ขนาดเค้ายังให้เราลงก็ต้องถือว่าเราเป็นที่ยอมรับ ทุกวันนี้ก้ยังมีคนให้ออกแบบก็ต้องถือว่ายอมรับ เป็นอาจารย์ นักเรียนก็ยังกลัวอยู่ เป็นผู้บริหารก็ทำงานให้ทุกคน ผมว่าความสำเร็จมันคือไม่ใช่เหรียญทองโอลิมปิก ผมเป็นคนที่ไม่ต้องได้ออสการ์ไม่ได้มุ่งหวังขนาดนั้น ผมเป็นคนที่ทำให้ดีที่สุดในตอนนั้น  ถ้าเราทำดีที่สุดในเวลานั้นในสถานที่นั้นในบทบาทนั้น ผมว่าพอแล้ว

อาจารย์ทำงานเยอะมาก อาจารย์จัดสรรเวลาดูแลตัวเอง และครอบครัวยังไง
คนไม่เข้าใจว่าผมเขียนหนังสือตอนไหน ผมเขียนในห้องประชุมบ้าง ในสนามบินบ้าง  เป็นอาจารย์ต้องอ่านหนังสือ ต้องค้นคว้า อย่างเวลาผมไปอเมริกา ต้องติดต่อราชการ คนอื่นเค้าติดต่อราชการแล้วก็ไปช๊อปปิ้งกัน ผมช๊อปปิ้งผมก็มาเขียนหนังสือได้ ผมเห็นบ้านเมืองก็เอามาเขียนหนังสือ บางทีใบที่เค้าแจกไว้ในห้องโรงแรมเรามาอ่านเป็นความรู้ เพื่อที่จะเอามาสอนหนังสือเด็ก บางอันกลายเป็นบทความของเรา ผมไปประชุมสัมนาวิชาการที่เวียงจันทน์ ผมกลับมาก็เขียนเรื่องโรงแรมที่เวียงจันทน์  ผมว่าเราไปแยกมันเองต่างหากว่า กิน นอน ทำงาน เดินทาง ผมว่าเราทำพร้อมกันได้ บางทีมันเสริมกันอย่าง ไปหาหมอก็นั่งทำ ผมรอเครื่องบินดีเลย์ชั่วโมงครึ่ง ผมไปถึงร้านกาแฟก็นั่งรอเวลาเลยงานเสร็จ ถ้าเครื่องบินไม่ดีเลย์งานก็ไม่เสร็จ เพราะฉะนั้นนอนไม่หลับก็มาเขียนหนังสือหรือวันนี้ว่าง ไม่รู้จะทำอะไรก็อ่านหนังสือ อ่านหนังสือก็เป็นข้อมูล คือหยิบมาเล่มนึง มันก็จะหลากหลาย ผมก็จะอ่าน ประวัติศาสตร์ ประวัติคณะ หนังสือน้องใหม่ปี 96 ผมเพิ่งเกิดได้ขวบนึง น้องใหม่สถาปัตย์ อ่านแล้วก็ตื่นเต้นดี เดี๋ยวเราก็เกิดแรงบันดาลใจ เอาไปทำบริหารได้ ผมไม่ได้แยกว่าคืออะไร เลยไม่รู้สึกว่าชีวิตมันไม่มีเวลา แต่บางคนไม่ชอบนะ ลูกน้องจะบอกว่าอาจารย์จะพาไปเที่ยวหรือไปทำงาน ผมมองว่ามันก็เหมือนกัน มันแยกไม่ออก ลูกน้องบางทีพาไปกินข้าว ดูไปดูมาถามว่าอาจารย์จะให้ดูอะไร มันรู้แล้วว่าผมกำลังจะสั่งให้ดูงานอะไร ศึกษาอะไร ไปเที่ยวก็ทำทุกอย่าง ไปศูนย์การค้าก็ต้องซื้อของ ผมก็ซื้อของเหมือนคนอื่นเค้า ถามว่าดูศูนย์การค้าอะไร จำมาออกแบบ เราต้องรู้เทรน อ่านหนังสือ คือทุกอย่างถ้าเราไปแยกส่วนกัน มันก็กลายเป็นส่วนๆ ถ้าเราทำหมด มันไม่มีอะไร ตั้งแต่ตื่นเช้ามา เอาง่ายๆอ่านหนังสือกรุงเทพธุรกิจสี่หน้าที่เป็นหุ้น ผมก็เล่นหุ้นจะได้อินกับมัน เวลาอ่านหนังสือ จะรู้สึกว่าซื้อมาแล้วไม่คุ้ม แล้วก็เปิดดูวันนี้หุ้นก็ดู เราก็เล่นไป เล่นไม่ได้แบบจะรู้สึกว่าหุ้นดีหรือไม่ดี วันนี้เป็นยังไงหุ้นขึ้นตัวแดง ตัวอะไรก็จะรู้ทันที  ถามว่าเอาเวลาที่ไหนไปเล่นหุ้น ตอนเช้าตื่นนอนก็อ่านหนังสืออยู่แล้วตื่น กินข้าว ทานอาหารเช้า อ่านหนังสือ ครึ่งชั่วโมงซึ่งก็ทำทุกอย่าง ทำทั้งตัดข่าวมาให้เค้า มีคณะสถาปัตย์ มีลูกศิษย์อย่างที่คุณเห็น ก็จะมาติดตามบอร์ดที่คุณเห็น  เป็นคนอ่านเรื่องหุ้น เล่นหุ้น พอกินข้าวเช้าเสร็จขับรถ พอดีผมมีคนขับรถให้ เพราะขับรถผมคิดสามอย่าง  เราก็เล่นโทรศัพท์ไปบอกว่าวันนี้เราจะขายหุ้นนะ ก็จบแล้ว ตอนเย็นเค้าก็จะเอ็มมาว่าเค้าขายหุ้นได้เท่าไหร่ ผมไม่เห็นว่ามันจะเป็นปัญหา ซื้อขายทุกวัน แล้วถามว่าอาจารย์เอาเวลาที่ไหน ไม่เห็นมันเสียเวลาเลย แล้วอยู่บนรถคุณทำอะไร เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นคำเดียวกับที่ใช้อธิบายเด็กผมสอนเด็กมาตลอด

คนเราเกิดมาพระเจ้าไม่ยุติธรรมเลย บางคนสวยบางคนไม่สวย บางคนหน้าตาดี บางคนหน้าตาเป็นณเดชก็ไม่ได้ แต่พระเจ้าให้สิ่งหนึ่งที่เท่ากัน ทุกคนได้เท่ากัน พระเจ้าให้มาเท่ากันหมด คือเวลา 24  ชั่วโมง เพราะฉะนั้นถ้าเราทำ 24 ชั่วโมงเราให้ดีที่สุด ณเดชก็ทำได้ 24 ชั่วโมง ไม่มี 25 ชั่วโมง ต่อให้หล่อกว่าผมก็มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน เพราะฉะนั้นถ้านอนไม่หลับคืออะไร นอนไม่หลับผมก็อ่านหนังสือ  อ่านหนังสือเดี๋ยวนี้ไม่อ่าน อ่านแล้วมันติดลม ไปกินข้าวกับเพื่อน เค้าให้ผม ทีซีที ไปวาย ไอ เลิฟ ยู ผมก็กลับมาเขียนเรื่อง เขียนบทความ เค้าก็ถามว่าตกลงไปกินเหล้า ไปกินข้าวกับเพื่อนเหรอ ไปดู ไปคุยกันเรียบร้อยก็มาอ่านหนังสือได้ ว่า วาย ไอ เลิฟ ยู เค้าออกแบบร้านยังไงถึงได้ดัง เพราะเป็นเจ้าของเดียวกับ รูท เจ็ดสิบเจ็ด  เป็นพวกคนทำงาน อาหารต่างกัน เหล้าก็ต่าง ดนตรีก็ต่าง ราคาก็ต่างกัน สาวๆก็ต่างกัน นี่คือการออกแบบ มันการออกแบบ สอนนักเรียนได้ ผมสังเกตุร้านเอามาเขียนบทความได้ แล้ว ซีดีซี เนี่ยผมว่าศูนย์อาหารจะเจริญกว่าร้านวัสดุก่อสร้าง ตอนนี้วัสดุก่อสร้างขายไม่ได้เลย แต่ร้านอาหารขายได้ทุกร้าน ผมเขียนไปแล้วว่ามันจะประสบความสำเร็จในเรื่องร้านอาหารมากกว่า เพราะฉะนั้นถามว่าทำอะไร มันไม่เห็นจะเป็นภาระเลย คือเราไปแยกส่วน ผมเคยบอกนักเรียนว่า เวลาเครียดตอนสอนหนังสือ มีปัญหาอะไรไปออกแบบ คือการพักผ่อนของผม แต่ถ้าเราออกแบบแล้วมีปัญหา เจ้าของอย่างนั้นอย่างนี้ การมาสอนหนังสือเป็นความสุขของเรา ได้รีแล็กซ์ ถ้าสอนหนังสือมันมีปัญหา การเขียนหนังสือ การอ่านหนังสือของผมเป็นความสุข หนังสือทั้งหมดที่เป็นตำราไปสอนนักเรียน เล่าให้คุณฟังว่าอ่านปรัชญาเยอรมัน มันอยู่ในวารสารสถาปัตย์ แต่พูดว่าปรัชญาของโลก เราก็ดูหนังสือสถาปัตย์ มันเหมือนพวกคุณอ่านหนังสือแฟชั่นนะแหล่ะ พวกตัดเสื้อผ้าต้องดูแฟชั่นใช่ไหม เราก็ต้องซื้อหนังสือแฟชั่นมาอ่าน อ่านเสร็จแล้วดูตึก มันมีบทความให้อ่าน มันไม่เห็นจะแยกจากกัน ผมว่าเวลาชีวิตผมรวมกันทั้งหมด รวมทุกอย่างเข้าด้วยกันให้มันคลุกเคล้าเหมือนสลัด แต่เวลาเราทำอะไรเราต้องทำให้ถูกบทบาทตรงนั้น เราต้องดู คือถ้าเรารวมทุกอย่างแล้วมันมั่วหมด มันก็และ แต่ถ้าถึงบทบาทอะไรผมทำให้มันดี ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในเวลานั้น สถานที่นั้น และพอใจ แต่เราไม่มั่วนะ ถามว่าสอนหนังสือบางทีมันก็มีทุกข์มันยาก มันมีปัญหา แต่บางทีผมก็มีความสุขมันอยู่ที่เรา ผมบอกนักเรียนว่าถ้าเป็นนักร้อง การร้องเพลงเนี่ยบางคนออกไปร้องกลายเป็นความอับอายของชีวิต บางคนร้องเพลงต้องบริจาคเงินเป็นล้านเพื่อให้คนฟังออกทีวี บางคนต้องเสียเงินสองร้อยเพื่อออกไปร้องคาราโอเกะ บางคนร้องแล้วได้สตางค์ ถามว่าการร้องเพลงคืออะไร ดังนั้นการดำรงชีวิตของคนบางคนเนี่ยอาจจะเสียเงิน แต่การดำรงชีวิตของบางคนอาจจะได้เงิน ทั้งที่ดำรงชีวิตเหมือนกัน เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่าถ้าคุณร้องเพลงแล้วมันเป็นความทุกข์อย่าร้องเลย เพราะคนอีกมากมายที่เค้าร้องแล้วเป็นความสุข แต่หลายๆคนเค้าร้องคือการทำงาน แล้วถ้าคุณทำงานร้องเพลงแล้วทุกข์อย่าทำ คุณไปหาอย่างอื่นทำเสีย ผมบอกได้เลยว่าผมไม่เคยมีความทุกข์กับการสอนหนังสือ ไม่มีความทุกข์กับการออกแบบเลย แต่มันมีบางช่วงที่เราไม่สนุก ผมเขียนหนังสือก็มีบางช่วงที่เขียนไม่ออกจำเป็นต้องส่งมันก็เหนื่อย  แต่เราไม่ถือเป็นความทุกข์ ถ้าทุกข์ผมไม่เขียน แต่ในเมื่อทุกอย่างมันเป็นความสุข ความสนุกในบางเวลา เราเป็นคนหา เราเป็นคนใส่มันเลือกมันในสถานที่ๆเหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม มันก็จะกลายเป็นบวกหมดเลย มันไม่ได้คิดบวกนะ มันมีบวกมีลบอยู เราต้องยอมรับ ผมพูดได้เลยว่า ปลวกมันก็มีประโยชน์กับโลก ของทุกอย่างไม่มีผิดถูกมันผิดถูกบางเวลา ผมจึงบอกนักเรียนนะว่าข้าวหอมมะลิ คุณทิ้งไว้ค้างคืนมันเป็นข้าวบูด มันหอมที่ไหน มันเป็นข้าวเน่าแล้วคืนเดียว ถ้าคุณไปช้าที่สนามบิน ช้าสิบยี่สิบนาทีคุณตกเครื่องบิน แต่ถ้าคุณหยุดหัวใจไว้หนึ่งนาทีคุณตาย เพราะฉะนั้น เวลา โอกาสมันเป็นเรื่องเดียวกัน  แต่เราต้องเต็มที่กับมัน แล้วเราเลือกมัน โลกมันซับซ้อนก็จริงแต่เราต้องมองแบบแยกส่วน แต่เราดำรงชีวิตแบบรวม เราเพียงแต่ต้องเข้าใจเท่านั้นเอง บางคนบอกว่าทำงานเป็นคณบดีเหนื่อย ก็เหนื่อย แต่ในบทบาทวันนี้มันเหนื่อย เราก็มีสิทธิ์ที่จะพักผ่อน จะหาทางเลือก ปัญหาบางปัญหามันแก้ไม่ได้เลย อาจต้องทิ้งไว้ก่อน แต่อันไหนเราแก้ได้แก้ ถ้ามันปวดหัวเราก็เขียนหนังสือ สอนหนังสือ ออกแบบมีตั้งเยอะแยะ คุณเป็นคนหนึ่งที่คุณเลือกได้ตั้งเยอะแยะเลยที่จะทำ คุณบอกว่าคุณเบื่อ ออกไปทุ่งนา คุณอาจจะกลับมาได้อะไรดีๆก็ได้ แต่ว่าเวลาตรงนั้นถ้าเป็นความสุขทำ ทำด้วยความตั้งใจ ผมว่ามีวิธีตั้งเยอะแยะ

นี่เป็นเพียงบางส่วนในการประสบความสำเร็จบนเส้นทางที่เขาเลือกเท่านั้น ซึ่งเขายังยืนยันอยู่เสมอว่า เมื่อได้รับโอกาสในชีวิต จงทำมันออกมาอย่างเต็มที่พร้อมกับใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด คุณก็จะสามารถเป็นอีกคนหนึ่งที่ประสบความความสำเร็จในชีวิต และมีความสุขได้ไม่ยากเย็นนัก

 

You may also like...