โขนโรงใน

ในเวลาที่มีการแสดง โขนหน้าจอนั้น ในพระราชวัง ก็มีการแสดงละคร ในอยู่ก่อน แล้ว เมื่อราษฎร สามารถแสดง ละครในได้ โขนจึงรับเอา ศิลปะการแสดง แบบละครในเข้ามา แสดงในโขนด้วย เช่น นำการขับร้อง เพลง ตามแบบละครมาขับร้อง แทรกไปกับการพากย์เจรจา

นอกจากนี้ ยังมีการแสดง แบบจับระบำ รำฟ้อน เช่นเดียวกับ ละครใน เมื่อโขนหน้าจอ รับเอาศิลปะ การแสดงแบบละครใน เข้ามาผสมด้วย เช่นนี้ จึงเรียกว่า โขนโรงใน ส่วนโขนนั่งราว ที่มีมาแต่เดิม ก็กำหนดชื่อใหม่ว่า โขนโรงนอก

โขนโรงใน คงจะมีมาตั้งแต่ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามหลักฐาน เท่าที่ค้นพบปรากฏว่า ในสมัย กรุงธนบุรี มีการแสดงโขนโรงใน แสดงว่าโขนโรงใน จะต้องมีสืบเนื่อง มาจาก สมัยกรุงศรีอยุธยา มิใช่ เป็นโขนที่เกิดขึ้นใหม่ ในสมัยกรุงธนบุรีอย่างแน่นอน

โขนโรงใน ตามแบบแผนการแสดงที่แท้จริง จะต้องมีโรงสำหรับแสดง และมีฉากหลังเป็นม่านอย่างละครใน การแสดงมีพากย์ เจรจาอย่างโขน และมีการขับร้องอย่างละครใน มีเตียงสำหรับ ตัวแสดง นั่งอย่างละครใน เวลาร้องเพลง และปี่พาทย์บรรเลงรับ จะต้องตีกรับเป็นจังหวะอย่างละครในถึงแม้ เพลงร้อง ที่ไม่ต้องใช้ปี่พาทย์รับ เช่น เพลงร่าย ก็ต้องตีกรับเป็นจังหวะด้วย ปี่พาทย์ที่เคยบรรเลง ประกอบการแสดงโขนหน้าจอ ใช้ปี่กลางที่มีเสียงสูง เมื่อเกิดมีการแสดงโขน โรงในขึ้น ต้นเสียง และลูกคู่ จะต้องร้องเพลง อย่างละครใน การบรรเลงทางกลาง มีเสียงสูงเกินไป ไม่สะดวก แก่การขับร้อง จึงต้องลดเสียงบรรเลง มาเป็นทางใน อย่างละครใน ปี่กลางก็ เปลี่ยนมาเป็น ปี่ใน ตามเสียงที่ลดลงมา วงปี่พาทย์ที่บรรเลง ประกอบการแสดงโขนโรงใน ตั้งแต ่สมัยกรุงศรีอยุธยา มาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตน-โกสินทร์ เป็นวงปี่พาทย์ เครื่องห้า และในสมัยรัชกาลที่ ๓ นั้น วงปี่พาทย์ ก็เพิ่มเติมเครื่องดนตรี ขึ้นเป็นวงเครื่องคู่ ครั้นมาถึง รัชกาล ที่ ๔ วงปี่พาทย์ ก็วิวัฒนาการขึ้น เป็นวงเครื่องใหญ่ ประเพณีการใช้ ปี่พาทย์บรรเลง ก็ยังคง มีอยู่ ๒ วง ตามแบบการแสดงโขนนั่งราว แต่มิได้ยกร้านที่ตั้ง วงปี่พาทย์ ให้สูงขึ้นเหมือนโขนนั่ง ราวคงตั้ง อยู่กับพื้นเสมอ กับที่แสดง ส่วนการผลัดกันบรรเลง ก็ยังคงเป็นไปตามเดิม ต่อมาในระยะหลัง วงปี่พาทย์ จึงลดลงมา เหลือเพียงวงเดียว แต่จะเป็นวงปี่พาทย์ชนิดใด ก็ขึ้นอยู่กับฐานะของงาน ถ้าเป็นการแสดง ในโรงก็ใช้ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ หากเป็นการแสดงแบบหน้าจอ ซึ่งการแสดงโขนหน้าจอ ในปัจจุบัน ก็นำเอาศิลปะ การแสดง ของโขนไปแสดง ก็จะใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่

สำหรับบทพากย์เจรจา ที่ใช้ในการแสดงโขนโรงในนั้น คนพากย์จะด้นเอาเองบ้าง ท่องจำจาก บทพากย์ และบทเจรจา กระทู้ของเก่าบ้าง ส่วนบทร้องนั้น คนพากย์ จะจดจำนำมาจากบทพระราชนิพนธ์ ในรัชกาล ที่ ๑ บ้าง รัชกาลที่ ๒ หรือรัชกาลที่ ๖ บ้าง เมื่อถึงตอนที่ จะต้องมีการ ร้องเพลงประกอบ คนพากย์ก็จะ บอกบทด้วยเสียงดัง ๆ เพื่อให้นักร้อง ๆ ตามบทที่บอก และให้ตัวโขนได้ยินบทที่นักร้อง จะร้องให้รำด้วย จะได้คิดท่ารำ ตามบทร้องได้อย่างถูกต้อง ในปัจจุบันนี้ บางครั้งการแสดงโขน หน้าจอแบบโขนโรงใน มีบทสำหรับ ประกอบการการแสดงพร้อม คนพากย์เจรจาจะพากย์ และเจรจาไปตามบทที่แต่งไว้เวลา นักร้องจะขับร้อง ก็ไม่ต้องบอกบทเหมือนในสมัยก่อน

ที่มา : สำนักการสังคีต

You may also like...