วัฒนธรรมทางสายตาในชีวิตประจำวัน

วัฒนธรรมภาพ – สิ่งที่เราพบเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน มักมีเรื่องราวอยู่เบื้องหลังเสมอ ทั้งความเหลื่อมล้ำทางด้านเชื้อชาติ สีผิว และเพศสภาพ

วัฒนธรรมทางสายตาในชีวิตประจำวัน
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ชีวิตประจำวันถือว่าเป็นภูมิประเทศที่สำคัญสำหรับวัฒนธรรมทางสายตา เท่าๆกันกับที่มันเป็นพื้นที่หลักสำหรับการศึกษาทางด้านวัฒนธรรม(cultural studies). อันนี้เป็นตัวแทนทางเลือกในเชิงจริยธรรมอันหนึ่งที่จะให้ความเอาใจใส่ต่อวัฒนธรรมของมวลชนส่วนใหญ่ มากกว่าปฏิบัติการทั้งหลายของพวกชนชั้นสูงที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยพวกนั้น

สำหรับชีวิตประจำวัน มันคือประสบการณ์มวลชนของความเป็นสมัยใหม่ ชีวิตประจำวันไม่จำเป็นต้องหมายถึงความซ้ำซากจำเจ หรือไม่มีนัยสำคัญ ในทางกลับกัน ดังที่ Henri Lefebvre ให้เหตุผลในงานซึ่งค่อนข้างมีอิทธิพลของเขาเรื่อง Everyday life in the modern world, ชีวิตประจำวันคือสถานที่หลักที่สำคัญของการปฏิสัมพัทธ์กันระหว่าง”ชีวิตประจำวัน”กับ”สมัยใหม่”: ทั้งสองเชื่อมโยงกัน, เป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวพันซึ่งไม่จำต้องเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ กล่าวคือ ชีวิตประจำวันและความเป็นสมัยใหม่ ด้านหนึ่งคือมาลัยคล้องศีรษะ ส่วนอีกด้านหนึ่งถูกซ่อนเร้น, ด้านหนึ่งเป็นเรื่องของการเปิดเผย และด้านหนึ่งกลับได้รับการปิดบัง (Lefebvre 1971: 24)

คำศัพท์ต่างๆของ Lefebvre เสนอว่า มันเป็นความสัมพันธ์กันอันหนึ่งระหว่าง”การเห็น”และ”การมองไม่เห็น” เป็นแก่นแกนของชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของภาพ(visual)ที่เราได้พบเห็นกันโดยทั่วไป ชีวิตประจำวันจึงเป็นเรื่องของวัฒนธรรมทางสายตา

ก่อนปรากฎการณ์อันโดดเด่นของภาพในชีวิตประจำวัน มันไม่เพียงเป็นเพราะความบังเอิญ แต่ค่อนข้างจะเป็นผลที่ตามมาเกี่ยวกับความเข้มข้นของลัทธิทุนนิยมสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักสถานการณ์นิยม Guy Debord เรียกว่า “สังคมเกี่ยวกับภาพอันน่าตื่นเต้น”(society of the spectacle) ในช่วงขณะดังกล่าว Debord ได้ให้เหตุผลว่า “ภาพอันน่าตื่นเต้นเป็นฐานทุนของการสะสมขึ้นมาในระดับหนึ่ง ซึ่งได้กลายเป็นภาพๆหนึ่งขึ้นมา”(Debord 1977: 32)

ในความเรียงต่างๆที่บรรจุอยู่ในส่วนที่สองของหนังสือเล่มนี้ (หมายเหตุ : เรื่องที่กำลังอ่านอยู่นี้ เป็นคำนำที่เสนอภาพรวมของเนื้อหาในส่วนที่สองของหนังสือ Visual Culture Reader ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา) ได้แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมทางสายตาได้ตัดผ่านเรื่องทางการค้า, กฎหมาย, การศึกษา, เทคโนโลยี และสงคราม ซึ่งได้ก่อรูปความรู้สึกที่อึดอัดขึ้นมาอย่างไร เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว. พวกเขาแสวงหาประเด็นต่างๆเกี่ยวกับการต่อต้านในชีวิตประจำวัน กับสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถหยุดยั้งได้ของพลังอำนาจอันมหาศาลของลัทธิทุนนิยมโลก

Marshall McLuhan กลายเป็นศาสดาพยากรณ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับโลกในยุคสื่อสาร ดังที่ได้รับการอ้างถึงอยู่เสมอในนิตยสาร Wired ดังเช่นที่เขาได้รับการพูดถึงในด้านการสื่อสารต่างๆและการศึกษาเกี่ยวกับสื่อ ในผลงานที่คัดมาจากงานนวัตกรรมที่มีลักษณะบุกเบิกของเขาในปี ค.ศ.1951 เรื่อง The Mechanical Bride: Folklore of Industrial Man (เจ้าสาวจักรกล: นิทานพื้นบ้านของมนุษย์ในยุคอุตสาหกรรม) McLuhan ไปไกลจากความขี้สงสัยเกี่ยวกับคำมั่นสัญญาของยุคสื่อสารมวลชน มากยิ่งกว่าการที่เขาได้รับการทึกทักให้เป็น อยู่บ่อยๆ(McLuhan 1951)

McLuhan ได้วิเคราะห์งานโฆษณาชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับ Berkshire Nylon Stockings (ถุงน่องไนล่อน Berkshire) เขาได้บันทึกว่า มันได้ใช้เทคนิคอย่างเดียวกันกับภาพ The Mirror ของ Pablo Picasso ในการสร้างสรรค์”เอกภาพในเชิงสัญลักษณ์ ท่ามกลางข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลาย ซึ่งปราศจากความเชื่อมโยงกัน” [ดูภาพประกอบ]

ภาพประกอบบทความ:  โฆษณาถุงเท้าไนล่อนผู้หญิง ซึ่งเป็นการใช้เทคนิค montage และมีการสื่อถึงเรื่องเพศ

เขาได้แสดงให้เห็นว่า การมาอยู่เคียงกันโดยความบังเอิญดังที่ปรากฏ ของนางแบบที่มีพื้นฐานอยู่บนแบบฉบับของสุภาพสตรีแบบฮอล์ลีวูด และภาพม้าที่กำลังยกขาหน้าขึ้นสูง ยินยอมให้สารเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ(sexualized message)ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งไม่เคยผ่านการเซ็นเซอร์ของความสำนึกไปได้

การนำเสนอเกี่ยวกับการละเมิดในลักษณะหยาบคาย ได้ยกระดับผิวพื้นภายนอกขึ้นโดยการกลั่นกรอง, ทำให้มีความเป็นธรรมชาติ, และนำเสนอความงดงามของผู้หญิง, ในงานโฆษณาชิ้นนี้ได้สร้างผลกระทบภายในได้อย่างรุนแรง. McLuhan มองว่า ยุทธวิธีเช่นนี้ได้ทำให้เทคนิคสมัยใหม่ที่มีพลังเกี่ยวกับวิธีการประกอบภาพ(modernist technique of montage)เสื่อมทรามลง แต่ได้เสนอความพึงพอใจในการอ่านของเขาเอง ในการมองทะลุเทคนิคผิวนอกของโฆษณาชิ้นนั้นเข้าไปถึงสารที่แท้จริง(real message)

แบบฉบับของการอ่านเช่นนี้กลายเป็นแนวทางหนึ่งในตัวของมันเอง มันกลายเป็นหัวข้อประจำสัปดาห์ในสิ่งพิมพ์ต่างๆจำนวนมาก และหัวข้อหลักของเรื่องตลกที่เด่นๆ. โฆษณาต่างๆในตัวของมันเอง ตอนนี้แสวงหาหนทางที่จะดึงดูดผู้อ่านที่มีความช่ำชองในวัฒนธรรมมวลชนพวกนั้น มีการใช้สโลแกนอย่างเช่น ป้ายโฆษณาเครื่องดื่มที่ไม่ใช่เหล้า(soft drink): “Image is nothing. Thirst is everything”(ภาพนั้นไร้ความหมาย ความกระหายสิคือทุกๆสิ่ง). การมีปฏิกริยาโต้ตอบส่วนตัวอันนี้ในวัฒนธรรมมวลชนเชิงพาณิชย์ ได้รับการสร้างขึ้นมาให้มีความเป็นไปได้ในเชิงเหน็บแนม เสียดสี โดยการวิจารณ์คล้ายๆกับของ McLuhan

ในความเรียงของเธอเรื่อง “Visual Stories” โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขความเรียงชิ้นนี้ Ann Reynolds ได้แสดงให้เห็นว่า สื่อมวลชนและสถาบันต่างๆที่ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการสาธารณะ ได้รวมตัวกันเพื่อให้การศึกษาแก่บรรดาผู้บริโภคทั้งหลายในช่วงหลังสงคราม โดยการทำให้ภาพพิเศษเหล่านี้ก้าวกระโดด (Reynold 1995)

ในนิตยสารทั้งหลาย อย่างเช่น My Weekly Reader และการแสดงต่างๆในพิพิธภัณฑ์ ณ the American Museum of Natural History (พิพิธภัณฑ์อเมริกันเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) บรรดาผู้ดูทั้งหลาย ได้รับการสอนให้แปล”ความแตกต่างทั้งหลายที่มองเห็น ไปสู่เครื่องหมายต่างๆของข้อมูลที่ไม่เห็นเป็นภาพ

นับจากปี ค.ศ.1946 เป็นต้นมา Alfred Parr ได้ออกแบบพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ โดยนำมันไปสู่รูปแบบอันหนึ่งของการเล่าเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้นำทางแก่บรรดาผู้เยี่ยมชมทั้งหลายเข้าสู่การแสดงในลักษณะ diorama (ภาพคน สัตว์ สิ่งของ ที่สต๊าฟโดยมีฉากหลังเป็นงานจิตรกรรม ซึ่งเขียนขึ้นมาอย่างสอดคล้องกับเรื่องนั้นๆ และมีการใช้แสงไฟช่วยสร้างบรรยากาศให้เหมาะสม) มีการสร้างภาพเกี่ยวกับการทำงานของธรรมชาติ ซึ่งปกติแล้วเราไม่ได้พบเห็นขึ้นมา

ในการอ่านอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับห้องโถงใหม่ตรงทางเข้า ซึ่งได้แสดงลักษณะโฉมหน้าของภูมิประเทศทางตอนเหนือของนิวยอร์ค, Reynolds ได้แสดงให้เห็นว่า ความพยายามต่างๆของ Parr ไม่เพียงได้ผลสมความมุ่งหมายดังคำสาธยายของเขาเท่านั้น ซึ่งต้องการเล่าเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับทิวทัศน์ท้องถิ่น แต่มันยังมีผลต่อการสร้างสรรค์ทิวทัศน์อันหนึ่ง ซึ่งออกแบบขึ้นมาเพื่อความพึงพอใจทางสายตาของบรรดาผู้ดูทั้งหลายที่เป็นคนเมืองด้วย

เทคนิคการนำเสนอซึ่งไม่เป็นที่คุ้นเคยหรือพิเศษอันนี้ มีผลบังคับให้ผู้ดูทั้งหลายให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด ต่อแง่มุมต่างๆที่มีลักษณะเฉพาะของการแสดง ขณะเดียวกันก็ปล่อยให้ความเป็นอยู่และการทำงานของพวกชาวนาท้องถิ่นและผู้อยู่อาศัยหลุดออกมาจากภาพ

เทียบเคียงกับบรรดาคนหนุ่มสาวของนิตยสาร My Weekly Reader ถูกขอร้องให้ผูกพันอยู่กับภาพต่างๆเพื่อตอบคำถามเฉพาะพิเศษต่างๆ เช่นดังที่บรรดาผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ทั้งหลายได้รับการคาดหวังให้ดึงเอาคำตอบออกมาจากภาพการแสดง ในสิ่งที่ Parr เรียกว่า “แนวความคิดทั้งหมดเกี่ยวกับธรรมชาติทั้งมวล ในฐานะที่เป็นระบบของดุลยภาพอันหนึ่ง”

สิ่งเหล่านี้ทำให้ Reynolds รู้สึกถึงการหวนกลับไปสู่ความยากลำบากของเธออีกครั้ง เกี่ยวกับนิตยสารเมื่อตอนวัยเด็กของเธอ, Reynolds มองว่ามันเป็นเครื่องหมายอันหนึ่งซึ่ง ก็คล้ายกันกับสาวๆทั้งมวล เธอไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ”ผู้ดูที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย”สำหรับนิตยสาร My Weekly Reader และสรุปว่า “ข้อสันนิษฐานอันหนึ่งเกี่ยวกับความดึงดูดใจที่เป็นสากล มักจะปิดบังอำพรางการคัดสรรที่ต้องได้รับการพิจารณาอย่างมากเอาไว้เสมอๆ

มันคือช่องว่างต่างๆอันนั้น ระหว่าง”แบบแผนที่มีการวางแผนและกำกับซึ่งมีความสลับซับซ้อนเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของสังคมเมืองสมัยใหม่” กับ “วิธีการต่างๆที่ผู้คนอาศัยอยู่กันจริงๆ” ซึ่งนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Michel de Certeau ได้วางแนวทางการวิเคราะห์ที่ทรงอิทธิพลของเขาเกี่ยวกับปฏิบัติการในชีวิตประจำวันนั้นเอาไว้(de Certeau 1984)

De Certeau ต่อต้านงานเขียนทฤษฎีอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน แต่ในความเรียงที่คัดมาพิมพ์ซ้ำในที่นี้ ได้เน้น “ความเป็นไปได้…เกี่ยวกับการวิเคราะห์ถึงขอบเขตอันใหญ่โตของ”ศิลปะในเชิงปฏิบัติ”อันหนึ่ง ให้ต่างไปจากแบบจำลองทั้งหลายซึ่ง(ในเชิงทฤษฎี)ครอบงำจากบนลงล่างในวัฒนธรรมหนึ่ง และได้รับการรับรองโดยการศึกษา”

ชีวิตประจำวันนั้น ตามข้อเท็จจริง ไกลห่างจากการไหลเลื่อนที่เป็นระเบียบของขบวนการหรือวิธีปฏิบัติซึ่งได้รับการจับจ้องโดยกฎเกณฑ์จำนวนมาก ซึ่งได้ทำหน้าที่บริหารหรือจัดการสิ่งที่ Michel Foucault เรียกว่า “สังคมที่มีระเบียบวินัย”. งานเขียนจากมุมมองหรือทัศนียภาพที่สุดขั้วและรุนแรงในช่วงหลังที่ตามมา ของความล้มเหลวในการปฏิวัติเดือนพฤษภาคมของ ปี ค.ศ.1968, de Certeau ได้แสดงออกถึงสิ่งซึ่งปัจจุบันเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่น่าเชื่อถือในทฤษฎีมาร์กซิสท์-เลนินนิสท์ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในเชิงปฏิวัติสังคม เขาได้ผันเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่เขาเรียกว่า “การฟื้นคืนเกี่ยวกับปฏิบัติการของมวลชน ภายใต้ความเป็นสมัยใหม่ของยุคอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์”

ปฏิบัติการต่างๆเหล่านี้แสวงหา”กลอุบาย”เพื่อต่อสู้กับระเบียบกฎเกณฑ์ของสิ่งทั้งหลาย สู่เงื่อนไขต่างๆของชีวิตที่เรียบง่ายและความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน. ยกตัวอย่างเช่น บรรดาคนงานชาวฝรั่งเศส มียุทธวิธีอันหนึ่งที่พวกเขาเรียกว่า la perruque (the wig) ซึ่ง “เป็นการเฉไฉ(เกี่ยวกับเวลา) …จากโรงงานและการทำงาน ที่ได้มาซึ่งความเป็นอิสระ, สร้างสรรค์, และไม่ต้องมุ่งสู่เรื่องของผลกำไรใดๆ”

อันนี้สามารถเรียงลำดับได้ นับจากการเขียนจดหมายสักฉบับในช่วงเวลาการทำงานของบริษัท เพื่อขอใช้เครื่องมือของโรงงานชิ้นหนึ่ง สำหรับภารกิจในครอบครัวหรืองานที่บ้าน – กิจกรรมทั้งหมดเหล่านั้นกระทำภายใต้หัวข้อเกี่ยวกับ “making do”. ดังนั้น บรรดาผู้อพยพแอฟริกันทางตอนเหนือสู่ฝรั่งเศส ได้ปรับดัดแปลงการพัฒนาบ้านเรือนของเขาไปสู่วิถีชีวิตของชาวแอฟริกัน: “โดยศิลปะของการเป็นอยู่ที่ครึ่งๆกลางๆ ซึ่งเขาไม่ได้คาดหวังผลลัพธ์ใดๆจากสภาพการณ์ของเขาเท่าใดนัก”

De Certeau เรียกกลยุทธต่างๆเหล่านี้ว่าเป็น “วิธีการของพลังอำนาจที่อ่อนแอใช้ในการเผชิญหน้ากับความเข้มแข็ง” แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำเช่นนั้นได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ต่างๆของชีวิตประจำวันเกี่ยวกับการสนับสนุนการกดขี่น้อยมาก

นักวิจารณ์สื่อ John Fiske ได้ปรับปรุงทฤษฎีต่างๆของ de Certeau เป็นจำนวนมากไปสู่เรื่องของการบริโภคเกี่ยวกับสื่อมวลชนและเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงที่ได้สร้างความจำเป็นขึ้นมาโดยการแปรรูปชีวิตประจำวันใน 15 ปีหลังมานี้ไป

แบบแผนต่างๆของ”ความเป็นอยู่, การเคลื่อนย้าย, การพูดจา, การอ่าน, การไปช็อพพิ่ง และการปรุงอาหาร”(de Certeau 1984:40) ซึ่ง de Certeau มองว่า ครั้งหนึ่งมันเคยเป็นอาณาบริเวณอันไม่เป็นที่รู้จักและไม่อาจรู้ได้ของผู้บริโภค มาถึงตอนนี้ ได้ถูกทำเป็นแผนที่ขึ้นมาอย่างง่ายดายและแม่นยำโดยบรรดาผู้ผลิตทั้งหลาย ด้วยการใช้บัตร ATMs, บันทึกต่างๆของเครดิตคาร์ด, และสแกนเนอร์เช็คเอาท์. โดยผ่านสิ่งเหล่านี้สิ่งที่ไม่เคยเป็นที่รับรู้ แบบแผนต่างๆของการบริโภคต่างๆได้ถูกทำเป็นแผนที่ด้วยความเที่ยงตรงแม่นยำอย่างยอดเยี่ยม กระทั่งการเดิน วิธีการหลักอันหนึ่งของชีวิตประจำวันในเมือง

การยืนยัน, ความสงสัย, ความพยายาม, การละเมิดหรือฝ่าฝืน, การเคารพ ฯลฯ. เส้นทางเดินต่างๆ มาถึงปัจจุบันได้ถูกบันทึกลงในกล้องถ่ายวิดีโอซึ่งมีอยู่ทุกหนทุกแห่งที่ติดตั้งโดยธนาคารต่างๆ, ช็อพพิ่ง มอลล์, และในส่วนของการควบคุมการจราจรและของกรมตำรวจ

ในการศึกษาของเขาเมื่อปี ค.ศ. 1996 เกี่ยวกับสื่อหลังสมัยใหม่, Fiske ยืนยันว่า “ความรู้ในเชิงตรงข้าม ไม่เคยเลยที่จะสามารถถูกปราบปรามหรือควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด”(Fiske 1996). ตรงกันข้าม มันได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของมันไปได้อย่างง่ายๆ. แทนที่จะดำเนินรอยตาม de Certeau “สู่การกระทำชนิดใดชนิดหนึ่งเกี่ยวกับ perruque (wig)ของการเขียน”, ชีวิตประจำวันหลังสมัยใหม่ได้ค้นหาช่องทางต่างๆที่จะทำให้มันเป็นภาพของตัวมันเองขึ้นมาอีกครั้ง

ในความเรียงที่คัดเอามาบรรจุไว้ในส่วนนี้, Fiske ได้เน้นถึงความสำคัญของเครื่องบันทึกวิดีโอเทปเทคโนโลยีต่ำ ซึ่งเขาเรียกว่า “videolow” ซึ่งตรงกันข้ามกับ “videohigh” ของสื่อ. แน่นอน เนื่องจากความคมชัดที่แย่มากของมัน การขาดเสียซึ่งเทคนิคต่างๆของกล้องถ่ายวิดีโอที่ทันสมัย และวิธีการเกี่ยวกับการตัดต่อ, วิดีโอโลว์(videolow)จึงมีความจริง(authenticity)ที่เชื่อถือได้ ซึ่งบ่อยครั้ง สิ่งเหล่านี้มันได้ขาดหายไปจากวิดีโอไฮฮ์(videohigh)

ในระดับหนึ่ง, ความน่าเชื่อถืออันนี้ได้สร้างรายการแสดง หรือโชว์สนุกๆ อย่างเช่น American’s Funniest Home Video ขึ้นมา. อีกประการหนึ่ง, มันคือคำตอบที่ว่า ทำไมวิดีโอเทปของ George Halliday เกี่ยวกับ Rodney King ที่ถูกทุบตีและกระทืบโดยตำรวจ Los Angeles จึงมีพลังมหาศาล

Fiske ได้แสดงให้เห็นว่า ในการสอบสวนครั้งแรก จำเลยไม่อาจที่จะปฏิเสธผลของภาพในวิดีโอได้เลย โดยข้อแย้งต่างๆเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเทปด้วยการใช้เทคนิคของ videohigh ในการต่อเติมเสริมแต่ง, มีการวิเคราะห์โดยภาพเคลื่อนไหวช้าหรือที่เรียกกันว่า slow-motion และการแยกมันออกมาดูกันทีละภาพในเทปวิดีโอนั้น. ลูกขุนคนหนึ่งมีแนวโน้มที่จะเข้าข้างฝ่ายของตำรวจ แต่เมื่อดูภาพถ่ายเหล่านี้ ก็เป็นการเพียงพอแล้ว

วิดีโอก็เหมือนกันกับเครื่องมืออื่นๆของการเป็นตัวแทน โดยเนื้อแท้มันไม่ก้าวหน้าและไม่โต้ตอบ สถานที่ของการทำร้ายร่างกายมันเหนือความคาดหมายใดๆ. ความสามารถในการใช้งานได้ที่เพิ่มขึ้นของเครื่องวิดีโอในราคาที่ต่ำ, ซึ่งได้รวมเอาเครื่องมือที่มีคุณสมบัติการถ่ายทอดเข้าไปด้วย ได้ไปยกระดับความเสี่ยงต่างๆในกรณีต่างๆเหล่านี้เพิ่มขึ้น ซึ่งอันนี้มันจะเป็นไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

สำหรับผู้คนส่วนใหญ่ ภาพถ่ายและวิดีโอได้ถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นส่วนเสริมต่างๆสำหรับความทรงจำในชีวิตจริง เช่น นำมาบันทึกภาพเกี่ยวกับโอกาสพิเศษต่างๆของครอบครัว วันหยุดพักผ่อน และการเจริญเติบโตของพวกเด็กๆ. อันนี้เกิดขึ้นในเอกสารภาพและสารคดีเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ซึ่งได้ก่อให้เกิดความผูกพันของสาธารณชนเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับความทรงจำหรือการรำลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆของชาติด้วย

ในการศึกษาของเธอเกี่ยวกับอนุสรณ์ทหารผ่านศึกเวียดนาม ที่ปรับปรุงจากงานหนังสือเมื่อไม่นานมานี้ของเธอเองเรื่อง Tangled Memories (ความทรงจำอันยุ่งเหยิง), Marita Sturken ได้สำรวจว่า อนุสรณ์ความทรงจำนั้น ได้กลายเป็นการโฟกัสสำหรับรูปแบบอันหนึ่งของการต่อสู้เกี่ยวกับควาทรงจำ ซึ่งประกอบด้วยประเด็นเรื่องราวต่างๆที่หลากหลายได้อย่างไร เช่น เรื่องสงคราม, ประติมากรรมสมัยใหม่, เชื้อชาติ และเพศสภาพ (sturken 1997)

เธอได้แสดงให้เห็นว่า กำแพงชื่อของ Maya Lin ได้ถูกรับรู้มาแต่แรกในฐานะที่เป็นบาดแผลสีดำของความอับอาย, ข้อคิดเห็นอันหนึ่งซึ่ง “การอ่านระหัสในเชิงเชื้อชาติเกี่ยวกับสีดำในฐานะสิ่งที่น่าอับอาย ได้ถูกรวมเข้ากับการอ่านอันหนึ่งเกี่ยวกับการแฝงความหมายโลกของผู้หญิง ที่ขาดเสียซึ่งพลังอำนาจ”

ในฐานะที่เป็นผลตามมา Frederick Hart ได้ถูกมอบหมายให้สร้างอนุสาวรีย์แบบเหมือนจริงขึ้นมาให้กับบรรดาทหารหาญทั้งหลาย ซึ่งในคราวนั้น ได้กระตุ้นสนับสนุนโดยการให้กำลังใจแก่บรรดาบุคลากรหญิงในด้านบริการในกองทัพ ด้วยการสร้างอนุสรณ์ความทรงจำเพื่ออุทิศให้กับผู้หญิงที่ปฏิบัติหน้าที่ในเวียดนาม. ปัจจุบันนี้ กำแพงดังกล่าวได้กลายเป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่นิยมมากในกรุงวอชิงตัน มันได้ปลุกเร้าให้เกิดปฏิกริยาและความผูกพันค่อนข้างมาก

ในวันสำคัญต่างๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสามารถที่จะพบเห็นบรรดาทหารผ่านศึก ครอบครัวของพวกเขาและเพื่อนๆนำเอากระดาษไปทาบ และถูชื่อของทหารหาญที่ได้รับการจารึก หรือวางสิ่งของเพื่อแสดงความเคารพรักต่างๆเอาไว้ เช่น ภาพถ่ายและข้อความต่างๆ. สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอนุสรณ์ความทรงจำในตัวของมันเองและอื่นๆ ดังที่ Sturken ตั้งข้อสังเกตอย่างที่ได้เห็น

“อนุสรณ์ความทรงจำได้ถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นสถานที่แห่งหนึ่ง โดยบรรดาผู้มาเยี่ยมเยือนทั้งหลาย ซึ่งพวกเขาสามารถที่จะพูดกับคนที่ตายไปแล้วได้ (โดยนัยะดั่งว่า คนตายยังคงอยู่)”
กำแพงดังกล่าว โดยความหมายนี้ มันจึงกลายเป็นแท่นบูชาอันหนึ่ง

พิธีกรรมที่เป็นทางการของรัฐ เกี่ยวกับการแสดงความรำลึกถึงสงคราม ตัดผ่านความหลากหลายเกี่ยวกับเรื่องเล่าและอนุสรณ์แห่งความทรงจำส่วนตัวอันนี้ไป มันได้สร้างฉากที่สลับซับซ้อนขึ้นมาเกี่ยวกับช่วงเวลาแห่งความทรงจำดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อนุสรณ์ความทรงจำนี้ยังไม่ถือว่าสมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะมันไม่ได้มีการกล่าวถึง”ผู้คนชาวเวียดนามสามล้านคน”ที่ได้สูญเสียชีวิตของตนไปในช่วงระหว่างสงครามแห่งความขัดแย้งนี้ จุดบอดดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องอุบัติเหตุห รือความบังเอิญ แต่มันเป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของอนุสรณ์แห่งความทรงจำที่ประสบความสำเร็จของชาวอเมริกัน

โดยรวมแล้ว ความเรียงต่างๆที่บรรจุอยู่ในส่วนที่สองนี้ได้แสดงให้เห็นว่า การตีความเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตาในชีวิตประจำวัน อันดับแรก เป็นสิ่งซึ่งเป็นไปได้ในฐานะที่เป็นวิธีการอันหนึ่งของกิจกรรมเกี่ยวกับการวิจารณ์ในยุคหลังสงคราม จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันนี้ มันได้กลายเป็นภารกิจที่โดดเด่นอันหนึ่งซึ่งเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านั้นที่ De Certeau เรียกว่า ปัญญาชนทั้งหลาย

ในเชิงประติทรรศน์ มันคือช่วงขณะเหล่านั้นของชีวิตประจำวันที่หนีรอดจากการจ้องมองทั้งหมดของทุนโลก ที่ได้ประกอบสร้างประเด็นที่สำคัญที่สุดของมันขึ้นมาเกี่ยวกับการต่อต้านต่อระบบกฎเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งในส่วนของสถานการณ์ที่เป็นเรื่องทางโลกของงานประจำในที่ทำงาน หรือฝันร้ายสุดๆของสงคราม

หมายเหตุ: ความเรียงในส่วนที่สองประกอบด้วยเรื่องดังต่อไปนี้

Part Two : Visual Culture and Everyday Life

1. Woman in a Mirror: Marshall McLuhan
2. Visual Stories: Ann Reynolds
3. From the Practice of Everyday Life: Michel de Certeau
4. Videotech: John Fiske
5. The Wall, The Screen and the Image: The Vietnam Veterans Memorial:
Marita Sturken

ขอบคุณบทความจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : http://61.47.2.69/~midnight/midnight2545/document9797.html

 

You may also like...