เซลาดอน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่เผาอุณหภูมิสูงประมาณ 1,250 องศาเซลเซียสขึ้นไป ผลิต ภัณฑ์มีเนื้อแกร่ง เช่น สโตนแวร์ (Stoneware) และ พอร์สเลน (Porcelains) ที่เคลือบด้วยน้ำเคลือบสีเขียวอ่อน สีเขียวอมฟ้า สีเขียวอมเทา สีเขียวอมน้ำตาล สีเขียวเข้ม และมักมีรอยรานปรากฏอยู่ในผิวเคลือบเสมอ
คำว่า “เซลาดอน” อาจมีที่มาจากการเลียนแบบสีของหยก ซึ่งชาวจีนถือว่า หยกเป็นอัญมณีล้ำค่า คู่ควรแก่การเป็นเครื่องประดับของกษัตริย์ ซึ่งภาชนะเคลือบเซลาดอนของจีนในยุคแรก จะมีใช้เฉพาะในราชสำนักเท่านั้น ทางแถบตะวันตกเชื่อกันว่า ชื่อนี้ได้มาจากชื่อของตัวละครที่เล่นเป็นคนเลี้ยงแกะที่ชื่อ เซลาดอนซึ่งสวมเสื้อคลุมสีเขียวอมเทาในเรื่อง D’Urfe’s Romance ของ Astree ซึ่งเป็นละครที่ได้รับความนิยมมากใน คริสศตวรรษที่ 17 และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ เคลือบสีเขียวดุจหยกของจีนกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในยุโรป คุณประดิษฐ์ ศรีวิชัยนันท์ กล่าวว่า ทางเชียงใหม่ เชื่อว่า เซลาดอน มาจากคำว่า “ศิลา” ที่แปลว่า หิน รวมกับคำว่า “ดล” ซึ่งเป็นคำในภาษาสันสกฤต แปลว่า “เคลือบบนหิน” หรือ “เคลือบหิน” ก็น่าฟังเพราะ เซลาดอนจัดอยู่ในประเภทเครื่องหิน (Stoneware) ที่เผาด้วยอุณหภูมิสูงจนแกร่งเหมือนหิน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.designinnovathai.com/th/article/detail/23
ที่มา : http://www.designinnovathai.com/th/designer/page/2
ขอบคุณข้อมูลจากศูนย์นวัตกรรมการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ถนนราชมรรคาใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000
โทรศัพท์ : ๐๓๔ ๒๗๕ ๐๓๐ , ๐๘๑ ๘๐๙ ๖๘๖๗
โทรสาร : ๐๓๔ ๒๗๕ ๐๓๐
อีเมล์ : contact@designinnovathai.com
เว็บไซต์ : www.designinnovathai.com