ประกวดสื่อประชาสัมพันธ์ “ชาวต่างชาติกับการอนุรักษ์วิถีชุมชน”

คณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามการส่งเสริมภาพลักษณ์และการคุ้มครองผลประโยชน์ไทยในต่างประเทศ ในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขอเชิญ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ส่งผลงานเข้าประกวดสื่อประชาสัมพันธ์ “ชาวต่างชาติกับการอนุรักษ์วิถีชุมชน” ประจำปี 2561 ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 400,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจากประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
การประกวดผลิตสื่อประชาสัมพันธ์นี้ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้สร้างสรรค์และนำเสนอแนวความคิดที่สะท้อนภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยออกสู่สาธารณชนผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ไม่จำกัดประเภททั้งออฟไลน์และออนไลน์ และยังสนับสนุนให้เยาวชนได้มีพื้นที่ในการแสดงผลงานที่มีคุณภาพ สร้างค่านิยมและทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทย และนำเสนอสู่สังคมในวงกว้างทั้งในและต่างประเทศ

ปัจจุบันการเผยแพร่ข่าวสารสามารถใช้ช่องทางการสื่อสารหลากหลายรูปแบบสู่ผู้รับสาร โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้นการผลิตผลงานเพื่อเข้าประกวด จึงไม่จำกัดประเภท และรูปแบบ แต่ต้องคำนึงว่าสื่อที่ผลิตสามารถนำมาใช้งานแบบ Cross Media ผ่านช่องทางหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น Offline หรือ Online Channels เช่น YouTube, Twitter, Instagram, QR code, Innovative Media on Street เป็นต้น

เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2561 และส่งผลงานเข้าประกวดได้ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.facebook.com/cfa.nla

หรือติดต่อฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สำนักกรรมาธิการ 2 เลขที่ 499 อาคารสุขประพฤติ ชั้น 12 ถนนประชาชื่น บางซื่อ กทม. 10800

โทรศัพท์ 02 831 9177 โทรสาร 02 831 9174

การประกวดโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทย
หัวข้อ “ชาวต่างชาติกับการอนุรักษ์วิถีชุมชน”

ประเภทของการประกวด
ประกวดผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อใช้ในการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย ไม่จำกัดประเภท

หลักการและเหตุผล
มุมมองสายตาของชาวต่างประเทศทั่วโลก ที่มีต่อประเทศไทยมีทั้งเชิงชื่นชมหรือเชิงลบแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับหรือจากประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญาของไทย ดังนั้น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิถีชีวิตชุมชน จะเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจที่ดีต่อประเทศไทย โดยสะท้อนแนวทางการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ สังคม วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และภูมิปัญญา

การประกวดการผลิตสื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย หัวข้อ “ชาวต่างชาติกับการอนุรักษ์วิถีชุมชน” เป็นกิจกรรมที่เปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้มีโอกาสค้นคว้า สร้างสรรค์และนำเสนอแนวความคิดและเรื่องราวที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย และยังสนับสนุนให้เยาวชนได้มีพื้นที่ในการแสดงผลงานที่มีคุณภาพ สร้างค่านิยมและทัศนคติที่ดีต่อประเทศไทย และนำเสนอสู่สังคมออนไลน์ในวงกว้าง

ปัจจุบัน การเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูลสามารถใช้ช่องทางการสื่อสารหลากหลายรูปแบบสู่ผู้รับสาร โดยไม่จำกัดสถานที่ และ เวลา ดังนั้น การผลิตผลงานเพื่อเข้าประกวด จึงไม่จำกัดประเภทรูปแบบ แต่ต้องคำนึงว่า สื่อที่ผลิต สามารถนำมาใช้งานแบบ cross media ผ่านช่องทางหลากประเภทไม่ว่าจะเป็น Offline หรือ Online Channels เช่น YouTube, Twitter, Instagram, QR code, Innovative Media on Street เป็นต้น

วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญาของไทย เป็นมรดกตกทอดอันทรงคุณค่าที่บรรพบุรุษได้สั่งสม ความรู้และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าคงไว้ซึ่งความภาคภูมิใจและอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนและควรค่าแก่การเผยแพร่เรื่องราวอันทรงคุณค่าและเปี่ยมเสน่ห์ของมรดกวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของวิถีชีวิตและภูมิปัญญา ผ่านแง่มุมการดำเนินชีวิตของคนไทยที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านประเพณีไทย ศิลปะการแสดง งานช่างฝีมือ อาหารและกีฬา

วัฒนธรรม หมายถึงทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม และยังหมายรวมถึงแบบแผนพฤติกรรมทั้งหมดของสังคมที่สืบทอดมานับตั้งแต่อดีตผ่านการเรียนรู้คิดค้น ดัดแปลงเพื่อสนองความต้องการและ พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ โดยมีวิวัฒนาการสืบทอดต่อกันมาอย่างมีแบบแผน เพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงในสังคม

วิถีชีวิต หมายถึงแนวทางการดำเนินชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย รวมถึงปัจจัยสี่ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต อันได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค นอกจากนี้วิถีชีวิตยังหมายรวมถึงความรู้เรื่องสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา การประพฤติปฏิบัติการศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ภูมิปัญญา หมายถึง องค์ความรู้ความสามารถและทักษะซึ่งเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา ถ่ายทอด สืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตให้สมดุลกับสภาพแวดล้อม และเหมาะสมกับยุคสมัย ภูมิปัญญาของไทยมีความเด่นชัดในหลายด้านทั้งด้านเกษตรกรรม ศิลปกรรม วรรณกรรม และภาษา

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ผลงานภาพลักษณ์ของประเทศไทย ซึ่งมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สู่สาธารณชนทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ
2. เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนเห็นความสำคัญการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย
3. เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีเวทีในการแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของตนเองอย่างสร้างสรรค์ ในการผลิตสื่อ ออกสู่สาธารณชน และเป็นผลงานที่ผลิตไปใช้ในอนาคต

เจ้าของโครงการ
คณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามการส่งเสริมภาพลักษณ์และการคุ้มครองผลประโยชน์ไทยในต่างประเทศ ในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ
1. สถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
2. หน่วยงานภาครัฐ เช่น
o การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
o กรมประชาสัมพันธ์ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
o กระทรวงการต่างประเทศ
3. องค์กร และหน่วยงานภาคเอกชน

คุณสมบัติของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
1. นักเรียน นิสิต นักศึกษา อายุระหว่าง 15-25 ปี ที่สังกัดในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย โดยไม่จำกัดภาควิชา และชั้นปีการศึกษา
2. สมัครเข้าร่วมการประกวดเป็นทีมๆ ละ ไม่เกิน 5 คน โดยสมาชิกในทีมไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถาบันเดียวกัน
3. ผู้สมัครแต่ละทีมจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษารับรอง
4. ส่งใบสมัครการประกวดผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ พร้อมเอกสารของผู้สมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2561
5. ส่งผลงานประกวดสื่อประชาสัมพันธ์ ให้ส่งในรูปแบบของ DVD และอัพโหลดขึ้นบนเฟซบุ๊กตามที่กำหนดไว้ ภายในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561

หลักเกณฑ์การประกวด

การคัดเลือกรอบเค้าโครงความคิดสร้างสรรค์
1. ทีมที่ต้องการส่งผลงานเข้าประกวด ให้ส่งไอเดียความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานสื่อที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ว่าต้องการสื่อในเรื่องใด และสาเหตุการเลือกเรื่องนี้มาผลิต
2. ทีมที่ผ่านการคัดเลือก จะได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติ เพื่อเรียนรู้ขั้นตอนและทักษะการผลิต

การคัดเลือกรอบสุดท้าย
คณะกรรมการตัดสินผลงานรอบสุดท้าย โดยมีคณะกรรมการจากคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามการส่งเสริมภาพลักษณ์และการคุ้มครองผลประโยชน์ไทยในต่างประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิ ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการฯ จะตัดสินผลงานสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลงานตามกำหนด มีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ มีความคิดสร้างสรรค์ การสื่อความชัดเจน และการใช้ภาษาที่เหมาะสม
2. ทีมที่ส่งผลงานต้องตั้งชื่อเรื่องตามความเหมาะสม สอดคล้องกับหัวข้อ และเนื้อหาที่นำเสนอ
3. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องนำเสนอ 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ หรือภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่ต้องมีคำแปล
4. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ไม่จำกัดเทคนิคการผลิต และรูปแบบวิธีการนำเสนอ
5. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะต้องไม่ลบลู่ต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และไม่สร้างความแตกแยกในสังคม และไม่ผิดกฎหมาย
6. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ทีมผู้เข้าประกวดต้องเป็นผู้เตรียมและจัดหาอุปกรณ์การผลิตและดำเนินการผลิตเอง
7. หากมีเพลงและภาพที่ใช้ประกอบในผลงานที่ส่งเข้าประกวด ผู้เข้าประกวดจะต้องขอลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องสำหรับใช้ในการประกวด เพื่อใช้เผยแพร่ในสื่อต่างๆ ต่อไป
8. ผลงานทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะต้องเป็นผลงานต้นฉบับที่ไม่เคยส่งเข้าประกวด หรือได้รับรางวัลใดๆ มาก่อน หากคณะกรรมการตรวจพบขอสงวนสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการ
9. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวดถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะอนุกรรมาธิการฯ
10. คณะอนุกรรมาธิการฯ จะเก็บรักษาผลงานที่ผ่านการประกวดทุกชิ้นไว้โดยไม่มีการยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งผลงานและเอกสารการสมัครที่ไม่ผ่านการคัดเลือกซึ่งจะไม่มีการส่งคืนผู้สมัครไม่ว่ากรณีใด ๆ
11. ตลอดระยะเวลาโครงการ คณะอนุกรรมาธิการฯ มีสิทธิ์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎ ข้อบังคับต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
12. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ให้ส่งในรูปแบบของ DVD และอัพโหลดขึ้นบนเฟซบุ๊กตามที่กำหนดไว้ ภายในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561
13. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
14. ประกาศผลและมอบรางวัล วันที่ 20 ธันวาคม 2561

ระยะเวลาการประกวด
1. ประชาสัมพันธ์โครงการ รับสมัครและส่งผลงานเข้าประกวด ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561
2. ประกาศผลงานที่ผ่านการคัดเลือกผ่าน www.facebook.com/cfa.nla (คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
3. ประกาศผลรอบสุดท้ายและพิธีมอบรางวัล วันที่ 20 ธันวาคม 2561

การส่งผลงาน
1. ส่งเอกสารการสมัคร ใบสมัคร คำอธิบายภาพรวมของผลงาน สำเนาบัตรประชาชนผู้เข้าประกวดในกลุ่มทุกคน
2. สามารถส่งผลงานผ่านช่องทาง
– ส่งด้วยตนเอง ที่ ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สำนักกรรมาธิการ 2 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เลขที่ 499 อาคารสุขประพฤติ ชั้น 12 ถนนประชาชื่น บางซื่อ กทม. 10800 โทรศัพท์ 02 831 9177 โทรสาร 02 831 9174
– ส่งโดยการ upload บน www.facebook.com/cfa.nla (คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

รางวัล และ ทุนการศึกษา
1. รางวัลชนะเลิศ
– โล่ประกาศเกียรติคุณจากประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
– ทุนการศึกษา 100,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
– บัตรโดยสารเครื่องบินแอร์เอเชียเส้นทางภายในประเทศ เที่ยวบิน FD มูลค่า 100,000 บาท*
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
– โล่ประกาศเกียรติคุณจากรองประธานสภานิติบัญญัติ คนที่ 1
– ทุนการศึกษา 50,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
– บัตรโดยสารเครื่องบินแอร์เอเชียเส้นทางภายในประเทศ เที่ยวบิน FD มูลค่า 50,000 บาท*

3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
– โล่ประกาศเกียรติคุณจากรองประธานสภานิติบัญญัติ คนที่ 2
– ทุนการศึกษา 30,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
– บัตรโดยสารเครื่องบินแอร์เอเชียเส้นทางภายในประเทศ เที่ยวบิน FD มูลค่า 30,000 บาท*
*หมายเหตุ โดยมูลค่าดังกล่าวคิดเทียบเท่ามูลค่าบัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับที่นั่งละ 10,000 บาท
4. รางวัลชมเชย 3 รางวัล
– ทุนการศึกษา รางวัลละ 20,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ชาวต่างชาติรวมทั้งชาวไทย มีทัศนคติความเข้าใจ และภาพลักษณ์ด้านบวกของประเทศไทยดียิ่งขึ้น จากการรับรู้ผลงานทางสื่อหลากหลายช่องทาง
2. เยาวชนเกิดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจ และปกป้องเกียรติศักดิ์ของประเทศ
3. เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเยาวชน กับหน่วยงานต่างๆ ที่สนับสนุน และให้โอกาสกับเยาวชนในการแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาภาพลักษณ์ของประเทศ
4. ได้รับผลงานจากความสามารถของเยาวชนมาเผยแพร่สู่สาธารณชนทางสื่อต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

รายนามคณะกรรมการ

คณะกรรมการอำนวยการ
1. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการ
2. พลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ
3. นายธำรง ทัศนาญชลี รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ
4. นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ประธานที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ
5. นายกฤตเมธ อุริจันทร์ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ

คณะกรรมการจัดการประกวด
1. นายสุรพล เศวตเศรนี อนุกรรมาธิการ
2. นายศักดิ์ชัย เรืองกิตติกุล อนุกรรมาธิการ
3. นายเนติธร ประดิษฐ์สาร อนุกรรมาธิการ
4. นายธานี ทองภักดี อนุกรรมาธิการ
5. รองศาสตราจารย์บดินทร์ รัศมีเทศ อนุกรรมาธิการ
6. พลตรี พจน์ เฟื่องฟู อนุกรรมาธิการ
7. นางชื่นใจ ทองคำ อนุกรรมาธิการ
8. นาวาโทหญิง อริศรา ชูจินดา อนุกรรมาธิการ
9. นาวาโทหญิง อุลัยลักษณ์ ชัยโสตถี อนุกรรมาธิการ

คณะกรรมการตัดสิน
1. นายกิตติพงศ์ วีระเตชะ ประธานอำนวยการ วายแอนด์อาร์ ประเทศไทย
2. ดร.สมชาติ วิศิษฐชัยชาญ กรรมการบริหารและที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร
ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม
3. ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
4. ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์
5. ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ
5. ผู้แทนสื่อมวลชนไทย
6. ผู้แทนสื่อมวลชนต่างประเทศ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการต่างประเทศ
สำนักกรรมาธิการ 2 
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
499 อาคารสุขประพฤติ ชั้น 12
ถนนประชาชื่น บางซื่อ 
กทม. 10800
โทรศัพท์ 02 831 9177 
โทรสาร 02 831 9174
Email: cfa-senate@hotmail.com
Facebook: www.facebook.com/cfa.nla

PR&Associates PRA <teamprassociates@gmail.com>

You may also like...