Unfolding Kafka งานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่รวบรวมผลงานศิลปะร่วมสมัยจากศิลปินชั้นนำทั่วทุกมุมโลกซึ่งได้จัดแสดงมาตั้งแต่ปี 2015 โดยนำความคิดจากงานเขียนของฟรันทซ์ คาฟคา ยอดนักเขียนผู้เป็นตำนานจากกรุงปรากแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้ซึ่งในภายหลังได้ให้กำเนิดการเขียนสไตล์ ‘Kafkaesque’ ซึ่งมีแรงบันดาลใจจากสุนทรียะ การเคลื่อนไหว สัญชาตญาณดิบของสัตว์ต่างๆ และสัตว์ข้ามสายพันธุ์มานำเสนอถ่ายทอดผ่านมุมมองทางศิลปะในรูปแบบของศิลปะการแสดงร่วมสมัย ภาพยนตร์ และงานนิทรรศการผลงานศิลปะจัดวาง ในการจัดงานเทศกาลครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่ได้นำมาเสนอให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ในปีนี้ ผู้ชมจะได้สัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่างจากงานศิลปะอื่นๆ จากที่คุณเคยรับชมมา รูปแบบของการจัดแสดง พื้นที่ สิ่งแวดล้อม และสถานที่จัดงานที่แตกต่างกันนั้นมีบทบาทต่อการรับชมและมุมมองในการเสพงานศิลปะของผู้เข้าร่วมงานซึ่งให้ประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป เทศกาลนี้จะพาคุณเข้าไปสัมผัสกับประสบการณ์ทางศิลปะที่เข้มข้น แปลกตาและชวนให้ขบคิด ผ่านความคิดที่เป็นอรูปธรรม สู่คำถามของความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำและผู้ถูกกระทำผ่านทางการจ้องมองในแบบเดียวกับที่มนุษย์มองไปยังสิงสาราสัตว์ในสวนสัตว์ที่แตกต่างออกไปจากการสังเกตพวกมันในผืนป่า ด้วยเหตุนี้ผลงานล่าสุดของจิตติ

“สวนสัตว์ของคาฟคา” จะนำคุณเข้าไปสู่ภูมิทัศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของงานเชิงแนวคิดด้วยภาพที่ต้องจดจำ และติดตา เสมือนความเป็นป่าที่ไร้กฎเกณฑ์ เพื่อสร้างบทสนทนาในประสบการณ์ชมงานศิลปะการแสดงรูปแบบเฉพาะที่เกี่ยวโยงกับสังคมเรื่อง ‘อัตลักษณ์’ และ ‘เพศสภาวะ’ ผ่านทางการตีความของผู้ชมแต่ละคนและในขณะเดียวกันก็นำเสนอมุมมองใหม่ๆ ที่ท้าทายวิสัยทัศน์ของผู้ชม

เทศกาล Unfolding Kafka Festival 2019 จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม ถึง 15 ธันวาคมนี้ ที่กรุงเทพฯและเชียงใหม่ สำหรับปีนี้เทศกาลได้รวบรวมผลงานศิลปะร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงจากศิลปินนานาชาติมากกว่า 12 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงร่วมสมัย งานนิทรรศการผลงานศิลปะจัดวางและภาพยนตร์จากหลากหลายประเทศทั่วโลก

“I Am a Cage, In Search of a Bird” Franz Kafka
ปีเตอร์ เวลซ์ (Peter Welz)
(2017, เยอรมนี/วิดีโอจัดแสดง)
www.peterwelz.com
สถานที่: พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม / 26 ต.ค. – 22 พ.ย.

ภาพวาดสุดท้ายของฟรานซิส เบคอน “ภาพเสมือนที่ไม่เสร็จ” (Unfinished portrait) (1991-92) เป็นฐานคิดและแกนหลักของงานชิ้นนี้ ซึ่งจะถูกจัดแสดงในเทศกาล Unfolding Kafka ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม (Maiiam Contemporary Art Museum) งานชิ้นนี้เชื่อมโยงระหว่างภาพและทฤษฎีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของฟรันซ์ คาฟคาเรื่อง ‘สัตว์’

ปีเตอร์ เวลซ์ ทำงานร่วมกับนักออกแบบท่าเต้นระดับโลกอย่างวิลเลียม ฟอร์ไซธ์ (William Forsythe) ที่สื่อความจาก ‘ภาพเสมือนชิ้นสุดท้ายที่ไม่เสร็จ’ (The Final Unfinished Portrait) ของฟรานซิส เบคอน มาสู่ท่าทางการเคลื่อนไหว งานชิ้นนี้ถูกบรรยายการเคลื่อนไหวสดของวิลเลียม ฟอไซธ์ ผ่านจอภาพสามจอใหญ่ จากมุมกล้องที่ถ่ายด้านหน้า ด้านข้างและด้านบนในเวลาเดียวกัน

Retranslation | final unfinished portrait (Francis Bacon) | figure inscribing a figure | [take 02]
Original Drawing: final unfinished portrait 
(Francis Bacon | Self-Portrait, 1991–92) 
Oil on canvas,
198.2 cm x 146.7 cm
© The Estate of Francis Bacon. All rights reserved. DACS 2017.
Image courtesy of Dublin City Gallery The Hugh Lane
อัตสึโกะ นากามูระ
www.atsukonakamura.com

สถานที่: โรงแรมโรส กรุงเทพฯ / 7 พ.ย.- 15 ธ.ค.
“Arbitrary Notion”
(2013, ญี่ปุ่น/วิดีโอจัดแสดง)

นิทรรศการจัดวางหรืออาร์ตอินสตอเลชั่นทั้งสองของนากามุระในเรื่องของมดที่เข้ามาบุกรุกครัวของเธอ นากามุระจัดการกับมดเหล่านั้นและบันทึกวิธีการกำจัดมดของเธอในวีดีโอที่จัดแสดงในครั้งนี้

“Invasion”
(2015, ญี่ปุ่น/วิดีโอจัดแสดง)

เรื่องราวของนากามูระในฐานะคนนอกที่รุกรานทางเดินของมด ด้วยการสร้างกำแพง ขีดเขตแดนประเทศ และบังคับให้พวกมันต้องทำตามเธอ

“Jigami Sound of Vitality”
(2006 ญี่ปุ่น /งานศิลปะจัดแสดง)

กิ่งไม้จำนวนมหาศาลก่อตัวจากห้องพักของโรงแรมทะลุออกนอกตึกจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง สร้างความสัมพันธ์กับธรรมชาติในสภาพแวดล้อมที่เป็นเมืองหลวงอย่างลงตัว

Des Gestes Blancs”
Naïf โปรดักชั่น
(2018, ฝรั่งเศส/การเต้น)
สถานที่: โรงละคร Hostbkk / 14-15 พ.ย. เวลา 19.30 น.

การแสดงกายกรรมร่วมสมัยที่พยายามถ่ายทอดสายใยระหว่างพ่อกับลูกผ่านการเคลื่อนไหวและการปฎิสัมพันธ์ทางกายภาพ ที่เกี่ยวข้องกับความอสมดุลและแรงโน้มถ่วงของน้ำหนักที่แตกต่างกันของทั้งสองวัย อีกทั้งยังสะท้อนพัฒนาการอันบริสุทธิ์ของชาร์ลี ลูกชายวัย 9 ขวบ

Photography: Anne Breduillieard

“Turning Solo”
อิซาเบล ชาด (Isabelle Schad) / นาอิมา เฟร์เร่ (Naïma Ferré)
(2017, เยอรมนี/การเต้น)
www.isabelle-schad.net
สถานที่: ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / 20 พ.ย. เวลา 19:30 น.

การเต้นร่วมสมัยของผู้ออกแบบอิสซาเบลล์ ชาด จะทำให้คุณพบว่าสิ่งที่น้อยที่สุด อาทิ การหมุนไปเรื่อยๆ ตลอดการแสดงโดยไม่หยุดนิ่ง จะทำให้เกิดจินตภาพในแบบที่ไม่คาดคิดปรากฎขึ้นบนเวที ด้วยความสามารถที่เฉพาะตัวของนักแสดงนาอิมา เฟร์เร่ ทำให้เธอสามารถควบคุมแกนและน้ำหนักในการหมุนในระยะเวลาอันยาวนาน

Photography: Dieter Hartwig

“Blanc”
วาเนีย วาโน (Vania Vaneau)
(2014, ฝรั่งเศส/การเต้น)
www.arrangementprovisoire.org
สถานที่: ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / 20 พ.ย. เวลา 19.30 น.
พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม / 23 พ.ย. เวลา 19.00 น.

การเต้นร่วมสมัยเชิงแนวคิด (Conceptual Dance) ของวาเนีย วาโน กับนักกีตาร์ ซิมง ดีจูด เป็นการหมุนของวาเนียอย่างต่อเนื่องกับการใส่ชิ้นผ้าที่มากมาย นำไปสู่สภาวะจิตใต้สำนึกที่เห็นตัวตนอันหลากหลายในร่างเดียว เกิดมุมมองเชิงจิตวิญญาณระหว่างความจริงกับจินตนาการ

Photography: Gilles Aguilar

“Momentum”
CocoonDance
(2016, เยอรมนี/การเต้น)
www.cocoondance.de
สถานที่: พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม / 24 พ.ย. 19.00 น. และพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน / 26 พ.ย. 18.30 น.

จิตติ ชมพี ผู้อำนวยการเทศกาล Unfolding Kafka ได้เข้าชมงานแสดงชิ้นนี้เมื่อครั้งไปเยือนงาน Tannzplatform Germany 2018 ที่เมืองเอสเซน และได้เห็นความน่าสนใจของพลังการรับส่งระหว่างนักแสดงอันเปี่ยมล้น ผ่านสัญชาตญานที่คล้ายคลึงกับสัตว์ป่าอันก้าวร้าวที่อยากจะหลุดออกจากกรง และตกใจกับการได้พบเห็นคนเฝ้าล้อมดูอยู่รอบๆอย่างไม่คุ้นเคย ผู้ชมจะได้รับบรรยากาศราวกับเข้าชมสัตว์ป่าที่ถูกกันขังในสวนสัตว์

Photo by Klaus Fröhlich & Fa-Hsuan Chen
“L’Homme de boue”
คณะละครสัตว์ Le Jardin des délices
(2014, ฝรั่งเศส/ละครสัตว์)
www.cielejardindesdelices.com
สถานที่: พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม 24 พ.ย. เวลา 19.00 น. และศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / 27 พ.ย. เวลา 19.30 น.

เทศกาล Unfolding Kafka เปิดให้ผู้ชมทุกวัยได้สัมผัสการแสดงละครสัตว์ฝรั่งเศสในรูปแบบใหม่ เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะประติมากรรมและการเล่นกลละครสัตว์เข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้แนวคิดที่ว่า ร่างกายของมนุษย์จะถูกหลอมรวมไปกับคุณสมบัติของความเป็นโคลน การเคลื่อนไหวร่างกายจะทำให้สสารอินทรีย์ของโคลนกับร่างกายถูกหลอมรวมกันเป็นหนึ่งจนกลายเป็นมนุษย์โคลน การแสดงเดี่ยวนี้ถือว่าเป็นการแสดงละครสัตว์ร่วมสมัยที่คนไทยไม่ควรพลาดในเทศกาลครั้งนี้

Photography: Christophe Raynaud de Lage

“Hard to Be a God”
จอห์น์ โฮเมาและโฮเมอู ฮูนา (John Romão & Romeu Runa)
www.johnromao.com
(2017, โปรตุเกส/การแสดง)
สถานที่: ห้องสมุดเนียลสัน เฮยส์ / 6-7 ธ.ค. เวลา 19.30 น.

สำหรับการแสดง “Hard to Be a God” ผู้ชมจะได้ประสบการณ์การเข้าชมที่ต้องมองผ่านกระจกใสซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแยกผู้ชมจากการแสดง เสมือนการเข้าชมสัตว์ในสวนสัตว์ สร้างปรากฎการณ์การชมการแสดงที่แตกต่างออกไปราวกับว่าสัตว์นั้นอาจจ้องมองดูเราในฐานะที่เราเป็นสัตว์ที่ถูกกักขังเช่นเดียวกับพวกเขา

*การแสดง ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ชมอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามถ่ายภาพ วิดีโอ กรุณาเข้าชมด้วยความสำรวม

หมายเหตุ: เนื่องจากการแสดงเนื้อหาบางส่วนที่ไม่เหมาะสม ผู้ชมควรใช้วิจารณญาณในการรับชม
Photography: ©brunosimao

“The Flat”
ญาน ชวางก์ไมเยอร์ (Jan Svankmajer)
(1968, สาธารณรัฐเช็ก/ภาพยนตร์สั้น)
สถานที่: ห้อง Goethe Saal สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย / 16 พ.ย. เวลา 11.00 น.

ชายผู้ขี้สงสัยจนไม่ค่อยดีกับตัวเองเท่าไหร่นัก ถูกขังให้อยู่ในอพาร์ตเม้นท์ที่ทุกอย่างดูผิดเพี้ยนไปจากกฎของธรรมชาติ ความพยายามในการรับประทานอาหารของเขาก็ไม่ประสบความสำเร็จเพราะว่าช้อนกลาย เป็นกระชอน ไข่หนึ่งฟองหนักเป็นตัน และโต๊ะที่มีรูเต็มไปหมด แม้กระทั่งเตียงก็กลายเป็นอะไรก็ไม่รู้ ราวกับเป็นการก่อจราจลของสิ่งของในชีวิตประจำวัน

“The Trial”
จอห์น วิลเลียมส์
(2018, ญี่ปุ่น/ภาพยนตร์และเสวนา)
สถานที่: ห้อง Goethe Saal สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย 16 พ.ย. เวลา 13.00 น.

นิยายอมตะของคาฟคาถูกนำมาตีความใหม่โดยมีฉากหลังเป็นมหานครโตเกียวในปัจจุบัน ผู้กำกับชาวญี่ปุ่น/เวลส์ จอห์น วิลเลียมส์ย้ายเรื่องราวของคาฟคาที่เต็มไปด้วยความหวาดระแวง ความละอายต่อบาป และ ความกังวลในการดำรงอยู่ เข้ามาในญี่ปุ่นสมัยใหม่ โครงการนี้ริเริ่มจากเวิร์คชอปนักแสดง ที่จัดแสดงเป็นละครในปี 2015 หลังจากนั้นในปี 2017 ได้ถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ด้วยบทที่ปรับใหม่เกือบทั้งหมด จนกระทั่งถ่ายทำเสร็จสิ้นในต้นปี 2018 ที่ผ่านมา

ความลึกลับชวนขบขันที่ดำมืดมาพบกับการเหน็บแหนมความบ้าบอของระบบราชการญี่ปุ่น ในช่วงเวลาที่เรียกว่ายุค ‘หลังความจริง’ นิยายของคาฟคานั้นเผลอๆ จะเข้ากันกับทุกวันนี้มากกว่าที่มันเคยเป็น เรื่องราวของคนหนึ่งที่ตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าเขาถูกจับด้วยคดีที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงนั้นมีเสียงสะท้อนแบบใหม่ ภาพยนตร์ดังกล่าวยังคงไว้ซึ่งแนวทางอัตถิภาวะสากลซึ่งเป็นธีมหลักของคาฟคา ในขณะเดียวกันกับที่เสียดสีระบบราชการของญี่ปุ่นและการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองที่เริ่มเข้าสู่การเป็นฝ่ายขวา

นักแสดงภาพยนตร์ในเรื่องประกอบไปด้วย ซึโตมุ นิวะ (Tsutomu Niwa) ซึ่งเคยร่วมงานกับวิลเลียมในภาพยนตร์ก่อนหน้าสองเรื่อง และเป็นส่วนหนึ่งในนักแสดงหน้าใหม่ที่โดดเด่น และยังมีนักแสดงหน้าเก่าที่เป็นที่รู้จัก อย่างเช่น โทรุ ชินะกะวะ (Toru Shinagawa) และ โชเอย์ ทาคาฮาชิ (Choei Takahashi) นอกจากนี้ยังมี ยาจูโระ บันโด (Yajuro Bando) นักแสดงคาบูกิที่ปรากฎเป็นแขกรับเชิญครั้งแรกในรอบ 11 ปี

“Shinpan (The Trial)”
ชูจิ เทรายามะ
(1975, ญี่ปุ่น/ภาพยนตร์)
สถานที่: สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย / 17 พ.ย. 13.00 น.

คดีความ (1975) เปิดฉากด้วยชายคนหนึ่งตอกตะปูลงบนถนนในเมืองก่อนที่ระเบียบสังคมปกติจะถูกทำลายลงและ ‘ความวุ่นวาย’ ได้แพร่ขยายกลายเป็นการร่วมมือกันของผู้ชมที่มีความรุนแรง เทรายามะสร้างผลงานชิ้นนี้เพื่อฉายบน ‘หน้าจอ’ ที่ประกอบสร้างอย่างพิเศษและเปิดให้เห็นฉากจบที่เต็มไปด้วยสีขาว ราวกับการเชิญชวนให้ผู้ชมละทิ้งตำแหน่งของพวกเขาในฐานะผู้ชม เพื่อเข้ามาครองอำนาจและตอกตะปูลงบนพื้นผิวของภาพดังกล่าว
คำถามเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในงานของชูจิ เทรายามะ ที่มักจะเต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ที่โดดเด่นบนพื้นที่จำกัดระหว่างความเป็นจริงและจินตนาการ งานของเขาทำให้ระลึกถึงเรื่องเล่ามหัศจรรย์ของตำนานพื้นบ้านญี่ปุ่นซึ่งเปลี่ยนใบหน้าหนึ่งให้กลายเป็นอีกหน้าหนึ่งได้ เทรายามะผู้เป็นทั้งคนทำหนัง กวี นักเขียนบทละครวิทยุและละครเวที นักเขียนบทความ ช่างภาพ รวมไปถึงนักแทงม้า (ที่มีอรรถกถาจำนวนไม่น้อยกว่าแปดเล่มที่เขียนถึงเขา) ถูกกล่าวขานโดย อากิฮิโกะ เซนดะ (Akihiko Senda) นักวิจารณ์ละครเวที ว่าเป็น ‘อะวองการ์ดนิรันดร์’ (the eternal avant-garde) เทรายามะนั้นทำงานที่มักจะสื่อถึงกันซึ่งมักจะสร้างวิสัยทัศน์ที่น่าสนใจและผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตามที่เขาเลือกทำ

“Selbstkritik eines bürgerlichen Hundes (Self-Criticism of a Bourgeois Dog)”
จูเลียน ราดไมเออร์ (Julian Radlmaier)
(2014, เยอรมนี/ภาพยนตร์)
สถานที่: สถาบันเกอร์เธ่ ประเทศไทย / 17 พ.ย. เวลา 14.00น.

สุนัขกระฎุมพีและอดีตคนทำหนังสารภาพว่าเขากลายเป็นเจ้าสี่ขาได้อย่างไร จากการผิดหวังในความรัก การเด็ดแอปเปิ้ล และการปฏิวัติ ภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นภาพยนตร์แนว ชวนหัวเกี่ยวกับการเมืองด้วยลีลาการหักมุมที่น่าหลงใหล

การประกาศศรัทธาต่อแนวคิดนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่การนำสิ่งที่คิดและพูดมาทำเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คนทำหนังต้องเผชิญหน้ากับความจริงที่ชวนหัวทั้งใน ‘อัตวิพากษ์ของสุนัขกระฎุมพี’ และนอกจอ ด้วยการเล่าเรื่องผ่านอารมณ์ขันที่เข้าขั้นบ้าบอคอแตกอย่างที่เห็นจากชื่อเรื่องแล้ว จูเลียน ราดไมเออร์ นักเขียน ผู้กำกับและนักตัดต่อชาวเยอรมัน จึงได้แสดงเป็นตัวละครชื่อเดียวกันนี้ที่อ้างว่า จะทำภาพยนตร์เกี่ยวกับโลกในอุดมคติของมาร์กซิสเพื่อทำให้สาวประทับใจ

“VRwandlung”
ไมก้า จอห์นสัน (Mika Johnson)
(2018, สาธารณรัฐเช็ก/นิทรรศการและกิจกรรมเชิงการเรียนรู้)
สถานที่: ห้องสมุด สถาบันเกอเธ่ /16 พ.ย. – 15 ธ.ค.

“ขณะที่เกรกอร์ ซามซาลืมตาขึ้นมาจากฝันร้ายในเช้าวันหนึ่ง เขาพบว่าตัวเองได้กลายร่าง เป็นแมลงขนาดยักษ์” (เมตามอร์โฟซิส, ฟรันซ์ คาฟคา)

‘VRwandlung’ แปลงเรื่องราวบนหน้ากระดาษในงานของฟรันซ์ คาฟคา เข้าสู่โลกความจริง เสมือนหรือ VR ทว่าตัวละครเอกกลับไม่ใช่เกรกอร์ ซามซาอีกต่อไป ทว่าเป็นคุณเอง”

ไมก้า จอห์นสันอธิบาย (www.goethe.de/vrwandlung) Photography: Goethe-Institut Prague

สนใจดูรายละเอียดและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : Website: www.unfoldingkafkafestival.com Email: unfoldingkafkafestival@gmail.com

WIPAVEE (SOM) PATOOMPONG

Press and PR coordinator

T: +66(0)88 622 9988, +66(0)81 969 6160 / E: wivee.som@gmail.com

Website: www.unfoldingkafkafestival.com Email: unfoldingkafkafestival@gmail.com

Unfolding Kafka Festival 2019 Trailer: https://vimeo.com/355271565

You may also like...