Quiet Encounters’ by Dow Wasiksiri

photo 1

นิทรรศการภาพถ่าย  จากมุมสัมผัสภูมิทัศน์อันเงียบเหงา โดย ดาว วาสิกศิริ

ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แสดงงาน 25 สิงหาคม – 15 ตุลาคม 2559

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2559
การเสวนาโดยศิลปิน: 17.00-18.30 น.
พิธีเปิดนิทรรศการ: 18.45-20.30 น.

คำปรารภของศิลปิน
ในการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆ ของบ้านเมือง ได้บันทึกภาพภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อมที่ตนเองได้ประสบพบเห็นระหว่างทางซึ่งมีลักษณะของความเจริญที่หลากหลายผสมปนเปกันไป จนความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทเริ่มไม่ค่อยชัดเจน โดยในการบันทึกภาพเหล่านั้น ไม่ได้สนใจที่จะเอาเรื่องความสวยความงามมาเป็นประเด็น แต่ได้หันไปสนใจในสิ่งที่เรามักจะมองข้ามและเห็นเป็นเรื่องธรรมดากันมากกว่า พร้อมกับมีคำถามต่างๆ นานาเกิดขึ้นมาในใจ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ภาพเหล่านั้นชวนให้อ่านเข้าไปในเรื่องราวเกี่ยวกับรสนิยมและวิถีชีวิตที่ทำให้สังคมไทยได้เปลี่ยนไปจนส่งผลให้ภูมิทัศน์ของสภาพแวดล้อมพลอยเปลี่ยนไปด้วยอย่างที่เห็นกันอยู่

สรรสร้างกันไปในปัจจุบันขณะ – ภูมิทัศน์จากมุมสัมผัสของดาว
บทความโดย ฟิลิป คอร์นเวล-สมิธ

เมืองไทยมีสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติและประเพณีวัฒนธรรมอันงดงามที่น่าตื่นตาตื่นใจอยู่มากมาย ในขณะที่ริมถนนหนทางก็เต็มไปด้วยสรรพสิ่งที่ถูกมองว่าเกะกะไร้ระเบียบอยู่มากมายเช่นกัน ซึ่งที่จริงแล้วสิ่งต่างๆ เหล่านั้นก็มีอะไรที่น่าสนใจให้หันมาดูกันอยู่บ้าง

ในการเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยพร้อมกับกล้องประจำตัว ดาว วาสิกศิริ ได้ประสบพบเห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่คนในพื้นที่ได้สรรสร้างกันขึ้นมา และได้บันทึกภาพเหล่านั้นเอาไว้ ภาพในชุดที่ว่านี้แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เรียกกันว่าความทันสมัยกับทิวทัศน์ธรรมดา

ประเทศไทยมีการพัฒนาในลักษณะของการต่อเติมต่อขยายแบบเฉพาะกิจ หรืออาจเรียกได้ว่าสร้างกันขึ้นมาตามความต้องการในปัจจุบันขณะ คือไม่มีการเก็บรักษาอดีตเอาไว้ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีการวางแผนอนาคตแบบบูรณาการ แต่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะกิจเสียมากกว่า ทำให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ดูแล้วเข้ากันไม่ค่อยได้ แต่ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะทำให้วิถีชีวิตดีขึ้น การทำมาหากินที่สุจริต การยกฐานะครัวเรือน การพัฒนา และการทำให้สิ่งอำนวยความสะดวกดูสดใสขึ้นมา

ผลลัพธ์จากทั้งหมดนี้ก็คือ ความเป็นชนบทได้หายไป แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นเมืองเสียทีเดียว แนวขอบเขตพื้นที่สิ้นสุดของเมืองก็หายไปด้วยและกลายเป็นพื้นที่ชุมชนปริมณฑลชานเมืองกระจายออกไปในรูปแบบที่เหมือนกันหมด

ปรากฏการณ์ที่ค่อยๆ แทรกซึมเข้ามาเช่นนี้ ส่งผลให้ภูมิทัศน์ของประเทศมีลักษณะเก้ๆ กังๆ ที่ทำให้รู้สึกว่าไม่ค่อยลงตัว โดยภาพถ่ายของคุณดาวได้แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์นี้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปริมณฑลชุมชนชานเมือง สิ่งก่อสร้างทั้งหลายดูโดดเดี่ยว เหงาหงอย แต่ก็โดดเด่นอยู่ท่ามกลางบริบทโดยรอบ การก่อสร้างที่กระจัดกระจายก็ทำให้ตัวสถาปัตยกรรมดูขัดกับธรรมชาติและอยู่ผิดที่ผิดทาง เช่นมีเครื่องบินจอดอยู่บนลานของสนามบิน ขณะที่วัวควายพยายามหาความสุขกับโคลนตมที่เหือดแห้งในพื้นที่ที่อยู่ติดกัน ส่วนต้นไม้กับท้องฟ้าก็ดูจืดชืดไปอย่างถนัดเมื่อเทียบกับอาคารที่มีการทาสีกันอย่างฉูดฉาด

บรรดาชาวบ้านทั่วไปต่างก็มีความภาคภูมิใจไปกับการพัฒนาและดูเหมือนว่าไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไรกับการพัฒนาที่เน้นไปในเรื่องของประโยชน์ใช้สอยมากกว่าที่จะสนใจในเรื่องความสวยความงาม ซึ่งในอดีตนั้นเรือนไทยหลังคาจั่วที่สร้างจากไม้สักด้วยฝีมืออันประณีตและมีสีสันเป็นธรรมชาติ จะดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมอย่างสวยสง่า แต่ทุกวันนี้ ความฉาบฉวยและมักง่ายได้ทำให้ภาพอันงดงามในลักษณะนั้นต้องสูญเสียความสุนทรีย์ไป ไม่ว่าจะเป็นการเอาป้ายผ้าประชาสัมพันธ์ไปผูกตามวัดตามวา หรือการเดินสายระโยงระยางที่พันกันวุ่นวายไปหมดตามถนนหนทางทุกหนทุกแห่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงระบบการไฟฟ้าของประเทศไทย ทั้งๆ ที่ปัจจุบันนี้ความทันสมัยหมายถึงการเก็บซ่อนสายต่างๆ เหล่านั้น ส่วนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ติดตั้งกันขึ้นมาบดบังหน้าตาอาคารแทบทั้งหลังก็ได้ทำให้บ้านเมืองกลายเป็นพื้นที่ทางการตลาดไปหมด นอกเสียจากว่าพื้นที่โฆษณาเหล่านั้นว่างเปล่าขายไม่ออกจนทำให้ต้องกลับไปทบทวนเรื่องรูปแบบของวิถีชีวิตที่วาดฝันกันเอาไว้

ทุกวันนี้บ้านเมืองได้ถูกปั้นแต่งขึ้นมาด้วยสิ่งก่อสร้างต่างๆ นานาอันเป็นผลพวงของระบบอุตสาหกรรมที่แทรกซึมเข้าไปในแทบทุกอณูของพื้นที่ทางภูมิทัศน์ ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่ชวนให้ย้อนระลึกถึงความเป็นชนบทก็ยังดูจอมปลอม ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้กระถางที่ถูกกั้นด้วยรั้วพลาสติก ลายฉลุแบบขนมปังขิงที่ประดับอยู่ตามปั๊มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งฝูงกวางคอนกรีตที่ยืนงงกันอยู่บนเกาะกลางถนน

สิ่งที่แทรกซึมเข้ามาอย่างเงียบๆ เหล่านี้ ถึงแม้จะมีขนาดที่ไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ก็ค่อยๆ สะสมก่อตัวกันขึ้นมาเรื่อยๆ จนเปลี่ยนโฉมประเทศไทยไปในที่สุด คล้ายกับการเจาะ การสัก การยกกระชับใบหน้า ที่ทำให้คนเราดูเปลี่ยนไปทีละนิดทีละหน่อย แล้วเสี่ยงกันเอาเองว่าในอีกสิบยี่สิบปีให้หลัง หน้าตาจะออกมาเป็นอย่างไร ดังนั้นโดยรวมแล้ว ภาพภูมิทัศน์ต่างๆ ที่คุณดาวได้ประสบพบเจอและบันทึกเอาไว้จึงเป็นเสมือนกระจกส่องให้เห็นถึงสิ่งที่คนไทยได้เลือกสะสมกันทีละนิดทีละหน่อยในการปรุงแต่งเปลี่ยนโฉมนั่นเอง

**********

หอศิลปวิทยนิทรรศน์
ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330
โทรศัพท์: 02-218-2965 โทรสาร: 02-218-2907
อีเมล์: info.artcenterchula@gmail.com
www.car.chula.ac.th/art
Facebook: The Art Center – Chula
เปิดทำการ จันทร์-ศุกร์: 9.00-19.00 น. เสาร์: 9.00-16.00 น.
ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
photo 6

The Art Center
7th Floor, Office of Academic Resources, Chulalongkorn University, Phyathai Rd, Pathumwan, Bangkok 10330
Tel: 02-218-2965, Fax: 02-218-2907, Email: info.artcenterchula@gmail.com

News Release

Quiet Encounters

Dow Wasiksiri

At The Art Center, Office of Academic Resources, Chulalongkorn University
On Display: August 25–October 15, 2016

On Thursday, August 25, 2016
Artist Talk: 5:00–6:30 p.m.
Opening Reception: 6:45–8:30 p.m.

Artist’s Statement
While travelling around Thailand I took to photographing the landscapes that I encountered in between the places I was visiting. It’s a raw mixture of development that blurs the difference between town and country. I don’t make judgments about what it looks like. Instead I linger quizzically at scenes we tend to glance by without noticing. Through these photographs I want to ponder the tastes and lifestyles that have led Thai society to change our landscape in this way.

‘Building in the Moment: Dow’s Landscapes of Thailand’
Essay by Philip Cornwel-Smith

Thailand beguiles the eye with natural wonders and refined tradition. In between, the unfiltered clutter of roadside Thailand gets dismissed as chaos, but rewards a closer look. Dow Wasiksiri journeyed through the country’s landscape with his camera, encountering what Thais do to their surroundings. This series of images records how scenery and modernity collide.

Thailand has developed ad hoc. This could be called ‘building in the moment’ – not preserving the past intact, nor planning an integrated future, but catering to immediate needs. Each mismatched element reveals an attempt to improve life, to earn a living, to upgrade a home, to civilise the wild, to brighten-up utilities. The result is no longer rural, not quite urban. There are no longer city limits, just unrelieved peri-urban sprawl.

Casual intrusions turn the Thai landscape uneasy. Dow’s images show the effect on peri-urban space; man-made structures feel stranded, even lonely, yet dominate the surrounding vista. The scattered manner of construction makes both nature and architecture look out of place. Airplanes park on runways next to buffalos wallowing in mud. Trees and sky pale beside shophouses painted in Technicolor green and blue.

Thais are proud of their development, and seem not to notice or to mind when it favours function over aesthetics. In the pristine landscape of times past, traditional teak buildings had an aesthetic unity, with their pointed gables, natural hues and hand-hewn timbers. Today’s plasticky trim spoils that romanticised postcard image, whether an inkjet banner on a temple, or the wiring that tangles every streetscape. The knots of cables display Thailand’s electrification, but being modern now means hiding not showing the cables. Advertising covers whole buildings, turning the homeland into a sales pitch – except when unsold blank hoardings question that lifestyle dream.

Now industrial textures intrude upon every panorama, and the land has been sculpted by terraforming. Even reminders of rustic Thailand can feel artificial, like the potted plants behind a plastic barrier, gingerbread tracery on the petrol station, or a herd of concrete deer grazing on a traffic island.

Modest in scale and ambition, these quiet intrusions add up. Together they change Thailand’s character. It’s like how piercings, tattoos or facelifts modify someone’s appearance bit by bit, chancing on how it might look decades later. Dow’s photographic encounters hold a mirror to the Thailand that Thais have incrementally chosen.

**********

The Art Center
7th Floor, Office of Academic Resources, Chulalongkorn University
Phyathai Rd, Pathumwan, Bangkok 10330
Tel: 02-218-2965, Fax: 02-218-2907
Email: info.artcenterchula@gmail.com
www.car.chula.ac.th/art
Facebook: The Art Center – Chula
Monday–Friday 9:00 a.m.–7:00 p.m., Saturday 9:00 a.m.–4:00 p.m.
Closed on Sunday & Public Holidays

photo 2

You may also like...