เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๓๗

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานศิลปะและการออกแบบ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัติรย์รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงจักรี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปกครองแผ่นดินยาวนานกว่า ๖o ปี อันเป็นระยะเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย


และในช่วงเวลาของการครองราชย์นั้นก็ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆที่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันไพศาลต่อประเทศชาติและพสกนิกรชาวไทย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

งานด้านศิลปะและการออกแบบซึ่งในอดีตมักเรียกรวมกันว่า “งานช่าง” นั้น นับเป็นพระราชกรณียกิจอีกด้านหนึ่งที่ได้ทรงมีความสนพระราชหฤทัยยิ่ง

ผลงานด้านศิลปะและการออกแบบตลอดจนงานช่างฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นมีหลากหลายรูปแบบ และมีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ตราบจนปัจจุบัน เช่น การถ่ายภาพ ดนตรี งานจิตรกรรม และการออกแบบเรือใบ เป็นต้น

พระราชกรณียกิจด้านสถาปัตยกรรม
พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางด้านสถาปัตยกรรมนั้น ในที่นี่ หมายถึง โครงการทางด้านสถาปัตยกรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัย หรือเป็นงานฝีพระหัตถ์ โครงการเหล่านี้มีความหลากหลายครอบคลุมความรู้ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรมนั้นเป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีองค์ความรู้กว้างขวาง ครอบคลุมความรู้ทางด้านศิลปะ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับด้านเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง โครงการทางด้านสถาปัตกรรมซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นสามารถจัดเป็นโครงการสถาปัตยกรรมประเภทต่างๆได้ดังนี้

สถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย
นาวาสถาปัตยกรรม
การอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
ผังเมืองและสิ่งแวดล้อม

พระราชกรณียกิจด้านสถาปัตยกรรม กรณีศึกษาได้แก่
พระราชกรณียกิจด้านนาวาสถาปัตยกรรม
๑. เรือตรวจการณ์ ๙๙๑
๒. เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ๒๕๓๗ รัชกาลที่ ๙
ปีที่ดำเนินการ : พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๓๙
ผู้รับผิดชอบโครงการ : กองทัพเรือ และกรมศิลปากร
เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามเรือพระราชพิธีลำใหม่นี้ว่า  “เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙” และคณะทำงานได้รับพระราชทานแนวทางในการออกแบบเรือลำใหม่ โดยการวิเคราะห์จากชื่อเรือ ซึ่งมีความหมายว่าในการออกแบบเรือลำใหม่นั้น คณะทำงานไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลอกแบบเรือลำเดิมทั้งหมด เนื่องจากเป็นเรือที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๙ ดังนั้นเรือลำใหม่นี้จึงได้รับการออกแบบขึ้นใหม่ แต่ยังคงยึดถือแบบเรือลำเดิมโดยเฉพาะส่วนที่เป็นโขนเรือรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ

“ความเป็นศิลปิน หมายถึง ความสามารถตามธรรมชาติที่จะเห็นความงาม และคิดถึงความงาม เมื่อเกิดความคิดแล้ว ก็ต้องอาศัยวิชาความรู้ หรือเทคนิค เช่น วิชาช่าง เป็นต้น จึงจะแสดงออกมาเป็นจิตรกรรม ปฏิมากรรม หรือศิลปกรรมในลักษณะอื่นๆได้”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕o๗

ข้อมูลจาก : มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

You may also like...