ศาลฎีกา

ออกแบบโดย : พระสาโรชรัตนนิมมานก์(สาโรช สุขยางค์)
สถาปนิกไทยแผนปัจจุบัน
เจ้าของโครงการ :
กระทรวงยุติธรรม
ที่ตั้ง : เลขที่ 6 ถนนราชดำเนินใน
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร
02-2221-3161-70
ประเภทอาคาร :
สถานที่ราชการ
ปีที่ก่อสร้าง : 2486
ขนาดพื้นที่ : –


ศาลฎีกาในปัจจุบันประกอบด้วยอาคารหลายหลัง ซึ่งออกแบบไว้พร้อมกัน แต่ไม่ได้สร้างพร้อมกัน พระสาโรชรัตนนิมมานก์(สาโรช สุขยางค์)
สถาปนิกไทยแผนปัจจุบันเป็นผู้ออกแบบที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไป สำเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรมมาจากประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2456
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับเข้ามารับราชการในกรมศิลปากรตำแหน่งสถาปนิกประจำกรม อาคารสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2476
ที่พระนครและกรุงธนบุรีเป็นฝีมือของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสามคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

กลุ่มอาคารศาลฎีกาประกอบไปด้วยอาคารหลัก 3 หลัง เรียงเป็นรูปตัววี โดยอาคารหลังแรกสร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2486
ซึ่งเป็นวันคล้ายวันที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย อาคารหลังที่สองที่สร้างขึ้นคือ อาคารปีกตัววีฝั่งที่ติดกับคลองคูเมืองเดิม สร้างในปี พ.ศ.2484 ทำพิธีเปิดเมื่อ 24 มิถุนายน 2486 ส่วนปีกอาคารฝั่งถนนราชดำเนินในนั้นไม่ได้ถูกก่อสร้างตามแบบเดิมที่ได้ออกแบบไว้ อันเนื่องมาจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่จะมาเริ่มก่อสร้างใหม่ ภายใต้การออกแบบใหม่ในปี พ.ศ. 2502 ก่อสร้างแล้วเสร็จและทำพิธีเปิดในปี พ.ศ.2506

โดยแนวคิดการก่อสร้างกลุมอาคารศาลนั้นเป็นสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น เนื่องจากการที่ประเทศไทยได้รับเอกราชทางการศาลคืนมาโดยสมบูรณ์
หลังจากที่เคยเสียเอกราชทางการศาลให้กับประเทศต่างๆภายใต้ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ในสนธิสัญญาเบาว์รงในสมัยรัชกาลที่สี่ เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในปี 2481 ได้บันทึกถึงเหตุผลในการก่อสร้างอาคารศาลนี้ไว้ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2481 มีความตอนหนึ่งว่า  “บัดนี้ประเทศสยามได้สร้างเอกราชในทางศาลคืนมาโดยสมบูรณ์แล้ว จึ่งเป็นการสมควรที่จะมีศาลยุติธรรมให้เป็นที่สง่าผ่าเผยเยี่ยงประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการที่ได้อำนาจศาลคืนมา” หลังจากนั้นอีก 23 ปีให้หลังให้มีมติรื้อถอนอาคารโดยสร้างขึ้นในที่เดิมด้วยรูปแบบใหม่คือ “ไทยประยุกต์” ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งสองกลุ่มอำนาจใหญ่ระหว่างกลุ่มคณะราษฎรและกลุ่มอำนาจเก่า แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจในช่วงนั้นจึงได้ยุติในการรื้อถอนใหม่ อีกทั้งยังมีเสียงคัดค้านว่าอาคารศาลฎีกามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูงเชิงการอนุรักษ์และการพัฒนาเมืองเก่าจนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้มีการรื้อฟื้นโครงการขึ้นมาอีกครั้ง

ศาลฎีกาได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมโมเดิร์นตะวันตก โดยแอบแฝงแนวคิดทางการเมืองเข้ามามีบทบาทเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มคณะราษฎ
จะสังเกตได้ว่าในทางเข้าหลักของอาคารศาลฎีกาจะมีเสาหกต้น ซึ่งเป็นการอ้างอิงหลัก 6 ประการของคณะราษฎ “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา” หรืออีกนัยหนึ่งสถาปัตยกรรมได้ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารให้ประชาชนตระหนักว่า กลุ่มคณะราษฎได้มีอำนาจในการรอบคอบแม้กระทั่งอำนาจตุลาการซึ่งเป็นของศาล เมื่อพิจารณาจากระยะเวลาแล้วศาลฎีกาถูกสร้างขึ้นมาอย่างรวดเร็วหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎพยายามสร้างภาพลักษณ์และได้มองเห็นว่าสถาปัตยกรรมที่สำคัญนั่นจะสามารถสะท้อนแนวคิดของคณะราษฎเพื่อปลูกฝังให้เข้าถึงประชาชนได้โดยง่าย และที่ตั้งของศาลฎีกาก็มีความเหมาะสมเป็นอย่างมากหากว่าต้องการให้ประชาชนเป็นจำนวนมากได้มองเห็นถึงอาคารนี้ ดังนั้นคณะราษฎซึ่งได้เลือกสร้างอยู่บนถนนราชดำเนินในบริเวณข้างเคียงสนามหลวง ซึ่งถือเป็นพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่(Urban space) แห่งหนึ่งภายในเกาะรัตนโกสินท์ ที่สนามหลวงแห่งนี้เองได้ประชาชนเข้ามาเพื่อพักผ่อน ทำการค้าขายและกิจกรรมอื่นๆ ความเป็นสถาปัตยกรรมโมเดิร์นนั่นเองได้ตัดทอนรายละเอียด ลวดลายประดับประดาที่ไม่จำเป็นออกไป ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากเวลาที่เพิ่งสร้างอาคารเสร็จจะพบว่าอาคารศาลฎีกาเป็นอาคารที่ทันสมัยมากๆไม่มีหลังคาจั่ว ไม่มีเส้นลวดลายไทยที่อ่อนช้อย กล่าวคือเป็นการปฎิเสธอดีตอย่างสิ้นเชิง ซึ่งอาคารสำคัญมากๆจะมีลวดลายประดับประดาอย่างวิจิตร ยิ่งอาคารใดมีลวดลายมากๆยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญต่อราชงศ์ เจ้าฟ้า อาทิเช่น วัดพระแก้ว เป็นต้น นั่นคือสาเหตุที่คณะราษฎต้องการสื่อว่าประเทศไทยจะถูกปฎิรูปใหม่ให้ทันสมัยต้องการเปลี่ยนภูมิทัศน์ที่สำคัญของเมือง และโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่นั่นเองไม่อาจสร้างหลังคาที่เรียบเสมอไม่ได้ จึงต้องออกกฎหมายห้ามสร้างหลังคาจั่ว ถ้าจำเป็นต้องสร้างหลังคาจั่วให้ก่อผนังปิดแนวหลังคาจั่ว (Parapet) เพื่อให้ดูเหมือนหลังคาทรงตัด จะเห็นได้จากอาคารที่อยู่สองฝั่งของถนนาชดำเนินนั่นไม่มีอาคารหลังใดที่เป็นหลังคาทรงจั่วทั้งเพราะเกิดจากความคิดของกลุ่มคณะราษฎที่ต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของประเทศไทยนั่นเอง

ผู้เขียน : ชุติมณฑน์  เสียงสุทธิวงศ์   5016610098

 

You may also like...