มหัศจรรย์ดนตรีกับชีวิต

ชื่อภาพ  : “Violin Story” (สิงหาคม ๒๕๔o)
ศิลปิน : อวบ สาณะเสน
เทคนิค : สีอะคริลิคและสีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด ๓๖ x ๒๘ นื้ว

ดนตรีกับร่างกาย
เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ดนตรีคลาสสิคมีผลต่อการทำงานและการประสานระบบต่างๆของร่างกายให้สมดุล จากการศึกษาดนตรีบำบัดโดย Ted Andrews, Musical Therapy for Non-Musicians, 1997 พบว่า

ประเภทของดนตรีให้ผลแตกต่างต่อการทำงานของร่างกาย เช่น ดนตรียุคบาโรค ของ Bach, Handel และ Vivaldi จะช่วยในเรื่องระบบการหมุนเวียนโลหิตและหัวใจได้เป็นอย่างดี และเป็นที่นิยมเปิดดนตรีเพลงยุคบาโรคที่ Ted Andrews ศึกษาและแนะนำว่ามีผลดีต่อหัวใจและการหมุนเวียนโลหิต ได้แก่ เพลง The Four Sessons ของ Antonio Vivaldi, Bradenburg Concerto หมายเลข 1 และ 2 ของ Johann Sebastian Bach และ Water Music ของ George Fideric Handel

ในขณะที่ดนตรียุคคลาสสิค จะช่วยในเรื่องระบบย่อยอาหาร จึงเหมาะสำหรับเปิดฟังระหว่างรับประทานอาหาร เช่น Symphony ที่มีการแยกแยะจังหวะการเล่นเป็น Movement และประสานอุปกรณ์นับร้อยชิ้นนี้ เหมาะสำหรับการกระตุ้นระบบประสาทที่มีการโยงใยสูง เช่น Symphony หมายเลข 85 ของ Johann Sebastian Bach และอุปกรณ์ดนตรีที่แตกต่างกันให้ผลต่อระบบต่างๆของร่างกายไม่เหมือนกัน อุปกรณ์ดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน ให้ผลดีต่อระบบหมุนเวียนโลหิต ส่วนเครื่องลมหรือเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย เหมาะสำหรับระบบย่อยอาหาร เป็นต้น

ดนตรีกับการทำงาน
ดนตรีที่นิยมใช้เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ควบคุมอารมณ์ให้รู้สึกมั่นคง ปลอดโปร่ง และจัดระเบียบคลื่นสมองในเด็ก โดยเฉพาะภาวะที่ต้องเผชิญกับความเครียดหรือความกังวล เช่น ในโรงพยาบาล สถานที่ทำงาน หรือการสร้างแรงจูงใจให้รู้สึกมีความสุขในการจับจ่ายใช้สอยในห้างสรรพสินค้า คือ ดนตรีคลาสสิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีของ Mozart (Don Campbell, The Mozart Effect, HarperCollins Publishers Inc., USA 2011)

ดังผลการสำรวจ-วิจัยต่อไปนี้
– Dr.Raymond Bahr, Director of the Coronary Care Unit, Saint Agnes Hospital แห่งรัฐบัลติมอร์ สหรัฐอเมริกาพบว่า คนไข้ใน Critical Care Units ที่ได้ฟังดนตรีเพลงคลาสสิคครึ่งชั่วโมง จะให้ผลเท่ากับการให้ยา Valium 10 มิลลิกรัม
– โรงพยาบาล Saint Mary รัฐวิสคอนซิล สหรัฐอเมริกามีบริการเทปคลาสเซทหูฟังไว้ให้คนไข้เลือกฟังดนตรีทุกพื้นที่ เพื่อสร้างบรรยากาศให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดและความกังวล

ในจำนวน 50 บริษัทธุรกิจชั้นนำในสหรัฐอเมริกา พบว่ามี 43 บริษัทที่ใช้ดนตรีประกอบสถานที่ทำงานและบริการ ทำให้เพิ่มประสิทธิผลการทำงานดังนี้
– Southern Utillity Company ได้ทดลองใช้ดนตรีประกอบการทำงานพบว่า ความผิดพลาดในแผนกการเงินลดลง 37% และเพิ่มผลผลิตในงานส่งใบแจ้งหนี้ได้ 6%
– Fifth Third Bank ในเมือง Cincinnati ได้ทดลองใช้ดนตรีประกอบการให้บริการใน 9 สาขา พบว่าพนักงาน 64% รู้สึกมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นและมีความไว้วางใจระหว่างลูกค้ามากขึ้นด้วย
– ในการสำรวจห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งพบว่า ยอดขายสินค้าแก่ผู้ซื้อที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เพิ่มขึ้นถึง 51% เมื่อใช้ดนตรีประกอบ และเพิ่มขึ้น 11% , 26% ในผู้ซื้อที่มีอายุระหว่าง 26-20 ปี และเกิน 50 ปี เฉลี่ยโดยรวมยอดขายในห้างสรรพสินค้าแห่งนี้เพิ่มขึ้น 17% เมื่อใช้ดนตรีประกอบการบริการ
– ห้างซุปเปอร์มาเก็ตแห่งหนึ่งพบว่า ยอดขายเพิ่มขึ้น 28% เมื่อลูกค้าเดินจับจ่ายซื้อของด้วยบรรยากาศดนตรีท่วงทำนองค่อนข้างช้า
– และจาการศึกษาพบว่า ดนตรีจังหวะช้าเป็นที่นิยมเลือกใช้มากที่สุดในร้านอาหาร

ยุคบาโรค : ให้อารมณ์สงบ ผ่อนคลาย และรู้สึกปลอดภัย
เมื่อเอ่ยชื่อคีตกวี  Vivaldi สิ่งที่ผู้ฟังคนตรีคลาสสิคมักนึกถึงคือเพลง The Four Seasons ซึ่งมีความไพเราะจับใจและเป็นอมตะจนถึงทุกวันนี้
Antonlo Luclo Vivaldi เป็นบุตรของนักไวโอลินผู้มีชื่อเสียงชาวอิตาลี เกิดที่เมืองเวนิส ปี ค.ศ. 1678 มีชื่อเสียงขจรขจาย เขาเดินทางไปเปิดการแสดงทั่วยุโรป ในปี ค. ศ. 1740 Vivaldi เดินทางไปเปิดการแสดงโอเปร่าในโรงละคร ณ กรุงเวียนนา การแสดงเริ่มได้รับการตอบรับจากผู้เข้าชม แต่ไม่นานผู้สนับสนุนโรงละครเสียชีวิตลง อวสานของโรงละครจึงมาถึง Vivaldi ตกอยู่ในช่วงลำบากทุกข์ยาก ถึงกับต้องทยอยขายโน๊ตเพลง Concertos เพื่อเลี้ยงชีวิต และไม่สามารถกลับสู่กรุงเวนิสบ้านเกิดได้ จนกระทั่งป่วยและเสียชีวิตในปี 1741 รวมอายุได้ 63 ปี

ยุคบาโรค : ช่วยสร้างสมาธิ ให้ความรู้สึกมั่นคง เป็นระบบมีระเบียบแบบแผน
เสาเอกของคีตกวีแห่งยุคบาโรคผู้มอบมรดกความงามทางดนตรีไว้ให้โลก ด้วยเพลงที่เรียบง่ายและงดงาม คือ Johann Sebastian Bach ผู้กล่าววาจาอมตะไว้ว่า “ไม่มีอะไรลึกซึ้งเกินกว่า จับให้ถูกบันไดเสียง เล่นให้ถูกเวลา แล้วเครื่องดนตรีจะทำหน้าที่ ที่งดงามของเขาเอง” ผลงานเพลงส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดของ Bach เป็นเพลงสวดในโบสถ์ ในช่วงบั้นปลายของชีวิต Bach ประสบปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้เป็นปัญหาในการเขียนเพลง แม้จำทำการผ่าตัดรักษาหลายครั้งหลายหน แต่ก็นับเป็นอุปสรรคต่อการแต่งเพลง จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ.1750 รวมอายุได้ 65 ปี

ยุคคลาสสิค : สร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้สึกปลอดโปร่ง เกิดสมาธิ และพัฒนาความจำ
Wolfgang Amadeus Mozart  ค.ศ.1756-ค.ศ.1791

ข้อมูลจาก : หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

You may also like...