โรงละครแห่งชาติ

Thailand’s National Theatre predominantly shows Thai Classical drama and features performances of Khon – drama where players wear traditional Thai masks.

These are truly wonderful productions; extremely ornate costumes, excellent lighting – everything you could want. You can see exhibitions of Thai classical dancing and music on the last Friday and Saturday of each month. The theatre does, however, venture into more international aspects of the medium and it’s worth getting hold of their schedule. Sitting through a long Thai language production can be demanding and it is possible to see similar productions at some of Bangkok’s entertainment venues. As a result, unless you really are a theatre aficionado, seeing a play at the National Theatre might not be at the top of your priority list.

จากยุคสมัยแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาการผ่านมานานนับสหัสวรรษ มนุษย์ได้สร้างสรรค์ผลงานที่ยิ่งใหญ่ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมจำนวนมาก แม้ทุกสรรพสิ่งได้ถูกทำลายลงด้วยกาลเวลา แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงปรากฎเป็นหลักฐานความเจริญทางอารยธรรมและมรดกทางภูมิปัญญาสืบมาถึงปัจจุบันคือ โรงละคร ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ ประหนึ่งว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอยู่ในจิตวิญญาณและวิถีการดำรงชีวิตของมวลมนุษยชาติ

แนวความคิดในการสร้างโรงละครได้สืบทอดและมีพัฒนาการตามยุคสมัย ซึ่งบรรดานานาอารยประเทศทั่วโลกได้รักษา พัฒนา และสร้างสรรค์โรงละครขึ้นอย่างวิจิตร ทั้งด้านสถาปัตยกรรม การตกแต่งและระบบเทคนิคอุปกรณ์ เพื่อให้เป็นสถาบันที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ

โรงละครแห่งชาติของไทย : นอกจากเป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ที่ไม่ด้อยไปกว่านานาอารยประเทศแล้ว ยังเป็นสถานที่สำคัญซึ่งเกิดจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่ว่า ศิลปินโขน ละคร ฟ้อนรำ และนักดนตรี จะต้องมีการแสดงออกซึ่งศิลปให้เข้าถึงผู้ดูและผู้ฟัง ศิลปินจึงจำเป็นต้องมีสถานที่แสดงหรือโรงมหรสพ เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะได้รับประโยชน์อันยิ่งใหญ่จากโรงละครแห่งชาติคือ ใช้เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับบรรดามิตรประเทศอัน เป็นรากฐานที่จะทำให้สัมพันธไมตรีระหว่างประเทศกระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ เมื่อกรมศิลปากรได้รับโอนกิจการโขน ละคร และดนตรี จากสำนักพระราชวังมาดำเนินการ ได้ปรับปรุงหอประชุมกรมศิลปากรในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นโรงละครแห่งชาติชั่วคราว และปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ กรมศิลปากรได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงละครแห่งชาติอย่างถาวร ดำเนินการเสร็จสิ้นในปีงบประมาณ ๒๕๐๘

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ เสด็จ พระราชดำเนิน ทอดพระเนตรการแสดงนาฏศิลปไทยในวโรกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘ นับเป็นปฐมฤกษ์ของการดำเนินกิจการโรงละครแห่งชาติเป็นต้นมา

จากปฐมฤกษ์แห่งการดำเนินกิจการโรงละครแห่งชาติมาถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลากว่า ๔๐ ปี โรงละครแห่งชาติได้ทำหน้าที่สนองตามแนวพระราชดำริแห่งองค์พระมหาธีรราชเจ้า ทำให้ศิลปินมีสถานที่สำหรับแสดงออกซึ่งศิลป ทำให้ศิลปสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติตราบถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น โรงละครแห่งชาติยังได้เป็นสถานที่สำหรับจัดงานรับรองพระราชอาคันตุกะและอาคันตุกะจากต่างประเทศ ในคราที่มาเยือนประเทศไทยได้อย่างสง่างามสมเกียรติยศศักดิ์ศรี ทั้งยังเป็นสถานที่เผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลป วัฒนธรรมกับบรรดามิตรประเทศได้อย่างสมบูรณ์
ที่มา : สำนักการสังคีต

You may also like...