Category: INTERVIEW

เสริมคุณ คุณาวงศ์

Spirit of Art เสริมคุณ คุณาวงศ์  มีคำกล่าวที่ว่า ศิลปะคือศาสตร์ซึ่งแสดงความเป็นอารยะของมนุษย์ แต่กระนั้นก็ตาม ปัจจุบันนี้จะโดยยอมรับได้หรือไม่ก็แล้วแต่ ศิลปะกลับกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมหมางเมิน หลงลืม และปราศจากจิตใฝ่ให้ความสำคัญ จะด้วยมองว่าสูงส่งเกินปีนบันไดเสพ หรือเปล่าไร้ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตก็ตาม ทำให้ศิลปะในวันนี้คือแวดวงที่เปลี่ยวร้าง เงียบเหงา พานให้เศร้าหมอง

สมบัติ โสตถิวรนันทน์

“ผมชอบศิลปะพอๆ กับรถคลาสสิค…” เป็นการเริ่มต้นบทสนทนาซึ่งทำให้เราได้รู้จักตัวตนอีกแง่มุมหนึ่งของ สมบัติ โสตถิวรนันทน์ นายกสมาคมรถคลาสสิคแห่งประเทศไทยคนล่าสุด แม้ว่าคนทั่วไปรู้จักเขาในฐานะผู้นิยมรถคลาสสิคเป็นชีวิตจิตใจก็ตาม แต่คำพูดที่เขาเน้นย้ำเสมอคือ “…รถยนต์โดยเฉพาะรถคลาสสิคเป็นงานศิลปะซึ่งเคลื่อนที่ได้”

กอบลาภ ไทยทัน

อาจเพราะวิถีชีวิตคนไทยผูกพันอยู่กับสายน้ำ จึงส่งผลให้ฝีไม้ลายมือในการสร้างเรือถูกปลูกฝังอยู่ในสายเลือด ซึ่งหากประชันในระดับนานาชาติแล้วความสวยงามโดดเด่นและคุณภาพย่อมไม่แพ้ช่างฝีมือชาติอื่น

บรรณ บริบูรณ์

ไม่แปลก ที่คนเราจะมีความชอบในหลายๆ อย่าง และทำให้ความชอบนั้นยกระดับขึ้นมาเป็นงานอดิเรก ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกอีกนั่นแหละ ที่ใครสักคนจะมีงานอดิเรกหลายอย่าง เพราะเขาชอบหลายอย่าง แต่คงมีไม่กี่คน (ซึ่งไม่เกี่ยวกับแปลกหรือไม่แปลก) ที่จะยกระดับงานอดิเรกที่ตนชื่นชอบ ให้กลายเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้

ฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที

การเป็นนักสร้างสรรค์หากป่าวประกาศร้องตะโกนให้คนอื่นนิยมยินดีในผลงานของตนจนเกินงามย่อมไม่ใช่วิสัยที่ดีนักสำหรับศิลปิน แต่ในด้านของงานศิลปกรรมซึ่งได้ฝากไว้ตลอดเส้นทางการทำงานกว่า 32 ปี การล้มลุกคลุกคลานไปพร้อมกับรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียน้ำตา เป็นเบ้าหลอมให้เส้นทางเดินไปกับปลายพู่กันและดินสอร่างแบบที่มีคุณค่าเหนือการตีราคาค่างวด พิสูจน์ได้จากที่ผ่านมาชื่อของ ฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรักษาการณ์ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แทบจะไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนักในเบื้องหน้า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบุคลิกสันโดษและรักสงบ รวมถึงผลงานที่สร้างนั้นเรียกได้ว่าทำให้เขาเป็นคนเบื้องหลังอย่างเต็มตัว แต่หากเอ่ยถึงฉากอันวิจิตรตระการตาของโรงละคร อาทิ สยามนิรมิต คิงคองไอส์แลนด์ ภูเก็ตแฟนตาซี ฯลฯ คือเสี้ยวหนึ่งของงานอันการันตีประสิทธิภาพและอัจฉริยภาพในการสร้างสรรค์งานศิลป์ของเขาได้เป็นอย่างดี

มกร เชาว์วาณิช

“ความฝันของผมคืออยากที่จะสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไทย Brand ไทย เพื่อโชว์ศักยภาพของความเป็นไทยให้ชาวต่างชาติได้เห็นครับ” คุณมกร เชาว์วาณิช นายกสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์แห่งประเทศไทย บอกเล่าให้เราฟังถึงความฝันสูงสุดในชีวิต ภายในอาคารสำนักงานของบริษัท Cerebrum Design ย่านสีลม ที่ตัวคุณมกรเองเป็นผู้บริหารอยู่

สนานจิตต์ บางสพาน

นัดชนแก้วกับ สนานจิตต์ บางสพาน   ผมว่าผมเป็นคนเซ็นทิเมนทอลและโรแมนติกกว่าที่คนคาดเยอะนะ คนจะดูว่าผมหยาบคายพูดคำสบถคำแต่มันเป็นคาร์แร็กเตอร์ของผม คือเป็นคนปากกับใจตรงกัน ไม่ดัดจริต ชอบก็บอกว่าชอบ ไม่ชอบก็บอกไม่ชอบ อย่างเมียผม 2 คนเนี่ย (คนแรกเสียไปแล้ว) คนที่สองคบกัน 3 เดือน ผมถามเขาเลยว่า ผมชอบคุณมาเป็นผัวเป็นเมียกันมั๊ย ก็แค่นั้นเองไม่เห็นต้องอ้อมค้อมอะไรเลย

กมล สุโกศล แคลปป์

สำหรับคนทั่วไปชื่อของ กมล สุโกศล แคลปป์ หรือ สุกี้ วงพรู อดีตผู้บริหาร เบเกอรี่มิวสิค เป็นที่รู้จักในวงกว้างกว่า กมลา สุโกศล (กระทั่งเพลง Live and learn ที่ บอย โกสิยพงศ์ แต่งขึ้นและขับขานด้วยน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของเธอ ได้รับการยอมรับ) แต่ในแวดวงธุรกิจชื่อของ นายห้างกมล สุโกศล ผู้เป็นตา และ กมลา สุโกศล ผู้เป็นแม่ คือสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งสามารถสร้างและสานต่อธุรกิจฝ่าฟันปัญหาหยัดยืนได้ถึงวันนี้

ทวีเวท ศรีณรงค์

ต้นปีพุทธศักราช 2551 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สื่อมวลชนต่างนำเสนอพระกรณียกิจ มูลนิธิ และโครงการในพระอุปถัมภ์ สู่สาธารณชนอย่างต่อเนื่อง โดยหนึ่งในนั้นคือดนตรีคลาสสิคที่ทรงโปรดปราน อันเป็นที่มาของการรับรู้เรื่องราวเกี่ยวเนื่องกับดนตรีคลาสสิคในวงกว้าง ซึ่งอานิสสงส์ดังกล่าวส่วนหนึ่งได้ทอประกายแสงแห่งโอกาสให้ เป้-ทวีเวท ศรีณรงค์ นักเรียนทุนดนตรีคลาสสิคในพระอุปถัมภ์ฯ คนแรก ซึ่งต่อมาคือนักไวโอลินคนไทยคนแรกที่ได้ขึ้นแสดง ณ คาร์เนกี้ฮอล์ (Carnegie Hall) เวทีที่นักดนตรีมักถือว่าเป็นจุดสูงสุดในชีวิต เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในหมู่คนไทย หลังจากตระเวนสั่งสมประสบการณ์สร้างชื่อเสียงระดับโลกมานานนับสิบปี

อภินันท์ โปษยานนท์

ศ. ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม สุนทรียศาสตร์เหล่านี้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านความรู้สึกที่กลั่นออกมาจากสำนึกอันละเอียดอ่อนทว่าทรงพลังของศิลปินผู้รังสรรค์ แม้เมื่อวันเวลาผันผ่าน ศิลปะจะมีพัฒนาการไปตามยุคตามสมัย แต่คุณลักษณะและเจตคติในการสะท้อนสังคม และประคับประคอง จิตวิญญาณปวงชนยังคงเดิม

เศกพล อุ่นสำราญ

ในส่วนของดนตรีแจ๊สในบ้านเรามีการพัฒนาขึ้นมากๆ อันที่จริงผมไม่อยากเอามาอ้างหรอกแต่ก็เป็ฯความจริงว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะดนตรีแจ๊สเป็นแนวดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรด นั่นทำให้ดนตรีแนวนี้เป็นที่สนใจของคนทั่วไป แล้วคนที่หลงเสน่ห์ดนตรีแนวนี้ก็มีมากขึ้นเรื่อยๆด้วยเหตุผลต่างๆกัน สุดท้ายแจ๊สก็กลายเป็นแนวดนตรีที่ผมคิดว่าค่อนข้างผูกพันกับคนไทย

นิธิ สถาปิตานนท์

สถาปนิก – นิธิ สถาปิตานนท์  ผลงานอันทรงคุณค่าที่ฝากไว้ให้เราได้เห็นในงานออกแบบสถาปัตยกรรมหลากหลายประเภททั้งที่เป็นโครงการของราชการและเอกชน นิธิ สถาปิตานนท์ เป็นผู้บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท สถาปนิก 49 จำกัด หรือ A49 บริษัทออกแบบชั้นแนวหน้าของไทย ซึ่งมีผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น อาทิที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ฯลฯ

ภูเบศวร์ โหยประดิษฐ์

ในจำนวนศิลปะที่เกี่ยวพันกับชีวิตมนุษย์นั้น สถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวและอธิบายตัวตนของผู้คนที่มันเข้าไปเกี่ยวข้องได้มากที่สุด การรังสรรค์งานศิลปะแขนงนี้จึงค่อนข้างซับซ้อนทั้งวิธีสร้างและวิธีคิด ต้องอาศัยทั้งความรู้. ความชำนาญและรสนิยมของศิลปินเอง โดยผ่านกระบวนการศึกษาเฉพาะทางที่เข้มข้น

สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์

เกือบจะในทันทีที่เชโรกีคันงามพาหนะของเราเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนดินสายเล็กๆซึ่งแยกออกจากถนนเลียบคลอง 11 ภาพของทุ่งข้าวสีเขียวมรกตก็ตระการตาอยู่เบื้องหน้าและทำให้เคลิบเคลิ้มอยู่นาน  ที่ริมท้องทุ่งนี้เองคือที่ตั้งของ ‘เรือนศิลป์แสนขัติยรัตน์’ สถานที่ซึ่ง ผศ.สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ ใช้เป็นที่สร้างสรรค์ผลงานอันบรรเจิดของเขา

อุทัยพันธุ์ จารุวัฒนกิตติ

King of Erotic อุทัยพันธุ์ จารุวัฒนกิตติ “เราจะเก็บสะสมของที่ชาวบ้านไม่ค่อยเก็บกัน สะสมมาทั้งหมดกว่า 20 ปี” คุณอุทัยพันธุ์ จารุวัฒนกิตติ เจ้าของ SIAM FORBIDDEW EROTIC ARTS PRIVATE COLLECTION “KAMAVIJITRA” กล่าวขณะพาเราเยี่ยมชม “กามาวิจิตรา” ห้องแสดงงานศิลปะเชิงสังวาสแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย จัดแสดงภาพจิตรกรรมและประติมากรรมศิลปะเชิงสังวาส (Erotic Arts) ตั้งแต่ขนาดจิ๋วกระทั่งเท่าของจริงนับร้อยชิ้นที่ตัวเขาเป็นเจ้าของ

อัจฉรา กิจกัญจนาสน์

อัจฉรา กิจกัญจนาสน์ ‘บางคนมีจินตนาการเพื่อดำรงชีวิตไปวันๆ ให้มันมีความสุข…แต่เราเอาจินตนาการและความรู้มาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง’ หญิงสาวผู้ชูธงรบกับอคติจากสังคมรอบข้าง อัจฉรา กิจกัญจนาสน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตนา แอนนิเมชั่น สตูดิโอ จำกัด และโปรดิวเซอร์ ‘ก้านกล้วย’ ภาพยนตร์การ์ตูนแอนนิเมชั่นที่ประสบกับทั้งคำสบประมาทและแรงเชียร์ แต่ในที่สุด ก้านกล้วย ก็ประกาศศักดาแล้วว่าฝีมือคนไทยไม่น้อยหน้าวอลท์ดิสนีย์

ดวงฤทธิ์ บุญนาค

สถาปนิกดัง นักออกแบบสุดเก๋ไก๋ คุณ ดวงฤทธิ์  บุญนาค  แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนเราชาว Art ในงาน Artbangkok symposium 2011 ครั้งที่ 1 หัวข้อ “ศิลปะเพื่อยกระดับความคิดและสติปัญญาของมวลชน” เลยอดไม่ได้ที่จะขอสัมภาษณ์ไถ่ถามเรื่องราวเกี่ยวกับงาน Art ในบ้านเรา

โตมร ศุขปรีชา

บรรณาธิการหนุ่มแห่งนิตยสาร GM นักเขียนและนักแปลชื่อดัง  ทั้งคอลัมน์ประจำและไม่ประจำในหนังสือต่างๆมากมาย   คุณโตมร มีแง่มุมในการมองโลกที่แตกต่างและน่าสนใจ  เห็นได้จากปลายปากกาในแต่ละเรื่องที่ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ ให้เราได้ติดตามกัน   ในงาน Artbangkok symposium 2011ครั้งที่ 1 หัวข้อ “ศิลปะเพื่อยกระดับความคิดและสติปัญญาของมวลชน”คุณโตมรได้แสดงสารัตถะสำคัญเกี่ยวกับงานศิลปะเอาไว้อย่างน่าฟัง

ม.ล.จิราธร จิรประวัติ

ม.ล.จิราธร จิรประวัติ ได้ชื่อว่าเป็นคนที่มีบทบาทในชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรดักส์ดีไซเนอร์ ครูสอนชงชา เป็นอาจารย์ด้านโฆษณา เป็น Food Stylist หรือนักจัดอาหารและทำอาหาร หรือจะเป็น Fashion Stylist, Fashion Designer รวมถึงเป็นครูสอนศิลปะที่มีชื่อ และมีลูกศิษย์เป็นที่ยอมรับของสังคม เขาเขียนหนังสือด้านอาหารและงานสถาปัตยกรรมมาแล้ว

วสันต์ สิทธิเขตต์

ผมเชื่อว่า…ศิลปินเกิดมาพร้อมกับหน้าที่อันยิ่งใหญ่ หากกรอบของงานศิลปะมีอยู่จริง ศิลปินทุกคน คงกู่ร้องหาชีวิตนอกกรอบกันสุดเสียง แต่กรอบความคิดในเรื่องหน้าที่ของศิลปิน ความรับผิดชอบต่อศิลปะที่มีต่อสังคม มองผ่านสายตาของศิลปินนอกกรอบที่ผู้คนในวงการศิลปะพากันชี้นิ้วว่าเป็น BAD BOY คนนี้ มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา และเสมอต้นเสมอปลายอย่างน่าชื่นชมจนแทบจะยกย่องได้ว่า วสันต์ สิทธิเขตต์ เป็นหนึ่งในศิลปินจำนวนไม่มากนักในประเทศนี้ ที่สามารถสร้างงานศิลปะเพื่อรับใช้อุดมการณ์ทางสังคมมาตลอด แม้จะถูกค่อนขอดบ้างในวิถีทางการนำเสนอที่ค่อนข้างดิบ จนดูหยาบ ด้วยการแสดงออกที่ฉับไว จนหลายคนสงสัยว่าเขาคงไม่มีเวลาให้กับการตกตะกอนทางความคิด 

อรรถ สุนทรวโรภาส

อรรถ สุนทรวโรภาส ช่างภาพอิสระ และอดีตช่างภาพประจำนิตยสารสเกล (SCALE) เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการเข้ามาทำงานถ่ายภาพว่า “ มันเริ่มจากตอนเด็กๆ เล็กเลยครับที่เห็นพ่อถ่ายรูปขาวดำ รูปครอบครัว รูปผม แล้วมันดูมหัศจรรย์มากสำหรับตอนนั้น แต่คนที่สอนผมจริงๆ คือน้าชายที่เป็นอาจารย์มัธยมประจำห้องโสต ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง หรือบางทีผมก็ซื้อหนังสือมาอ่าน หรือดูเทคนิควิธีการถ่ายภาพเองบ้าง ผมคิดว่าการเริ่มต้นที่แท้จริงน่าจะอยู่ที่ความสนใจ คือผมสนใจการถ่ายภาพ 

สมใจ ไรซ์

ภาพชาวนาฟาดข้าวธรรมดาๆ ภาพหนึ่งที่มองแล้วอาจจะไม่ได้สวยเลิศเลอ หรือมีคุณค่าสักเท่าไรถ้าเทียบกับภาพศิลปะอื่นๆ แต่ภาพนี้กลับมีคุณค่าทางจิตใจมากสำหรับศิลปินผู้หลงใหลในความเป็นไทยอย่าง สมใจ ไรซ์ ที่ถ่ายทอดความรู้สึกจากปลายพู่กันที่ถูกแต่งแต้มสู่ผืนผ้าใบ เพียงเพื่อต้องการจะถ่ายทอดเรื่องราวและวิถีชีวิตของคนไทยไว้เป็นความทรงจำในขณะที่โลกก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดนิ่ง และแม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายสิบปีแล้วก็ตามในการเข้าสู่วงการสีน้ำ แต่ภาพนั้นยังเป็นภาพแห่งความทรงจำที่ไม่เคยลืมเลือนเลย 

วิสามัญเมือง สิทธิเขตต์

ในแต่ละวัฒนธรรมเส้นแบ่งระหว่าง ‘ ศิลปะ ‘ และ ‘ ความโป๊เปลือย ‘ ของการเปลือยกาย ( nude) นั้นวางอยู่บนบรรทัดฐานที่แตกต่างกันไป เล่ากันว่าหากจับเอาผู้หญิงเปลือยชาวอังกฤษ ญี่ปุ่น และเยอรมัน มายืนต่อหน้าธารกำนัล ปฏิกิริยาที่ผู้หญิงแต่ละชนชาติแสดงออกก็จะไม่เหมือนกัน 

ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล

ภาพถ่ายบุคคลเป็นภาพถ่ายประเภทแรกสุดที่มนุษย์ในโลกยุคใหม่รู้จักหรือคุ้นเคยในฐานะภาพแทนตัว คงจะไม่ใช่การกล่าวเกินจริงแต่อย่างใด หากจะพูดว่า ภาพถ่ายบุคคลถือกำเนิดขึ้นพร้อมๆ กับประวัติศาสตร์การถ่ายภาพ เพราะมันทำหน้าที่บันทึกภาพของทั้งคนเป็นและคนตายมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าร้อยห้าสิบปี 

นิรันดร์ ชุณหชาติ

นิรันดร์ ชุณหชาติเริ่มทำงานภาพถ่ายพร้อมๆ กับการทำงานตกแต่งภาพ ( Retouching) ตั้งแต่ที่อเมริกายังไม่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตกแต่งภาพ      ( Photoshop) การทำงานในแล็บตกแต่งภาพจึงกลายเป็นเหมือนการฝึกฝนและเรียนรู้เทคนิควิธีทางภาพถ่ายในแบบละเอียดถี่ถ้วน 

นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์

เรียบเรียงและสัมภาษณ์ โดย สุรกานต์ โตสมบุญ และ วิภาช ภูริชานนท์     Q : ในการทำงานชิ้นนี้ที่เวนิส (City of Ghost) อาจารย์ได้เห็นสถานที่แล้วคิดเห็นยังไงบ้าง ? A : ผมไปดูสถานที่มาแล้ว แต่คงต้องใช้คำว่าเดินหาที่นะครับ แล้วก็ได้ที่ในวันสุดท้ายก่อนจะเดินทางกลับมา ซึ่งปัญหาของผม คือ ผมไม่ได้อยู่ในที่ตรงนั้นนานพอที่จะทำความคุ้นเคยหรือทำความรู้จักกับสถานที่ และหาทางแก้ปัญหาในรายละเอียด หรือจะคิดอะไรต่อไปจากเดิมที่เรามีอยู่ตรงนั้น ถ้าถามว่าเป็นเงื่อนไขไหม …มันก็คงเป็นเงื่อนไขแน่นอน…ธรรมชาติในการทำงานของผมแล้ว การสร้าง dialogue ในแง่ใดแง่หนึ่งกับพื้นที่เป็นประเด็นที่ผมต้องต้องคิดทุกครั้ง   Q...

นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน

“เราสร้างงานประติมากรรม เพื่อให้งานประติมากรรมสร้างเรา” คือวาทะที่เผยขึ้นพร้อมกับรอยยิ้มที่เปี่ยมไปด้วยไมตรีจิตของศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจำปี 2549 นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ก่อนจะย้อนเล่าถึงจุดเริ่มต้นชีวิตบนถนนสายประติมากรรมให้เราฟัง 

ธาดา วาริช

ธาดา วาริช เป็นหนึ่งช่างภาพรุ่นใหม่ซึ่งมีผลงานเป็นที่น่าจับตามองมากที่สุดคนหนึ่ง งานของเขามีความเซ็กซี่เย้ายวน หรือเขาสามารถดึงเอาคาร์แร็กเตอร์ที่อยู่ภายในแบบออกมา แต่ก็เป็นที่ทราบกันว่า ธาดานั้นมีความถนัดในการถ่ายหลายรูปแบบ หรือมีแนวทางการทำงานที่ค่อนข้างหลากหลาย แต่ในความหลากหลายนั้นกลับทำให้เรารู้สึกได้ว่านี่เป็นผลงานที่มีลายเซ็นของศิลปินคนเดียวกัน 

ทวีชัย เจาวัฒนา

ภาพถ่ายไม่เคยเงียบใบ้ หากมันได้สื่อความหมายบางอย่างออกมาด้วยเสมอ นี่คือหลักการพื้นฐานที่ทำให้งานภาพข่าวต้องบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นจริง เพราะในเมื่อภาพสามารถพูดได้ด้วยตัวมันเอง การกำหนดและควบคุมให้ภาพถ่ายพูดในสิ่งที่เราอยากให้มันพูดจึงเป็นเรื่องยาก 

ณัฐนลิน

ความเป็นมาของณัฐนลิน   เรียนจบมัธยมปลายที่โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ไม่ได้เป็นเด็กตั้งใจเรียนมาก เกเรมาตลอด ในช่วงวัยเรียนในเมืองไทยที่จำได้ก็แค่ ม. ห้า เป็นช่วงเดียวที่ตั้งใจเรียน พอเข้ามหาลัย จากการที่เที่ยวมาโดยตลอด ก็เลยไม่ได้ตั้งใจเรียน เพื่อนโดยส่วนใหญ่ก็จะเลือกเรียนนิเทศศาสตร์ บริหาร แต่โดยส่วนตัวแล้วไม่ชอบ ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าจะเรียนอะไร 

ณัฐ ประกอบสันติสุข

ในแวดวงแฟชั่น เมื่อเราเอ่ยชื่อ ณัฐ ประกอบสันติสุข น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะเขาจัดเป็นช่างภาพหัวก้าวหน้ารุ่นแรกๆ ที่มีส่วนอย่างมากในการผลักดันและเปลี่ยนแปลงพลิกโฉมงานถ่ายแบบเดิมๆ ให้เป็นงานที่มีสไตล์ จนสามารถเทียบชั้นได้กับนิตยสารชั้นนำระดับนานาชาติ แต่นอกเหนือจากภาพความสำเร็จที่เราเห็นอยู่ในทุกวันนี้ ใครบ้างที่จะรู้ว่าก่อนที่ณัฐจะกลายมาเป็นช่างภาพมืออาชีพ เขาเดินมาสู่เส้นทางนี้ได้อย่างไร 

ชำนิ ทิพย์มณี

ชำนิ ทิพย์มณี ผู้ก่อตั้งบริษัท ตาชำนิ จำกัดและศิลปินช่างภาพมือเก๋าที่สุดในเมืองไทยคนหนึ่ง ได้บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาก่อนหน้าที่เขาจะเดินมาสู่การเป็นช่างภาพอาชีพว่า “ เริ่มที่การผจญภัย หรือการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อค้นหาตัวเอง จากเดินทางไปกลับสองสามครั้งสุดท้ายก็จบที่ประเทศอิตาลี เรียนอยู่ที่นั่นประมาณ 3-4 ปี แล้วจึงกลับมาเมืองไทย ทำงานที่เซ็นทรัลดีพาร์ทเมนสโตร์ที่สาขาลาดพร้าว ภายใต้การนำของคุณสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ท่ามกลางความใหม่ของมัน ความคล่องตัวก็เป็นเรื่องยากนิดหนึ่ง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เศรษฐกิจกำลังขาขึ้น ทุกอย่างที่ทำ ณ เวลานั้นก็ดีขึ้นเรื่อยๆ 

จามิกร แสงสิริ

ความเป็นมาก่อนหน้าที่จะมาทำงานถ่ายภาพ?   ผมเรียนมาทางด้านออกแบบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พอจบมาก็ทำงานออกแบบเครื่องมือแพทย์ พวกเวชภัณฑ์ สักพักหนึ่งปี 2527 ทำงานได้ปีเดียวก็ออกมา จากนั้นก็ไม่ได้ทำงานอะไรเลย ก็กลับมาตะลอนจับกล้องถ่ายรูป

จตุรงค์ หิรัญกาญจน์

จตุรงค์ หิรัญกาญจน์ เริ่มเรียนรู้ศิลปะและการใช้ชีวิตแบบศิลปินมาตั้งแต่เข้าเรียนวิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร ซึ่งที่วิทยาลัยช่างศิลป์นั่นเองที่ทำให้เขาเริ่มสนใจการถ่ายภาพ และแม้นว่าในขณะนั้นจะยังไม่มีสถาบันใดเปิดสอนวิชาถ่ายภาพเป็นการเฉพาะ แต่เขาก็ตัดสินใจที่จะสอบเข้าเพื่อเรียนต่อในคณะมัณฑนศิลป์ ศิลปากรเพื่อลงเรียนวิชาถ่ายภาพที่เปิดสอนเพียงแค่สองตัวเท่านั้นเอง 

แก้วเกล้า พงษ์ไพบูล

หากถามว่าอะไรคือลักษณะเฉพาะตัวที่ทำให้ภาพของ แก้วเกล้า พงษ์ไพบูลย์ มีความแตกต่างจากจากผลงานของช่างภาพยุคใหม่ๆ โดยทั่วไป ? คำตอบก็คงอยู่ที่การให้สมดุลระหว่างความมืดและความสว่าง ในภาพแต่ละภาพของเขา แก้วเกล้าจะให้ความสำคัญแสงสลัวและรายละเอียดที่ปรากฏอยู่ภายใต้สภาพแสงนั้นๆ นี่เป็นความงามแบบเดียวกับที่จุนิชิโร่ ทานิซากิเคยได้พรรณนาไว้ในความเรียงเล่มหนึ่งของเขาซึ่งมีชื่อว่า In Praise of Shadow ทานิซากิชี้ให้เราเห็นความสำคัญของความสลัวราง ซึ่งคนอีกยุคหนึ่งแทบจะไม่รู้จักอีกแล้ว เพราะพวกเขาเกิดขึ้นมาพร้อมกับแสงสว่างสังเคราะห์

ถวัลย์ ดัชนี

นับตั้งแต่ย้อนคืนเชียงราย แผ่นดินถิ่นเกิด ท่ามกลางความเจริญของบ้านเมืองที่มุ่งตามตะวันตกอย่างขาดสติในทุกศาสตร์ ด้านหนึ่ง ถวัลย์ ดัชนี ปรากฏสู่สายตาสาธารณชนในภาพช่างวาดรูปผู้อหังการ์ด้วยผลงานภาพวาดราคาแพงระยับที่ชนชั้นสูงล้วนไขว่คว้าไปครอบครอง อีกด้านเขาปลีกตัวใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในบ้านดำ นางแล พร้อมกับรังสรรค์หมู่สถาปัตยกรรมอันอุดมด้วยความงดงามระหว่างภูมิปัญญาตะวันออกและตะวันตกขึ้นมา แถมวางแผนสร้างเมรุเผาศพส่วนตัวในบั้นปลายชีวิตไว้เสร็จสรรพ อย่างช่างวาดรูปผู้ไม่หวั่นไหวต่อความตาย 

จักกาย ศิริบุตร

เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วสำหรับ จักกาย ศิริบุตร กับผลงานงานศิลปะที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร รวมทั้งการเป็นอาจารย์ นักวาดภาพประกอบ และล่าสุดยังรับตำแหน่งบรรณาธิการ Editor-at-Large ให้กับหนังสือ House Beautiful อีกด้วย ถึงแม้งานจะมากมายแค่ไหน เขาก็ยังมีเวลาให้กับตัวเองได้ทำในสิ่งที่เขารัก จักกาย สนใจและอยากทำงานเกี่ยวกับศิลปะ จึงเลือกเรียนสาขาวิชาที่สามารถพลิกแพลงไปเป็นงานดีไซน์หรืองานพาณิชย์ศิลป์ นั่นคือด้านศิลปะและออกแบบสิ่งทอทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งในสมัยนั้นเมืองไทยยังไม่มีสอนในด้านนี้ 

ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล

ชายหนุ่มมาดเท่ หล่อเข้ม ตัวสูง สวมเสื้อคอโปโลสีดำ กางเกงยีนส์ คลั่งไคล้เทคโนโลยี รักการถ่ายภาพ หลงใหลในวงการภาพยนตร์ คนที่รู้จักเขาเรียกเขาว่า คุณชายบ้าพลัง คุณชายอดัม ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล หลายคนรู้จักเขาในฐานะโอรสของท่านมุ้ย และหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา และเป็นเจ้าของบริษัท FuKDuK Production ผลิตรายการทีวีแสบๆ คันๆ แบบไม่ไร้สาระบนโลกไซเบอร์ นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้กำกับรายการบันทึกกรรม และช่วยงานท่านพ่อในกองถ่ายตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทุกวันของคุณชายอดัมคือการทุ่มเทแรงใจ แรงกายในการคิด ในการทำงานตลอดเวลา เรียกได้ว่าเป็น ‘คุณชายไฮเปอร์แอ็กทีฟตัวจริงเสียงจริง’

วรายุฑ มิลินทจินดา

Sophisticated Drama Producer อยู่ในแวดวงการเป็นผู้จัดละครมานานพอสมควร 20 กว่าปี จุดพลิกผันจากคนธรรมดาให้กลายมาเป็นไก่ วรายุฑ คือ การแสดง จากเด็กทำฉากแล้วมาได้เล่นละครเป็นลลนาในเรื่องประชาชนชาวแฟลต นั่นแหละคือจุดพลิกผันของชีวิตทำให้คนรู้จักเรามากขึ้น ถ้าไม่มีตรงนั้นก็คงทำงานศิลปกรรม อุปกรณ์ประกอบฉาก หรือเป็นงานประสานงานธุรกิจ หรืออาจจะเป็นผู้จัดละครซึ่งคนอาจจะไม่รู้จักเราในงานแสดง