สอนลูกให้ดี

สอนลูกให้ดี หรือ ‘สอนลูกให้รวย’ หนังสือสอนเชิงปรัชญาธุรกิจที่ไม่เคยล้าสมัย ข้อควรระวัง : หลังจากหนังสือเล่มนี้เลิกใช้ชื่อ ‘สอนลูกให้รวย’ และหันมาใช้ ‘สอนลูกให้ดี’ แทน ปรากฏว่า มีหนังสือแนวนี้เกิดขึ้นอีกมากมายทั้งยังตั้งชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกันจนอาจเกิดความสับสนได้

คงเป็นเรื่องดีไม่น้อย ถ้าผู้ที่ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จเหล่านั้นจะเขียนบอกเล่าอย่างที่ จี. คิงส์ลี่ย์ วอร์ดทำ—แต่น่าเสียดายที่มันไม่ใช่

‘สอนลูกให้ดี’ หรือ ‘สอนลูกให้รวย’ ดำเนินเรื่องในรูปแบบของ ‘จดหมายจากพ่อถึงลูกชาย’ ตั้งแต่เด็ก ค่อยๆ เติบโต เรียนจบ ฝึกงาน บรรจุเป็นพนักงานระดับล่าง จนกระทั่งเป็นผู้บริหาร และในที่สุดดำรงตำแหน่งประธานบริษัทแทนพ่อ

‘สอนลูกให้ดี’ จึงไม่ใช่มีเพียงบทเรียนปรัชญาทางธุรกิจเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงปรัชญาการดำเนินชีวิตด้วย เขาไม่ได้อยากให้ลูกที่รักประสบความสำเร็จเพียงแค่ในธุรกิจเท่านั้น แต่ต้องประสบความสำเร็จร่ำรวยในชีวิตด้านอื่นๆ ด้วย ทั้งครอบครัว สังคม

จากคอลัมน์ : เช็กสต๊อกหนังสือ โดย หนุงหนิง
หนังสือมติชนสุดสัปดาห์
วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙

ดีหรือชั่วอยู่ที่เรา—มีจดหมายจากน้องสาววัยรุ่นคนหนึ่ง เขียนมาเล่าเรื่องของเธอถึงหนังสือที่รักและชื่นชอบ บอกว่า วันหนึ่งเธอได้ไปห้างสรรพสินค้ากับคุณพ่อคุณแม่ ได้เข้าร้านหนังสือแห่งหนึ่ง คุณพ่อเป็นหนอนหนังสือตัวยงแต่ไมได้บังคับให้ลูกต้องอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจเหมือนคุณพ่อ เพียงแต่ภายในบ้านเต็มไปด้วยชั้นหนังสือมากมาย หนนี้เข้าร้านหนังสือ คุณพ่อก็ไปเลือกซื้อหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊ตเล่มหนึ่ง ว่าไปแล้วขนาดเล็กกว่าปกติทั่วไปอย่างที่เห็นหน้าตาในภาพข้างต้นนั่นแหละค่ะ

‘สอนลูกให้ดี’ เป็นหนังสือที่ถูกเลือกมาแนะนำให้เพื่อนสโมสรโศภวัตได้รู้จักกันเพราะเนื้อหาภายใน น้องสาวย่างเข้าวัยทีนเอจคนนี้บอกว่า ‘อ่านแล้วซึ้งจริงๆ ค่ะ’ เพราะแม้อ่านตอนแรกรู้สึกเหมือนอ่านบันทึกในไดอารี่ของใครคนหนึ่ง แต่เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ ก็มีโอกาสเปิดตาเปิดใจรู้ถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก รู้ถึงความยากลำบากการเป็นหัวหน้าครอบครัว (โดยเฉพาะครอบครัวญี่ปุ่นที่สังคมค่อนข้างกดดันมากๆ)

เพราะเนื้อหาของสอนลูกให้ดีเล่มนี้เป็นหนังสือขายดีอย่างมากถูกพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นมากกว่า ๓๐ ครั้งในหนึ่งปี เพื่อบอกเล่าถึงการอยู่การดำรงชีวิตในครอบครัว การกระทำร่วมกันในสังคม ซึ่งเหมาะสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ รวมไปถึงครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ คู่รักที่ยังไม่แต่งงานหรือเพิ่งจะแต่งงาน จะใช้เป็นคู่มือสำหรับแนวทางการทำงานและดำเนินชีวิตทั้งในแง่ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ มานุษยวิทยา จิตวิทยา ปรัชญา ฯลฯ ที่คนเขียนอย่าง จี.คิงส์ลี่ย์ วอร์ด เขียนเพราะเขาเชื่อว่า ‘อาวุธที่พึงมีติดตัวไว้ในสนามต่อสู้ของโลกธุรกิจคือ ปฏิภาณ เสียดายที่คนส่วนมากไม่ใช้ปฏิภาณในการต่อสู้ด้านธุรกิจ เช่นเดียวกับที่ไม่ใช้อาวุธสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ความรับผิดชอบ ทั้งที่เรื่องแบบนี้เป็นคุณสมบัติขั้นแรกแห่งความสำเร็จ’

เห็นไหมล่ะจ๊ะ คำคมของมิสเตอร์วอร์ด แค่อารัมภบทข้างต้นก็ให้ข้อคิดตั้งแต่ต้นแล้ว อย่างนี้คนเป็นพ่อเป็นแม่จะไม่หามาอ่าน หรือซื้อมาให้ลูกเสริมอาวุธทางปัญญาให้คมกริบกันหรือจ๊ะ

จากคอลัมน์ : ชวนเพื่อนอ่านหนังสือ
หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๓

ผู้เขียน :  จี. คิงส๎ลี่ย์ วอร์ด
ผู้แปล :  สมิทธิ์ จิตตานุภาพ
จำนวนหน้า : 188 หน้า
ขนาด : 12×16×1ซ.ม.
ISBN : 9741401469
สำนักพิมพ์ : ผีเสื้อ
ปก : ปกอ่อน
ราคา : 229 บาท
ติดต่อ : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ 4/4 ถนนสุขุมวิท ซอย 24 กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ : 02-663-4660-2
อีเมล์ : bflybook@bflybook.com
เว็บไซต์ : http://www.bflybook.com

You may also like...