เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2483 ที่อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ศึกษาที่ โรงเรียนวิสุทธรังษี โรงเรียนทวีธาภิเศก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา,จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และปริญญาศิลปศาสตร์กิตติมศักดิ์จากสห- วิทยาลัยทราวดี (วิทยาลัยครูกาญจนบุรี)

เริ่มงานเขียนครั้งแรกเมื่อเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื่องจากได้พบโคลงที่บิดาเขียนไว้เมื่อครั้งยังหนุ่ม จึงอยากเขียนได้เช่นนั้นบ้าง

ผลงานมีทั้ง ร้อยกรอง และร้อยแก้ว เมื่อเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยอยู่ชุมนุมวรรณศิลป์มาก่อน
เมื่อ พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลซีไรต์จากกวีนิพนธ์รวมเล่มเรื่องเพียงความเคลื่อนไหว
เมื่อ พ.ศ. 2536 ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ สาขาย่อยกวีนิพนธ์ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

การทำงานในคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ
นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง โดยเข้ามาทำหน้าที่เป็นคณะสมัชชาปฏิรูปประเทศ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 27 คน เพื่อรวบรวมข้อมูล รับฟังความคิดเห็น และนไปสู่นโยบายในการปฏิรูปประเทศไทย

ผลงานรวมเล่มบางส่วน
• คำหยาด
• เพียงความเคลื่อนไหว (กวีนิพนธ์รางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2523)
• ชักม้าชมเมือง
• ประคำกรอง
• วารีดุริยางค์
• อาทิตย์ถึงจันทร์
• เพลงขลุ่ยเหนือทุ่งข้าว
• จารึก ร.ศ. ๒๐๐
• เพลงขลุ่ยผิว
• กรุงเทพทวารวดี
• แว่วไหลในสายลม
• ที่นี่ขัดข้องหนอ
• ดาบที่หมกอยู่ในจีวร
• ดังนั้นฉันจึงเขียน
• แผ่วผ่านธารน้ำไหล
• เจ้าประคุณเอ๋ย (พ.ศ. 2532)
• นกขมิ้น
• หยุดสักนิด คิดสักหน่อย หมุดหมายที่ ๑
• หนึ่งได้แรงใจ
• ความคิดในดอกบัว (พ.ศ. 2532)

เพียงความเคลื่อนไหว เป็นหนังสือรวมบทร้อยกรอง 33 บท ที่เคยตีพิมพ์ลงในวารสารและหนังสือพิมพ์ หลังวันมหาวิปโยค 13 ตุลาคม 2516

เพียง ความเคลื่อนไหว เป็นชื่อกลอนบทแรกของเล่มที่พรรณนา เหตุการณ์การปะทะกันระหว่างประชาชนกับทหาร ชี้ให้เห็นถึงความตื่นตัวต่อความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง และชีวิตร่วมสมัย บทกวีที่เป็นแบบอย่างแฝงลักษณะพื้นบ้านไว้มาก ผู้แต่งเข้าถึงใจผู้อ่าน ความเอาจริงเอาจังของเขาในการเอาตัวผูกพันกับสังคม ความพร้อมที่จะรับปัญหา และประสบการณ์ของเพื่อนร่วมแผ่นดิน ตลอดจนสัจธรรม ความเที่ยงธรรม เป็นบทกวีที่มีคุณค่า ประกอบด้วยฉันทลักษณ์ หนึ่ง ความไพเราะ อรรถรส สอง และสารทัศนคติ สาม เป็นบทกวีที่อ่านเข้าใจง่าย การใช้ถ้อยคำเร่งเร้าให้ตื่นตัวและเกิดความเคลื่อนไหวทางความคิด บทกวีได้ให้คำกลอนบางเรื่อง เล่าชีวิตชนบท บางเรื่องเล่าว่าด้วยสงคราม บางเรื่องแสดงออกถึงอารมณ์ ให้แนวคิดและทัศนคติต่อสังคม

ที่มาหนังสือ : http://atcloud.com/stories/71612
ที่มารูปภาพ : http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content1/show.pl?0118

 

You may also like...