การสาธิตและเวิร์คช็อป บุนราขุ

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมสัมผัสศิลปะละครหุ่น จากบุนราขุ คณะหุ่นละครแบบดั้งเดิมจากประเทศญี่ปุ่น และคณะหุ่นละครอีก 3 คณะจากประเทศไทย นับเป็นโอกาสที่หายากที่ทุกท่านจะได้ร่วมเพลิดเพลินไปกับการสาธิตการเชิดหุ่นจากแต่ละคณะ และเต็มอิ่มไปกับการแสดงขนาดสั้นจากคณะหุ่นบุนราขุและนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)

วัน อังคารที่ 26 สิงหาคม 2557
สถานที่  : หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
บัตรเข้า : ชม ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
การจอง
[ช่วงที่ 1]
กรุณาติดต่อ : เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
[เวลาทำการ 9.00-12.00น. และ 13.30-17.00น.] โทรศัพท์ 02-260-8560-4
[ช่วงที่ 2]
กรุณาติตต่อศูนย์วัฒนธรรม
โทรศัพท์ : 02-247-0028 ต่อ 4104,4112,4117,4119,4121
**กรุณามาติดต่อขอรับบัตรที่โต๊ะลงทะเบียน หอประชุมเล็ก ก่อนการแสดงเริ่ม 30 นาที

กำหนดการ ** มีล่ามภาษาญี่ปุ่น-ไทยทั้งสองช่วง
[ช่วงที่ 1]
*เหมาะสำหรับนักเชิดหุ่นและนักเรียนนักศึกษาด้านการแสดง แต่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมได้
12.45 น. ประตูเปิด

13.00-14.30 น. เวิร์คช็อปบุนราขุ 1
-การสาธิตการเชิดหุ่น
-บรรยายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบุนราขุ
-การแสดงขนาดสั้น

14.30-15.30 น. เวิร์คช็อปคณะละครหุ่นไทย
-นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
-บ้านตุ๊กตุ่นหุ่นกระบอกไทย
-มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม

15.30-17.00 น. เสวนา / ช่วงถาม-ตอบ
ผู้ดำเนินรายการ
ผศ.วิลาวัณย์ เศวตเศรนี
ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
[ช่วงที่ 2]
18.00-19.00 น. การแสดงหุ่นละครไทยและเวิร์คช็อปโดยนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)

19.00-20.30 น. เวิร์คช็อปบุนราขุ ช่วงที่ 2

20.30-21.00 น. เสวนา / ช่วงถาม-ตอบ
“การเปรียบเทียบระหว่างบุนราขุกับโจหลุยส์”
ผู้ดำเนินรายการ ผศ.วิลาวัณย์ เศวตเศรนี

บุนราขุคืออะไร?
Ningyo Johruri Bunraku นับว่าเป็นอีกหนึ่งในศิลปะการแสดงบทเวทีระดับแนวหน้าของญี่ปุ่น เช่นเดียวกับโนห์และคาบูกิ บุนราขุผสมผสานด้วยการเล่าเรื่องด้วยการขับร้อง ร่วมด้วยเครื่องดนตรี และเรื่องราวของตัวหุ่น รูปแบบศิลปะการแสดงแบบนี้เกิดขึ้นในยุคเอโดะตอนต้น เมื่อการเชิดหุ่นกระบอกรวมตัวกับ Johruri ซึ่งเป็นวิธีการเล่าเรื่องที่โด่งดังในสมัยศตวรรษที่ 15 โครงเรื่องที่ของละครหุ่นนี้โดยหลักแล้วจะมาจาก ละครแนวประวัติศาสตร์ซึ่งมีเรื่องราวอยู่ในสมัยศักดินา (Jidaimono) และเรื่องราวร่วมสมัยเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างความรักกับบทบาทหน้าที่ทางสังคม (Sewamono) ในปัจจุบัน มีนักแสดงรุ่นเยาว์จำนวนมาก ความงดงามและเนื้อหาที่เร้าอารมณ์ทำให้การแสดงประเภทนี้ดึงดูดผู้ชมสมัยใหม่ได้ต่อไปเรื่อยๆ

นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กและนาฏศิลป์อันงดงาม ที่สร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในไทย ไม่ซ้ำใครในโลก เนรมิตรทุกชุดการแสดงอย่างประณีตบรรจง ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถทำไปแสดงในวาระต่างๆได้อย่างภาคภูมิใจ (http://www.joelouistheatre.com)

ผู้จัดหลัก เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ผู้ร่วมจัด กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ติดต่อสอบถาม เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์
กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ 02-260-8560-4, โทรสาร 02-260-8565
เวลาทำการ 9.00-12.00น. และ 13.30-17.00น.
http://www.jfbkk.or.th
http://www.facebook.com/jfbangkok
http://twitter.com/JFBKK

 

You may also like...