อีเลคโทรลักซ์ เผยผลสำรวจปี 2014

การสำรวจพฤติกรรมด้านอาหารในเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2014 โดยอีเลคโทรลักซ์ ถือเป็นการสำรวจอิสระพฤติกรรมด้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค

มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกที่ไม่ซ้ำใครในเรื่องของเทรนด์เกี่ยวกับการเตรียมอาหารและความสามารถในการทำครัวของผู้คนใน 10 ประเทศ รวมถึงแรงบันดาลใจของผู้บริโภคในเรื่องของอาหาร การรับประทานอาหารและแม้กระทั่งเรื่องความรัก ทั้งนี้ การค้นพบที่สำคัญจากการสำรวจประจำปี 2014 พบว่า 

• ร้อยละ 94 ตอบว่าพวกเขาหลงใหลในอาหาร ขณะที่ร้อยละ 60 ยอมรับว่าฝีมือในการทำอาหารมีจำกัด หรือถึงขนาดแย่สุดๆ 

• ร้อยละ 79 ของผู้ที่มีอายุเกิน 50 สอนลูกๆ ให้ทำอาหาร แต่มีเพียงร้อยละ 33 ของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีที่เห็นว่าการสอนให้ลูกทำอาหารเป็นเรื่องสำคัญ

• ร้อยละ 85 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดชอบทานอาหารที่บ้านมากกว่า แต่มีเพียงร้อยละ 40 ที่มีความมั่นใจที่จะพลิกแพลงสูตรอาหาร

• ร้อยละ 34 ของพ่อครัวแม่ครัว เรียนทำอาหารด้วยตัวเอง แสดงให้เห็นถึงความต้องการในการปรับปรุงตัวเองเสมอ

“ในฐานะที่เป็นผู้นำระดับโลกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวและในบ้าน อีเลคโทรลักซ์ ให้บริการโซลูชั่นนวัตกรรมที่อิงกับความเข้าใจของผู้บริโภคที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น โดยการดำเนินการสำรวจกับผู้บริโภคจากภูมิหลังที่หลากหลายจากทั่วทุกภูมิภาค ทำให้เราได้รับข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและลักษณะนิสัยของพวกเขา ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถออกแบบนวัตกรรมในอนาคต และให้แน่ใจว่าเรายังคงสามารถสร้างความแตกต่างในเชิงบวกในชีวิตประจำวันของพวกเขาได้ต่อไป” นายซูเรช บาลัน ประธานกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหลัก อีเลคโทรลักซ์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก กล่าว

ประเทศไทยขึ้นแท่นผู้นำภูมิภาคในฐานะชาตินักชิม
ในฐานะที่เป็นภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมและอาหารที่หลากหลาย ผลการสำรวจเปิดเผยว่าเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีผู้คนที่ชอบรับประทานอาหารมากที่สุด โดยร้อยละ 94 ของผู้ตอบแบบสอบถามนิยามตัวเองว่าเป็นผู้ที่หลงใหลในอาหาร อย่างไรก็ตาม ความรักในอาหารนี้ไม่ได้แปลว่าทุกคนทำอาหารเก่งกันหมด เพราะส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถาม (ร้อยละ 48) รู้สึกว่าคำว่า “มีขีดจำกัด” จะอธิบายถึงความสามารถในการทำอาหารของพวกเขาได้ดีที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น มีจำนวนร้อยละ 12 ที่ยอมรับว่าฝีมือการทำอาหารของพวกเขาแย่สุดๆ

ประเทศไทยขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในฐานะชาตินักชิมตัวยง โดยร้อยละ 100 ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศมีความหลงใหลในอาหารเหมือนกันหมด แม้จะมีเพียงร้อยละ 34 ที่สนุกกับการทำอาหารในรูปแบบของงานอดิเรก ขณะที่ในประเทศไต้หวันจะไม่ค่อยมีการทดลองทำอาหารแบบใหม่ๆ ซึ่งมี 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามอ้างว่าการเข้าครัวถือเป็นเสมือนฝันร้าย และ 1 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกภูมิใจในฝีมือการทำอาหารของตน
การทำอาหารในอนาคต
สำหรับคนในรุ่นปัจจุบัน พ่อแม่คือแหล่งความรู้หลักเมื่อพูดถึงเรื่องอาหาร โดยที่ร้อยละ 79 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุเกิน 50 ปี จะสอนลูกๆ ให้รู้จักการทำอาหาร มีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามในทั่วทั้งภูมิภาคที่เชื่อว่าการได้แบ่งปันความสุขในการทำอาหารทานที่บ้านถือเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ ซึ่งรวมถึงผู้ตอบแบบสอบถามในทุกกลุ่มอายุด้วย ได้แก่ ในอินโดนีเซีย (ร้อยละ 27) จีน (ร้อยละ 27) สิงคโปร์ (ร้อยละ 25) และไต้หวัน (ร้อยละ 20)

ในบรรดาทุกประเทศที่มีการสำรวจ ประเทศเวียดนามได้แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะถ่ายทอดฝีมือการทำอาหารไปยังคนรุ่นต่อไป โดยที่เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าการสอนลูกหลานถือเป็นความสำคัญอันดับหนึ่ง และอีกร้อยละ 35 ยืนยันว่าจะต้องทำอาหารให้ลูกๆ ทานสัก 2-3 รายการหากมีเวลา

ห้องครัว เป็นของผู้ชายหรือผู้หญิง?
ตกลงในภูมิภาคนี้ ใครเป็นคนเข้าครัวกันแน่? แม้ว่าร้อยละ 40 ของผู้ชายจะอ้างว่าพวกเขาเป็นผู้จัดเตรียมอาหารหลักในครัวเรือน แต่ผู้หญิงที่ผ่านการสำรวจไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวอ้างนี้ มีเพียงร้อยละ 17 เท่านั้นที่ยอมรับว่าสามีของพวกเธอเป็นคนเข้าครัว

ในขณะที่ผู้ชายคิดว่าพวกเขามีอิทธิพลมากกว่าในเรื่องการเข้าครัว แต่ทว่าพวกเขายังขาดความมั่นใจมากกว่าภรรยาของพวกเขาเสียอีก โดยที่ร้อยละ 66 ของผู้ชายที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดในทั่วภูมิภาคเลือกที่จะใช้คำว่า “จำกัด” หรือ “แย่สุด” เป็นคำนิยามที่ดีที่สุดถึงฝีมือในการทำอาหารของพวกเขา ซึ่งรวมถึงผู้ชายชาวสิงคโปร์ (ร้อยละ 66) มาเลเซีย (ร้อยละ 70) ไทย (ร้อยละ 69) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 78) และฟิลิปปินส์ ร้อยละ 65)

หากผู้ชายกำลังมองหาแรงจูงใจในการพัฒนาทักษะของพวกเขา การสำรวจด้านอาหารนี้แหละที่มีให้พร้อมสรรพ ทั้งนี้ ร้อยละ 87 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วภูมิภาคพบว่าความสามารถในการทำอาหารของคู่รักของตนถือว่าเป็นคุณสมบัติที่น่าดึงดูดใจ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจพฤติกรรมด้านอาหารในเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2012 (ร้อยละ 85) ตัวเลขนี้ได้เติบโตขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9) และออสเตรเลีย (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12) โดยทั่วภูมิภาคแล้ว คุณสมบัตินี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในประเทศจีน ซึ่งร้อยละ 95 พบว่าคู่รักของตนที่มีทักษะในการทำอาหารถือเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจมากยิ่งขึ้น

มีโอกาสสำหรับการพัฒนา
ขณะที่ร้อยละ 60 ของภูมิภาคไม่มีความมั่นใจในการพลิกแพลงสูตรการทำอาหาร แต่ดูเหมือนว่าบ้านจะเป็นวิมานสำหรับทุกคน เพราะร้อยละ 85 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วทั้งภูมิภาคชอบที่จะรับประทานอาหารที่บ้านมากกว่าออกไปทานข้างนอก ซึ่งรวมถึงร้อยละ 92 ในอินโดนีเซีย เวียดนามและจีน

“มีข้อความหนึ่งที่ชัดเจนมากในการสำรวจครั้งนี้ นั่นคือ ผู้บริโภคต้องการที่จะพัฒนาฝีมือการทำอาหารให้ดีขึ้น ซึ่งที่อีเลคโทรลักซ์ เราได้แสดงให้เห็นอย่างโดดเด่นที่สุดว่าเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก และเครื่องใช้ในการประกอบอาหารของเราจะช่วยขจัดความยุ่งยากในการทำอาหารออกไปให้หมดสิ้น ด้วยนวัตกรรมและการใช้งานที่ง่าย ซึ่งจะทำให้การเข้าครัวของคุณประสบความสำเร็จง่ายขึ้น ทั้งนี้หากว่าฝีมือการทำอาหารไม่ได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นเก่าไปสู่คนรุ่นใหม่ ก็จะถือเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่งที่เราอาจจะสูญเสียมรดกอันล้ำค่าในด้านอาหารการกินที่คนส่วนใหญ่มีความภาคภูมิใจ เราจึงหวังว่าจะจุดประกายความรักในการทำอาหารให้เกิดขึ้นในคนรุ่นใหม่ และเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาทำอาหารที่พวกเขารักกับครอบครัวที่รักต่อไป” นายสุทธิ มโนกิจจรูญมั่น ผู้จัดการทั่วไป อีเลคโทรลักซ์ ประเทศไทย กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสำรวจ
การสำรวจพฤติกรรมด้านอาหารของชาวเอเชียแปซิฟิก โดยอีเลคโทรลักซ์ ถือเป็นการสำรวจด้านอาหารครั้งใหญ่ที่สุด โดยเริ่มทำการสำรวจในปี 2007 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างประชาชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากกว่า 5,000 คน ทำการสำรวจแบบออนไลน์ใน 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทยและเวียดนาม การสำรวจดังกล่าวนี้ประกอบไปด้วยแบบสำรวจ ที่มีคำถามแบบปรนัย ครอบคลุมเกี่ยวกับการจัดเตรียมอาหาร และการประกอบอาหาร รวมถึงอุปนิสัยในการรับประทานอาหาร การสำรวจครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา

เกรลิ่ง (ไทยแลนด์)
ฑิมภ์พร พรตรีสัตย์ หรือ เจษฎา แสนพรหม
เบอร์โทร : 02-635-7151-2
อีเมล: thimporn@grayling.com และ jedsada@grayling.com

You may also like...