งานสถาปนิก’56 Borderless : แข่งขันแบ่งปัน

งานของสถาปนิกในบ้านเรา ไม่ค่อยมีใครได้เห็นบทบาทการทำงานที่ชัดเจนมากนัก อาจเป็นเพราะคนส่วนมากคิดว่าสถาปนิกนั้นรับใช้เฉพาะนายทุนและชนชั้นกลาง แต่หารู้ไม่ว่างานของพวกเขามีขอบเขตที่กว้างไกล ไม่ใช่เพียงความสามารถในการออกแบบบ้านจนถึงระดับเมืองเท่านั้น แต่ยังมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน และมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการรักษาสิ่งแวดล้อม

เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งที่บ้านเรามีงานใหญ่ระดับประเทศและภูมิภาคของผู้คนในวงการสถาปัตยกรรมและสถาปนิก คืองาน สถาปนิก’56 ซึ่งเป็นกิจกรรมยิ่งใหญ่ที่ทางสมาคมสถาปนิกสยามได้จัดงานมาตลอดต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2529 โดย อาจารย์ ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์  จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เป็นหนึ่งในแม่งานใหญ่สำหรับกิจกรรมระดับชาติครั้งนี้ ได้บอกเล่าถึงวัตถุประสงค์หลักๆในการจัดงานว่า

“งานหลักๆของสถาปนิกนั้น เหมือนเป็นพื้นที่สำหรับสื่อสารกับสาธารณะ บทบาทของสถาปนิกจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างสถาปนิกกับคนภายนอก และสถาปนิกกับคนภายใน ทุกวันนี้มีออฟฟิศเกี่ยวกับสถาปนิก รวมถึงการเรียนการสอนสถาปัตย์เกิดขึ้นมากมาย สถาปนิกจึงเป็นเหมือนพื้นที่นึง ให้คนได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยน ทั้งในเชิงการค้าและเชิงวิชาการ ก็จะมีสถาบันต่างๆ ส่งผลงานเข้ามาจัดแสดง รวมถึงบริษัทต่างๆ การมีพื้นที่ตรงนี้ขึ้นมา ทำให้เห็นว่าวงการสถาปนิกสถาปัตยกรรมมันมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเพื่อเป็นการสื่อสารกับสาธารณะด้วยว่า จริงๆแล้วงานของสถาปนิกมีบทบาท ทั้งในเชิงสังคม ชุมชน เมือง หรือวัฒนธรรมยังไงบ้าง” ในปีนี้เราใช้ชื่อธีมงานว่า งานสถาปนิก ’56 “Borderless : แข่งขันแบ่งบัน”  ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2556 ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็คเมืองทองธานี

อาจารย์สุพิชชา โตวิวิชญ์ เป็นฝ่ายรับผิดชอบ  ASA International Forum งานใหญ่ที่เชิญวิทยากรระดับโลกจากต่างประเทศมาทั้งหมด 5 ท่าน อาทิ Jun Igarashi, Nieto Sobejano Arquitectos , Tezuka Architects, Urban-Think Tank, Hua LI, เมธา บุนนาค เข้ามาร่วมกันนำเสนอไอเดียการสร้างสถาปัตยกรรม การสร้างอาคาร ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ทั้งสถาปนิก นักเรียนนักศึกษาสถาปัตยกรรม หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจมานั่งฟังแนวคิดในการออกแบบ พิพิธภัณฑ์ โรงแรม โรงเรียน บ้าน ว่าแนวคิดในการจัดวางผัง และออกแบบเค้ามีแนวคิดกันอย่างไรในปัจจุบัน

กลุ่มแรก อย่าง Urban-Think Tank กลุ่มสถาปนิกที่ก่อตั้งในประเทศเวเนซุเอล่า ได้รางวัลมากมายระดับโลก อย่างเวนิสเบียนนาเล่ เค้าจะมองความเป็นเมือง ทำงานกับคนรายได้น้อย เช่น ชุมชนสลัมในเวเนซุเอล่า

คนที่ 2 Takaharu Tezuka มาจากโตเกียว ได้รับรางวัลในญี่ปุ่น และในระดับนานาชาติหลายรางวัล

ส่วนญี่ปุ่นอีกคน  Jun Igarashi มาจากฮอกไกโด งานเค้าจะเรียบง่าย และเน้นเรื่องพื้นที่ว่างภายใน

Hua Li มาจากประเทศจีน กรุงปักกิ่ง คนนี้เค้าค่อนข้างมีความลึกซึ่งในการออกแบบ พูดถึงเรื่องของที่ว่างอันทรงพลัง เรื่องของศิลปะ โครงสร้างและวัสดุ ความงามจากความรู้สึกความคิด

นอกจากนี้ยังมี Fuensanta Nieto และ Enrique Sobejano เป็นสถาปนิกชาวสแปนิชผู้ร่วมก่อตั้งสำนักงาน Nieto Sobejano Arquitectos

ท่านสุดท้ายเป็นสถาปนิกท่านเดียวในงาน asaforum เป็นศิลปินแห่งชาติเมื่อปี 2554 คุณเมธา บุนนาค ออกแบบรีสอร์ททั้งในและต่างประเทศ ห้าดาว หกดาว เป็นที่ยอมรับในระดับโลก

สำหรับงานสถาปนิก ’56 ที่ทางสมาคมได้ใช้ธีมงานว่า “Borderless : แข่งขันแบ่งบัน”  เริ่มมาจากการที่เราจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เรามองว่าแต่ละประเทศน่าจะมาทำงานร่วมกัน เรามีอะไร เค้ามีอะไร เอามาผสมผสานกัน เราขาดสิ่งไหน เค้ารู้มากกว่า ก็เป็นการทำงานร่วมกัน มันจึงเกิดคำว่า แข่งขัน แบ่งปัน เป็นคำที่ผสมใช้ในประโยคเดียวกัน แต่ก่อนที่จะมาแข่งขันหรือแบ่งปัน เราต้องมารู้จักกันก่อน เราจึงชวนเค้ามาคุย อาจจะไม่ได้ชวนเฉพาะคนในอาเซียน จริงๆเราชวนระดับโลกมา เพื่อให้ได้รู้ว่าในระดับสากลเค้าพูดถึงอะไรกันบ้าง เวลาที่เค้าจะออกแบบโรงแรม พิพิธภัณฑ์ โรงเรียน บ้าน หรืออาคารสาธารณะต่างๆ เค้ามีประเด็นอะไรที่เค้าให้ความสำคัญ เราจะแบ่งปันกันในประโยคไหน เราต้องฟิตตัวเองให้เก่งขึ้นในประเด็นไหน เพราะเค้าไปไกลกว่าเราแล้ว

ขอเชิญร่วมงานสถาปนิก ’56 “Borderless : แข่งขันแบ่งบัน” ในวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2556 ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็คเมืองทองธานี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
โทร : 0-2319-6555 ต่อ 113
email. ratiratasa@gmail.com

 

You may also like...