Jewelry design inspired by Cubism

“จีไอที” เปิดฉากโครงการประกวดการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับครั้งที่ 7  ภายใต้แนวคิด“Jewelry design inspired by Cubism” มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมอัญมณีไทยสู่เวทีโลก

กรุงเทพฯ 22 เมษายน 2556 – สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT จัดโครงการประกวดการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับครั้งที่ 7 ภายใต้แนวคิด“Jewelry design inspired by Cubism” เพื่อต้องการให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไปเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย ซึ่งแนวคิด บาศกนิยม” หรือ “Cubism” คาดว่าจะเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมในวงการออกแบบจิวเวลรี่ในปี 2557-2558

โดยการจัดประกวดดังกล่าวนอกจากเป็นการตอกย้ำให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยรุดหน้า ยังเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านอัญมณีศาสตร์ให้มีความเชี่ยวชาญ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิต  ตลอดจนการพัฒนาทักษะด้านการออกแบบ  ซึ่งคาดว่าปีนี้จะมีผู้สนใจเข้าร่วมสมัครไม่ต่ำกว่า 1,000 คน โดยจะเป็นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย อาทิ ประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน ฮ่องกง อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย ในปี 2554 มีมูลค่าการส่งออกกว่า 9.5 หมื่นล้านบาท และปี 2555  มูลค่าการส่งออกสูงขึ้นถึง 1.1 แสนล้านบาท โดยอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยถือได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 9 ของโลก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.91 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของประเทศ โดยในอาเซียน สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทย รองลงมาคือ มาเลเซีย และบรูไน สินค้าส่งออกหลักได้แก่ เครื่องประดับเงิน เพชรเจียระไน

โครงการประกวดการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับครั้งที่ 7 ภายใต้แนวคิด“Jewelry design inspired by Cubism” แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทการออกแบบเครื่องประดับสำหรับสุภาพบุรุษ และประเภทการออกแบบเครื่องประดับสำหรับสุภาพสตรี รวมมูลค่าเงินรางวัลรวมกว่า 400,000 บาท

นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ จีไอที (GIT) กล่าวว่า   โครงการประกวดการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 7  เป็นกิจกรรมประกวดออกแบบเครื่องประดับและอัญมณีที่ จีไอทีจัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 7 เพื่อพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีมณีไทย ตลอดจนตั้งเป้าหมายให้สามารถส่งเสริมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความต้องการที่จะให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ และบุคคลที่สนใจและชื่นชอบในอัญมณีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอัญมณี และพร้อมที่จะพัฒนาให้อัญมณีไทยเติบโตได้ต่อไป และคาดหวังว่าในทุกปีที่มีการจัดการประกวด จะได้นักออกแบบหน้าใหม่ที่กล้าคิด สร้างสรรค์ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่การผลิตผลงานที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จในแวดวงอัญมณีและเครื่องประดับต่อไป และทำให้อัญมณีไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกได้ อย่างไรก็ตามโครงการประกวดฯ นี้ได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ อาทิ  สำนักโครงการและจัดการความรู้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) บริษัท บิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัด ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ฯลฯ

โครงการประกวดการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 7 ภายใต้แนวคิด“Jewelry design inspired by Cubism” แบ่งประเภทการประกวดเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทการออกแบบเครื่องประดับสำหรับสุภาพบุรุษ และประเภทการออกแบบเครื่องประดับสำหรับสุภาพสตรี โดยวิธีการคัดเลือกนั้น จีไอที จะคัดเลือกผลงานจากภาพเค้าโครงการร่างการออกแบบเครื่องประดับ ประเภทละ 3 ผลงาน จากนั้น จีไอทีจะดำเนินการผลิตเป็นเครื่องประดับจริง และจะตัดสินผู้ชนะจากผลงานเครื่องประดับที่มีความสมบูรณ์แบบและสอดคล้องกับแนวคิดของการประกวดมากที่สุด โดยผู้ที่ได้รับรางวัลแต่ละประเภทจะได้รับรางวัล ดังนี้ รางวัลผู้ชนะเลิศ เงินสดมูลค่า 3,500 ดอลล่าสหรัฐ หรือประมาณ 100,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินสดมูลค่า 1,500 ดอลล่าสหรัฐ หรือประมาณ 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินสดมูลค่า 1,000 ดอลล่าสหรัฐ หรือประมาณ 30,000 บาท รวมมูลค่าเงินรางวัลกว่า 400,000 บาท อย่างไรก็ตาม กิจกรรมโครงการประกวดการออกแบบเครื่องประดับตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีตลอดทุกปี โดยในปี 2555 มีผู้เข้าสมัครกว่า 500 คน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน และคาดว่าปีนี้จะมีผู้สนใจเข้าร่วมสมัครไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ซึ่งคาดว่าผู้สมัครจะเป็นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย อาทิ ประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย จีน ฮ่องกง เป็นต้น ซึ่งจีไอที จะจัดงานตัดสินการประกวดครั้งนี้อย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งในเดือน พฤศจิกายนที่จะถึงนี้  นายศิริพล กล่าว

ด้านนายวิวัฒน์ สิงห์ชนะชัยกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรการออกแบบเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า แนวคิด “Jewelry design inspired by Cubism” ซึ่งเป็นแนวความคิดหลักของการประกวดในปีนี้นั้น มาจากศิลปะแนวบาศกนิยม หรือ Cubism โดยผลงานศิลปะแนว “บาศกนิยม” นั้นจะแสดงรูปทรงศิลปะในลักษณะผันแปรความเป็นจริง มีลักษณะเป็นเหลี่ยมเป็นมุมแบบลูกบาศก์ทรงเลขาคณิต เพื่อสร้างความคิดรวบยอดเชิงสามมิติให้ปรากฏในผืนระนาบ รูปแบบผลงานก็จะสามารถแสดงลักษณะปรากฏทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังบนพื้นระนาบไปพร้อมกัน บางทีก็แสดงการทับซ้อนและปิดบัง รวมทั้งการตัดทอนรูปทรงให้ดูง่ายขึ้นกว่ารูปจริงของวัตถุหรือสภาวะที่แท้จริงของรูปทรงนั้น ๆ ด้วย โดยศิลปะแนว “บาศกนิยม” เคยได้รับความนิยมสูงสุดในยุคศตวรรษที่ 20 ในช่วงปี ค.ศ. 1906-1914 โดยศิลปินระดับโลกในยุคนั้นอย่าง Pablo Picasso และ George Braque  อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวจะเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมในวงการออกแบบ โดยเฉพาะการออกแบบจิวเวลรี่ในปี 2557-2558 ซึ่งปัจจุบันการออกแบบของจิวเวลรี่กำลังถึงจุดอิ่มตัว ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ดังนั้น”บาศกนิยม” เปรียบเสมือนการสร้างความแตกต่างจากการออกแบบในแบบเดิม  จากเหตุผลดังกล่าวจึงนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการเป็นธีมงานของปีนี้ ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายในการออกแบบของผู้ประกวดในปีนี้อย่างมาก

นายสุริยน ศรีอรทัยกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท บิวตี้เจมส์ จำกัด คณะกรรมการตัดสินการประกวดการออกแบบเครื่องประดับ หนึ่งในผู้ประกอบการผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับอันหนึ่งของประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทย หากมองในมุมตลาดอาเซียน สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค รองลงมาคือ มาเลเซีย และบรูไน สินค้าส่งออกหลักได้แก่ เครื่องประดับเงิน เพชรเจียระไน เครื่องประดับเทียม และพลอยเนื้อแข็งเจียระไน ตามลำดับ โดยในปี 2555 ช่วง 6 เดือนแรกของปี มีมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังตลาดอาเซียนกว่า 60.55 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนกว่า 70 % แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการอัญมณีก็ยังมองข้ามตลาดอาเซียน เนื่องจากมีมูลค่าการส่งออกเพียง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะเมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐหรือยุโรปที่ไทยส่งออกไปได้รวมกันถึงกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นตลาดอาเซียนจึงนับเป็นตลาดเล็กมากในสายตาผู้ประกอบการไทย แต่ก็เชื่อมั่นว่าประเทศในกลุ่มอาเซียจะมีความเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้แรงหนุนจากปี 2558 ซึ่งจะเป็นปีที่ก้าวเข้าสู่ AEC จะยิ่งส่งผลเชิงบวกต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งก็ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจสำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณีของไทยเช่นกัน ซึ่งปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีของไทยคือการสร้างนักอัญมณีศาสตร์ ตลอดจนนักออกแบบอัญมณีคุณภาพที่สามารถขับเคลื่อนความต้องการของภาคอุตสาหกรรมซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศอันดับต้นๆของโลกในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

นอกจากนี้  การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยังส่งผลดีในเรื่องการเข้าถึงวัตถุดิบของอัญมณีและเครื่องประดับเพราะทำให้เข้าถึงวัตถุดิบต่าง ๆ ง่ายมากขึ้น ซึ่งแต่ละประเทศในอาเซียนก็เป็นแหล่งวัตถุดิบด้านอัญมณีที่สำคัญแตกต่างกันไป  และสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยจะต้องคำนึงถึง คือการรักษาตลาดและเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้เกิดการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และสิ่งที่จะเป็นหัวใจของการรักษาตลาดไว้ คือการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ ซึ่งมาพร้อมกับนวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัย ควบคู่กับฝีมือที่ประณีต ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ไทยเราเป็นผู้นำตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับได้ง่ายมากขึ้น นายสุริยน กล่าวเพิ่มเติม

นางสาวจุฬาลักษณ์ ปิยะสมบัติกุล หรือหมู อายส์แวร์ กูรูด้านแฟชั่นชั้นนำของเมืองไทย ได้กล่าวถึงมุมมองเกี่ยวกับแฟชั่นว่า แฟชั่นเป็นกระแสนิยมที่เปลี่ยนไป

You may also like...