Conflicted Visions

WTF เเกลลอรี่ มีความยินดีขอเชิญท่านเข้าร่วมงานนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยที่มีเนื้อหาทางการเมือง ภายใต้ชื่อ Conflicted Visions “งานศิลปะทุกชิ้นถือได้ว่ามีนัยกางการเมืองอยู่เสมอ

เพราะมาจากการนำเสนออย่างมีทัศนมิติของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เเละตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ของสังคม ตัวอย่างเช่น งานรูปกระป๋องซุปเเคมเบลล์ของ Andy Worhol ที่ตีความได้ว่าเป็นการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมการบริโภค มากกว่าการวิพากษ์วิจารณ์วัฒนธรรมดังกล่าว ส่วนภาพเขียน abstract ของ Jackson Pollock เป็นการประกาศถึงบทบาทเเละหน้าที่ของศิลปิน ที่ควรมีอิสระเสรีในการทำงาน ปราศจากการกีดขวาง หรือสร้างงานบนความต้องการที่จะให้ศิลปะเป็นเพียงภาพที่เรารู้จักเเละคุ้นเคย การเมืองเป็นเนื้อหาที่หาดูได้อย่างง่ายดายในผลงานศิลปะยุค Postmodern อย่างเช่นภาพวาดเหมือนของพระมหากษัตริย์ หรือโป๊ป ที่มักถูกผลิตขึ้น เพื่อประกาศการเป็นสัญลักษณ์ทางอำนาจของสังคม” บทความคัดจากหนังสือ ‘Artspeak’ โดย Robert Atkins 1997

เหตุการณ์ความไม่สงบเเละความรุนเเรงทางการเมืองในประเทศไทย ตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2010 ถึงปัจจุบัน ได้กระตุ้นให้มีการเเสดงความคิดเห็น ความกังวล เกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองจากประชาชนชาวไทยในทุกระดับอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การเเตกเเยกเเละเเบ่งข้างในสังคมที่เกิดจากความเเตกต่างทางความคิดเเละอุดมการณ์ทางการเมือง ได้จุดประกายเเละปลุกเร้าให้ชาวไทยออกมาเเสดงจุดยืนทางความคิดจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง, เพื่อการเเสดงความไม่เห็นด้วย, ไม่พอใจ หรือการหาพื้นที่ในสังคมที่เหมาะสมกับตนเอง ไปจนถึงสาเหตุที่มากไปกว่าเรื่องการเมือง

ประเด็นเรื่อง ศีลธรรม, จรรยาบรรณ, ประเพณีนิยม, ความรักชาติ เเละโครงสร้างอำนาจเเบบเดิมได้ถูกยกออกมาตีความใหม่ เเละนำออกมาใช้เป็นประเด็นในการโฆษณาชวนเชื่อจากกลุ่มคนที่มีอิทธิพลหลายกลุ่ม ที่คอยส่งเนื้อหา ข้อมูล เพื่อเป็นการยกระดับอุดมการณ์ทางการเมืองต่างๆที่ตนเองเชื่อ ผลที่เกิดขึ้นคือการเเยกขั้วอย่างรุนเเรงทางด้านความคิดทางการเมือง ซึ่่งเเผ่ขยายอย่างรวดเร็วในกลุ่มประชากรไทยทุกชนชั้น ไม่ว่าจะเป็นชั้นรากหญ้า ชนชั้นนักคิด หรือผู้มีฐานะเเละอำนาจสูงสุดของประเทศ

ด้วยสถานการณ์ที่มีบรรยากาศการต่อต้านการมีบทสนทนาเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองอย่างอิสระ หรือความพยายามเปลี่ยนความคิดของคนในสังคมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ศิลปินเเละนักคิดทั่วประเทศไทยที่มีความอัดอั้น ได้ออกมาเเสดงทัศนคติของตนเองอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของผู้บริหารหรือระบบการบริหารบ้านเมือง การสร้างงานโฆษณาชวนเชื่อเพื่ออวยระบอบทางการเมืองระบอบใดระบอบหนึ่ง หรือการตั้งคำถามทางวัฒนธรรมเเละความเป็นชาตินิยม ชำเเหละความคิดของมวลชนในประเทศ ในขณะที่ศิลปินบางกลุ่มที่ออกมาเเสดงจุดยืนโดยไม่ได้สนใจประเดฺ็นทางการเมืองมากไปกว่าเป็นการเเสดงออกเพื่อสังเกตหรือตรวจสอบระบบความคิด อารมณ์หรือความรู้สึกของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นความสับสน ความโกรธ ทิฐิทางอารมณ์ หรือความเคลือบเเคลงใจ

นิทรรศการ Conflicted Visions ประกอบไปด้วยผลงานศิลปะที่สร้างในระหว่างปี ค.ศ. 2010-2014โดยศิลปินไทยทั้งหน้าใหม่เเละศิลปินที่มีเป็นที่รู้จักอย่างดี 7 ท่าน ที่ต่างได้ทำงานศิลปะที่ใช้สื่อที่หลากหลาย เเละได้รับเเรงบันดาลใจการเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองในประเทศไทยที่ดูเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด

มานิต์ ศรีวานิชภูมิ หนื่งในศิลปินภาพถ่ายที่เป็นที่รู้จักท่านหนึ่งในประเทศไทย ได้สร้างผลงานภาพถ่ายชุดใหม่ที่ใช้ชื่อว่า Obscene Mantra โดยยกประเด็นการทำโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยการจำลองวรรณกรรมล้อเลียนโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเเละพฤติกรรมของผู้บริหารประเทศที่ศิลปินไม่เห็นด้วย ซึ่งในอีกเเง่อาจกล่าวได้ว่าผลงานชุดนี้คือโฆษณาชวนเชื่อด้วยเช่นกัน

ถึงเเม้สุธี คุณาวิชยานนท์ เเละ ประกิต กอบกิตวัฒนา จะมีจุดยืนทางการเมืองที่เเตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เเต่ผลงานศิลปะจัดวางที่ศิลปินทั้งสองท่านร่วมเเสดงในนิทรรศการครั้งนี้คืองานบางส่วนจากนิทรรศการ ‘ดีเป็นบ้า!’ โดยสุธี คุณาวิชยานนท์ จากปี 2012 เเละ ‘อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป’ โดย ประกิต กอบกิตวัฒนา ในปี 2014 ต่างมีวิธีคิดเเละสื่อความหมายที่ใกล้เคียงกัน คือวิธีการล้อเลียน ประชดประชันประเด็นจิตวิญญาณของประเทศ เป็นการตั้งข้อสงสัยในเรื่องความคิดที่ฉาบฉวย เสเเสร้ง หลอกลวง เเละความยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นสังคมไทยปัจจุบัน

ผลงานของจักรพันธ์ วิลาสินีกุล ที่ใช้ชื่อว่า “แขวนอยู่ในอากาศ / ทรงตัวบนเส้นเชือก” เป็นการเปรียบเปรย เชื่อมต่อทางความคิดในประเด็นเกมทางอำนาจ ซึ่งเป็นผลให้มีการเปลี่ยนเเปลง สลับสับเปลี่ยนกลุ่มผู้บริหารเเละผลประโยชน์ตลอดเวลา ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของกลไกทางการเมืองไทยที่มีความซับซ้อนเเละมีการทุจริตอยู่สูง

ผลงานของพิสิฐฎ์กุล ควรเเถลง เเละมิติ เรืองกฤตยา ต่างอ้างอิงสถานการณ์ทางการเมือง ด้วยการสังเกต คาดคะเน เเละระบายความขัดข้องใจที่เกิดขึ้นทั้งภายใน เเละรอบตัวของศิลปิน พิสิฐฎ์กุลเลือกที่จะกลับไปใช้การวาดภาพ ไม่เพียงเเค่เพื่อป็นเครื่องมือในการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนถนนจากมุมมองของศิลปิน เเต่ยังเป็นการบำบัดรูปเเบบหนึ่งของศิลปิน ที่ช่วยให้เขาทำความเข้าใจสถานการณ์ทางการเมือง สังคม เเละความสับสนวุ่นวายภายในประเทศได้ ส่วนผลงานภาพถ่ายของมิติในชุด “Thai Political No 2” (2010) เเละ “Thai Political No 3” (2011) เเสดงถึงการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของมวลชนที่ต่างก็เพ่งความสนใจอย่างรุนเเรงจนเกือบอยู่ในภาวะที่ถูกครอบงำ ไปกับตัวเเสดงหลักที่ก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองในปัจจุบันนี้ อันได้เเก่ ทักษิน ชินวัตร, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เเละ อภิสิทธ์ เวชชาชีวะ

ท้ายสุดนี้ ภัณฑรักษ์ได้เลือกผลงานอีกหนึ่งชิ้นจากศิลปินผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ที่สร้างผลงานเพื่อที่จะเเสดงบนสื่อโซเชียลมีเดียเท่่านั้น สื่อดังกล่าวถือว่าเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลกในศควรรษที่ 21 นี้ เเละได้รับความนิยมอย่างล้นพ้นในประเทศไทย ผลงานชุดนี้เป็นการล้อเลียนทางการเมือง เเละการวิจารณ์ที่ใช้ภาพเเละเรื่องเล่าจากหนังสือเรียนของเด็กประถมจากยุค 70s-80s ศิลปินสร้างกรอบทฤษฎีใหม่จากโลกที่ปลอดภัยของเด็กๆ ที่ล้อมรอบไปครอบครัว เพื่อน เเละสุนัขสัตว์เลี้ยง บนบริบทเเละเนื้อหาของความรุนเเรง การเสียดสีประชดประชัน เพื่อที่จะสื่อถึงเรื่องราวของโลกคู่ขนานระหว่างความเดียงสา กับความปากว่าตาขยิบและการใช้วาจาที่สร้างความเกลียดชัง ซึ่งท้ายสุดเป็นการเเสดงให้เห็นถึงความผิดปรกติของสภาพสังคมไทยในขณะนี้

นิทรรศการครั้งนี้ไม่ได้เพียงที่ต้องการจะเเสดงความสร้างสรรค์ของศิลปินในการเชื่อมต่อทัศนคติของศิลปินต่อการเมือง หรือการวิพากษ์สังคมเท่านั้น เเต่เป็นการทดลองสถานะการใช้งานเเละสภาวะทางจิตใจของสังคมไทยรวมทั้งกลุ่มศิลปิน ที่มีการเเบ่งขั้วอย่างรุนเเรง ผ่านบทสนทนาเเลกเปลี่ยนบนพื้นที่เล็กๆเเห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ท่ามกล่างความขัดเเย้งอันยิ่งใหญ่ระดับชาติ

ขอเชิญร่วมงานเปิดนิทรรศการวันพุธที่ 2 เมษายน 2557 เวลา 18.00น.

นิทรรศการ : Conflicted Visions
ศิลปิน : ประกิต กอบกิจวัฒนา, สุธี คุณาวิชยานนท์, มานิต ศรีวานิชภูมิ, พิสิฐฎ์กุล ควรเเถลง, จักรพันธ์ วิลาสินีกุล, มิติ เรืองกฤติยา, ศิลปินไม่ประสงค์ออกนาม
วันที่ : 2-27 เมษายน 2557
สถานที่ : WTF Gallery & Cafe (สถานีรถไฟฟ้า BTS ทองหล่อ)
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ : สมรัก ศิลา 02-662-6246, 089-926-5474
เว็บไซต์ : www.wtfbangkok.com
อีเมล : somrak@wtfbangkok.com

You may also like...