BU Diamond อาคารไอคอนสร้างสรรค์นานาชาติ

“BU Diamond” อาคารที่เป็นไอคอนความสร้างสรรค์นานาชาติ บรรยากาศและสถานที่บ่มเพาะความครีเอทีฟของเด็กไทยยุคนี้

“มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” เปิดอาคาร “BU Diamond” อาคารรูปทรงเพชร ที่โดดเด่น ทันสมัย แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ให้เป็น Icon of Creativity ทีมีฟังชั่นครบครันใช้งานได้จริง

ทั้งนี้ เพราะ มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีวิสัยทัศน์และจุดยืนที่ชัดเจนในเรื่องของการเป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ มีหน้าที่กระตุ้นและผลักดันให้ทุกคนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งการจะเกิดความคิดดีๆ นั้น จำเป็นต้องมีบรรยากาศที่ดีด้วย ทั้งสิ่งแวดล้อม อาคารเรียน และองค์ประกอบอื่นๆ จึงเป็นที่มาของ “BU Diamond” หรือ Landmark ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพแห่งนี้ ด้วยฝีมือการออกแบบของบริษัทออกแบบชั้นนำ ที่นำตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งก็คือ “เพชร” มาออกแบบ เพราะต้องการให้เป็นสัญลักษณ์พร้อมตอกย้ำจุดยืนว่าที่นี่เป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพโดดเด่น เป็นที่ต้องการในอนาคต ดุจเพชรที่เปล่งประกาย ผ่านการเจียระไนอย่างพิถีพิถัน

อาจารย์เพชร โอสถานุเคราะห์ ประธานกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า “กลุ่มอาคาร BU Diamond ประกอบด้วย 3 อาคาร เป็น Icon of Creativity สัญลักษณ์แห่งความสร้างสรรค์ ที่ไม่ได้สะท้อนถึงแต่ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็น Icon of Creativity ในระดับชาติและนานาชาติอีกด้วย เนื่องจากเป็นอาคารที่ได้รับรางวัลด้านสถาปัตยกรรมดีเด่น ระดับนานาชาติ The ARCASIA Awards for Architecture 2011 ประเภท Public Amenity: Institutional Building จากสมาคมสถาปนิกเอเชีย ออกแบบโดยบริษัท A49 ซึ่งเป็นบริษัทสถาปนิกที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดของไทย นอกจากนั้น BU Diamond ยังนับเป็น Green Architect ที่มีการใช้ระบบ Building Automation Systems (BAS) ในการควบคุมการทำงานของระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดของอาคาร และมีการนำวัสดุ รีไซเคิลมาใช้เพื่อให้สอดคล้องต่อกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว โดยอาคาร BU Diamond ไม่ได้มีรูปทรงสี่เหลี่ยมธรรมดาแบบอาคารทั่วไป โดยมี 2 อาคารด้านหน้า เป็นรูปทรงคล้ายเพชรที่ยังไม่ได้รับการเจียระไน เนื่องจากหน้าที่ของมหาวิทยาลัยคือการสร้างคนธรรมดา ให้มีคุณค่าและความรู้ดั่งเพชรนั่นเอง”

ในส่วนของตัวอาคาร BU Diamond นั้น เป็นอาคารที่มีประโยชน์ใช้สอยหลากหลาย (Multi-Purpose) โดยมีฟังก์ชั่นต่างๆ มากมายที่ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาได้อย่างเต็มรูปแบบ อาทิ 

1.Imagine Lounge ซึ่งเป็น Student Lounge ดีไซน์ที่ดังระดับโลกและได้รับการเผยแพร่ลงในสื่อสิ่งพิมพ์ระดับนานาชาติ และเว็บไซด์ไปแล้วทั่วโลก ถูกออกแบบให้เป็นสวนสนุกแห่งจินตนาการ มากด้วยสิ่งอำนวยความสร้างสรรค์อันเป็นที่ต้องการของนักศึกษา ประกอบด้วย โซนค้นคว้าทดลอง, มี Book Wall ความรู้และความบันเทิงที่จะได้รับจากการอ่านหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมที่สุดตลอดกาล 20 อันดับแรกของโลก และหลากหลายหนังสือสร้างสรรค์ที่จะเปิดสมองให้จินตนาการโลดแล่นแบบไร้กรอบ, โซน “ชาร์ต แชท ช็อป” พื้นที่ชาร์ตพลังทางความคิด พบปะพูดคุย และต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ไปกับสินค้ากระตุ้นแรงบันดาลใจ ทั้งเต็มอิ่มไปกับเครื่องดื่มดับกระหาย ชาร์ตพลังความคิดให้ไม่สะดุด, โซน “สนุก สร้างสรรค์ อิสระ” พื้นที่ความสนุกแบบสร้างสรรค์ ที่นักศึกษาสามารถดีไซน์ได้เองกับอุปกรณ์กระตุ้นจินตนาการ แบบไม่เหมือนใครอย่างโต๊ะพูลที่ยาวเหยียด ห้องซ้อมดนดรี และ Polkadot Theatre

2.BUCC (Bangkok University Creativity Center) ศูนย์สร้างสรรค์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ แหล่งผลิตนักคิด สนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ดีไซน์พิเศษเพื่อจัดแสดงผลงานนวัตกรรมของนักศึกษา เพื่อผลักดันและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์

3.Software Developer Incubation Center ศูนย์บ่มเพาะนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความสร้างสรรค์ในมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่มีความโดดเด่นและน่าจับตามองในโลกแห่งนวัตกรรมที่ล้ำสมัย พื้นที่แห่งนี้มีความพร้อมอย่างเต็มพิกัดที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของว่าที่นักพัฒนาซอฟท์แวร์ระดับโลก และเปิดรับทุกความสร้างสรรค์ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากคนรุ่นใหม่ รวมทั้งยังเปี่ยมไปด้วยความพร้อมกับสุดยอดห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่รองรับนักศึกษาได้จำนวนมากถึงกว่า 1,000 คน

4.Diamond Hall หอประชุมขนาดใหญ่ ที่จุคนได้มากถึง 1,400 คน สามารถรองรับการประชุมใหญ่ระดับนานาชาติได้ นอกจากนี้ยังมีห้องสัมมนา และห้องเรียนอีกมากมาย

“และในอนาคตอันใกล้ อาคารแห่งนี้จะถูกพัฒนากลายเป็นรูปแบบ Smart Classroom ห้องเรียนอัจฉริยะรูปแบบใหม่ เปิดพื้นที่สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Space) ที่ช่วยให้อาจารย์และนักศึกษาได้สัมผัสกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุดผ่านเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น จอมอนิเตอร์ระบบสัมผัสขนาดใหญ่ สามารถนำสื่อทั้ง ภาพวิดีโอ ภาพนิ่ง การขีดเขียนแทนกระดานได้ ซึ่งขณะนี้ Smart Classroom ได้เกิดขึ้นแล้ว ในอาคารเรียนหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ และสิ่งต่างๆ เหล่านี้เองส่งผลให้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับรางวัล Trusted Brand Platinum Award 2013 ประเภท Trusted Private University จากนิตยสาร Reader’s Digest รางวัลที่การันตีได้ว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุดในประเทศไทย” ประธานกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวเสริม

ด้าน พิชัย วงศ์ไวศยวรรณ Deputy Managing Director ของ Architects 49 Limited ผู้ออกแบบอาคาร เล่าว่า “โปรเจ็กต์อาคาร BU Diamond ริเริ่มจากเรื่อง Landmark ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แต่ต่อมาโจทย์ก็เปลี่ยนไป ไม่ใช่แค่จุดจดจำอย่างเดียว ต้องมีฟังก์ชั่นอื่นๆ ด้วย เราจึงต้องทำการบ้านเยอะ พร้อมจะทำอย่างไรให้เกิด Landmark ที่มีฟังก์ชั่นทุกอย่างครบ และต้องให้โดดเด่นสอดคล้องกับความเป็นหมาวิทยาลัยสร้างสรรค์ เราเห็นว่ามหาวิทยาลัยกรุงเทพมีเพชรเป็นสัญลักษณ์ จึงนำคอนเซ็ปต์เรื่องของเพชรเข้ามาประกอบ เพื่อให้ตึกดูน่าตื่นเต้นและครีเอทีฟ ในสกีมแรกๆ มีเพชร 5 ก้อน แต่ท่ามกลางข้อจำกัดมากมาย ทั้งในเรื่องของงบประมาณ และระยะเวลาในการก่อสร้าง เราจึงลดทอนเพชรให้เหลือ 2 ก้อน และมีตึกหลังหนึ่งที่เรียบง่ายอยู่ด้านหลัง แต่ใส่ความคิดสร้างสรรค์เติมเข้าไปให้เป็นตึกสี่เหลี่ยมที่พิเศษ ใช้กระจกที่มีเลเยอร์ มีเหลี่ยม มุมกระจกพับเว้าเข้า สะท้อนเงาของเพชรที่อยู่ด้านหน้า และคว้านเจาะตรงกลางให้เปิดพื้นที่ขนาดใหญ่ อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน”

“อาคาร BU Diamond ก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างพิเศษที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย ให้เป็นอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม Green Architecture และเป็นอาคารประหยัดพลังงานที่เน้นการใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ รองรับทิศทางลมทั่วถึงทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งยังเป็นอาคารที่มีระบบควบคุมอัตโนมัติ ใช้วัสดุน้อย ไม่ซ่อนโครงสร้าง ประหยัดทรัพยากร ทันสมัย และดูแลง่าย และได้มาตรฐานความปลอดภัยตามมาตรฐานระดับสากล ส่วนการวางผังอาคาร นอกจากนี้ อาคาร BU Diamond และสถาปัตยกรรมของอาคารออกแบบให้มีทางเชื่อมกลุ่มอาคารและมีพื้นที่เปิดโล่งช่วยเน้นให้อาคารโดดเด่นขึ้นมา การจัดวางสระน้ำ Reflecting Pool ไว้ส่วนหน้าของกลุ่มอาคารเพื่อสะท้อนรูปทรงของอาคาร รวมทั้งทำหน้าที่เป็นพื้นที่รองรับการระบายน้ำของมหาวิทยาลัย การวางผังอาคารได้ถูกออกแบบด้านทัศนียภาพมุมมอง เพื่อเชื่อมการมองเห็นจากภายนอกสู่ภายในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย”

ขณะที่ ปิตุพงษ์ เชาวกุล อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Supermachine Studio (ผู้ออกแบบภายใน) กล่าวถึงมุมมองและแนวคิดในการออกแบบภายใน BUCC และ Imagine Lounge ในอาคาร BU Diamond ว่า “เรามีการเปลี่ยนจุดยืนให้ การใช้งานของ BU Diamond ภายในอาคาร ให้เป็นพื้นที่ของนักศึกษาเป็นหลัก ดังจะเห็นได้จากการจัดพื้นที่ประมาณ 60% เป็นห้องเรียน ห้องสัมมนา ห้องอาหาร และห้องพักผ่อนของนักศึกษา เพราะต้องการให้โครงการนี้เป็นที่รวมตัวของนักศึกษา

ยกตัวอย่าง เช่น BUCC ศูนย์สร้างสรรค์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ถูกดีไซน์บนแนวคิดที่ต้องการเปลี่ยนบทบาทมหาวิทยาลัยกรุงเทพให้เป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์รับกับกระแส Creative Economy ที่แรงขึ้นเรื่อยๆ โดยพื้นที่ทั้งหมดประกอบด้วย ส่วนเวิร์คช็อปสำหรับนักศึกษา ห้องสมุด พื้นที่แสดงนิทรรศการและผลงานของนักศึกษา (Viewing Room) และส่วนของออฟฟิศ ผนังบริเวณทางเข้า Lo-Fi wall ออกแบบมาให้ต่อยอด Creative Idea ให้กับนักศึกษาด้วย ทำด้วยพลาสติกสีสันต่างๆ ที่สั่งทำขึ้นพิเศษ จำนวนกว่า 10,000 ชิ้น สามารถหมุนปรับองศาได้อย่างอิสระ และปรับลวดลายใหม่ หรือดีไซน์ให้เป็นข้อความได้ตามชอบใจ หรือ Imagine Lounge แหล่งนัดพบของคนมีความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่ได้เป็นแค่ห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ แต่ยังเต็มไปด้วยเครื่องเล่นกระตุ้นจินตนาการให้เหล่านักศึกษาได้เข้ามาชาร์ตพลังสมอง และใช้เวลาว่างในระหว่างเรียนได้อย่างสร้างสรรค์กว่าเดิม โดยมี Panda Stair ซึ่งเป็นหมีแพนด้ายักษ์ซ่อนบันไดเป็นมาสคอตของห้องนี้” 

“ดังนั้น อาคาร BU Diamond จึงถือเป็นไอคอนของความสร้างสรรค์ระดับโลก ที่สะท้อนภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ ที่ตั้งของเพชรธรรมชาติที่รอการเจียระไน และบ่งบอกให้ทุกคนได้รับรู้ถึงการให้ความสำคัญและคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ ว่าต้องถูกสร้างขึ้นมา เพื่อกระตุ้นแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาทุกคน เพราะมหาวิทยาลัยกรุงเทพเชื่อมั่นว่าภายในตัวของนักศึกษาแทบทุกคนและทุกรุ่นของมหาวิทยาลัยกรุงเทพนั้น มีเพชรซ่อนอยู่ เรามีหน้าที่เจียระไนเพชรทุกเม็ดให้เปล่งประกายและงดงามพร้อมทั้งเจิดจรัส ทั้งในรั้วมหาวิทยาลัยและในอาชีพการงาน ด้วยความอุตสาหะ และความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง เพื่อท้ายสุดจะได้เป็นแรงขับเคลื่อนให้โลกหมุนไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งต่อไป” เพชร โอสถานุเคราะห์ ประธานกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวปิดท้าย

You may also like...