วรินทร์ ตันติพงศ์พาณิช

วรินทร์ ตันติพงศ์พาณิช  ผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ส่วนงานคอนซูเมอร์ อิมเมจจิ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชั่น บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ปฎิเสธไม่ได้ว่าเบื้องหลังยอดขายที่เพิ่มขึ้นเป็นเพราะผู้ชายมาดขรึม ยิ้มง่ายคนนี้ ที่ก้าวเข้ามา และใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปี ผลักดันให้กล้อง Canon ซึ่งมียอดขายจากเดิมเพียงแค่  9% แต่กลับพุ่งกระฉูดถึง 30% และเขายังได้รับการปรับตำแหน่งที่สูงขึ้น พร้อมๆกับภาระรับผิดชอบที่เข้มข้นขึ้นด้วย


ได้โอกาสอันดีในการพบปะกับคุณ วรินทร์ ตันติพงศ์พาณิช  ในงาน “The Incredible Journey” ซึ่งทาง Cannon ได้ร่วมกับ นิตยสารโลนลี แพลนเน็ต (Lonely Planet Magazine) จัดประกวดภาพถ่ายภายใต้หัวข้อ ”The Incredible Journey” ขึ้นที่เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา  คุณวรินทร์ จึงได้ให้เกียรติพูดคุยกับเราในประเด็นย่อยๆที่เราสนใจอยู่

ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวล้ำนำหน้าขนาดนี้ เราจะเห็นได้ว่า กล้องถ่ายรูป ได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างงานศิลปะ และทำให้ศิลปินเกี่ยวกับ Photo  Art เกิดขึ้นมามากมาย  ทาง Canon รู้สึกยังไงที่ผลิตภัณฑ์ของ Canon ได้กลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญ ในวงการศิลปะเกือบทั่วโลก

ต้องบอกว่าเรามีความภาคภูมิใจอยู่เสมอ อุปกรณ์กล้องมีประวัติการใช้มาอย่างยาวนาน ถ้าย้อนประวัติไป มันมีอายุที่ยาวนานมากๆ อุปกรณ์สมัยนี้มีส่วนช่วยที่ทำให้ช่างภาพสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น นับวันเทคโนโลยีจะถูกพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ แน่นอน การที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างงานศิลปะด้วย  มันเป็นความภาคภูมิใจทางเราลึกๆ และยิ่งเป็นการการันตีว่าสินค้าของเราได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ทั่วโลก

ที่ผ่านมา Canon ได้เป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะและวัฒนธรรมมากมาย มีแนวคิดตรงนี้อย่างไร มีกฎเกณฑ์หรือแนวทางยังไงในการสนับสนุน และถ้าศิลปินสนใจที่จะร่วมกิจกรรมกับทาง Canon ต้องทำอย่างไร

ส่วนใหญ่แล้วโดยปกติหลักๆเราจะดูจากลักษณะของโครงการก่อน จริงๆแล้วเราเองมีความสนใจในเรื่องของ Photo  Art อยู่พอสมควร ได้พูดคุยกับทางทีมงานว่าลักษณะการถ่ายภาพในปัจจุบันมันมีหลากหลายแขนง แต่ว่ามันมีงานทางด้าน Photo  Art  ซึ่งผมเชื่อว่าผู้ถ่ายภาพทางด้านนี้กำลังโตขึ้นๆเรื่อยๆซึ่งเราเองดูจากลักษณะของโครงงาน แล้วก็คงเป็นกิจกรรม แรกๆเราจะดูลักษณะงานที่เกี่ยวกับการซัพพอร์ททางมหาลัยโดยหลักๆ แล้วก็เป็นสาขาอาชีพทางด้านการถ่ายภาพซึ่งเป็นแนวใหม่ ซึ่งผมเชื่อว่าการถ่ายภาพในบ้านเรา มันมีการเปิดตัว มีการขยายตัวออกไปในหลายๆสาขาอาชีพ แม้แต่ไปถ่ายดาวเราก็ยังไปเลย เราคิดว่างานถ่ายภาพทางด้านเชิงศิลปะก็คงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เรามองว่าน่าให้การสนับสนุน เพราะเราเป็นบริษัทที่ขายอุปกรณ์ทางด้านการถ่ายภาพอยู่แล้ว

อยากให้ทาง Canon พูดถึงเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะปฎิเสธไม่ได้ว่า อุปกรณ์เหล่านี้ ถ้าหากผุพังซ่อมแซมไม่ได้แล้ว จะกลายเป็นขยะอิเล็คทรอนิค ที่สร้างมลพิษค่อนข้างร้ายแรง Canon มีแนวทางในการจัดการ หรือแก้ไขในส่วนนี้อย่างไร

อันนี้เป็นส่วนที่ทางประเทศญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นเอง เค้าเป็นผู้ผลิตสินค้านี้ออกมา หลักปรัชญาทางด้านเคียวเซ ที่แคนนอนใช้ก็คือ การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เราเชื่อว่าเราเป็นแบรนด์แรกๆที่มีการกล่าวถึงขั้นตอนการผลิตสินค้าที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เคมีต่างๆไม่ว่าจะเป็นพวกสารแคดเมียม และสารที่ก่อให้เกิดมลพิษทั้งทางอากาศทางน้ำ  เราเองก็มีกระบวนการผลิตที่ให้ความสำคัญและเข้มงวด ตั้งแต่สมัยผมมาร่วมงานกับ Canon ผมได้ยินเรื่องพวกนี้มาโดยตลอด ว่าเค้าที่จะพยายาม Compai ตัวเองที่จะรักษากฎและมาตรฐานของสิ่งแวดล้อมของโลก ซึ่งผมคิดว่า Canonเป็นองค์กรต้นๆในโลกที่ผลิตอุปกรณ์โดยคำนึงถึงการที่ไม่สร้างมลพิษกับสิ่งแวดล้อม พยายามที่จะคอนโทรลและร่วมมืออย่างเต็มที่ Canon ได้รับการโหวดว่าเป็นองค์กรที่มีความจริงจังในการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็น Top ของโลก

ความมุ่งมั่น ความตั้งใจ และความรักในการทำงาน ฉายชัดออกมาจนเรารู้สึกได้ คราวหน้าถ้ามีโอกาสได้พบปะกันอีก เราคงได้พูดคุยกับคนที่มีความรู้ ความสามารถ อย่างคุณ วรินทร์ ตันติพงศ์พาณิช  อีกแน่นอน และคงไม่ใช่แค่ประเด็นย่อยอย่างนี้อีก รับรองได้

You may also like...