เจสัน มราซ กับคอนเสิร์ต ครั้งประวัติศาสตร์ ณ เมืองย่างกุ้ง

ศิลปินเจ้าของรางวัลแกรมมี่ เจสัน มราซ กับคอนเสิร์ต ครั้งประวัติศาสตร์ ของ MTV EXIT ณ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เพื่อการต่อต้านการค้าและการล่อลวงมนุษย์

คอนเสิร์ตระดับนานาชาติครั้งแรกที่จะถูกจัดขึ้นที่ประเทศพม่า โดยการแสดงจะจัดขึ้น ณ ด้านหน้ามหาเจดีย์ ชเวดากอง ในวันที่ 16 ธันวาคมศกนี้คอนเสิร์ตจะถูกถ่ายถอดผ่านสายตาผู้ชมกว่า 500 ล้านครัวเรือน ในรูปแบบพิเศษของรายการ “MTV WORLD STAGE” ฟรีคอนเสิร์ตครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะมีขึ้น ณ ลานประชาคมเมืองย่างกุ้งประเทศพม่า ในวันที่ 16 ธันวาคมศกนี้ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่จะมีการจัดคอนเสิร์ตขึ้น ณ ลานประชาคมแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณฐานของมหาเจดีย์ชเวดากองที่มีอายุกว่า 2,600 ปีอันถือว่าเป็นสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญและเป็นที่เคารพบูชามากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศพม่า

ศิลปินผู้ที่เป็นทั้งนักร้องและนักแต่งเพลงเจ้าของรางวัลแกรมมี่เจสันมราซจะเป็นศิลปินระดับโลกคนแรกที่ได้ทำการแสดงคอนเสิร์ตในประเทศพม่าพร้อมด้วยศิลปินชั้นนำของประเทศไทย เช่นสล็อต แมชชีน พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติจากรัฐบาลประเทศต่างๆผู้สนับสนุนโครงการ และผู้ที่ทำงานเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์

คอนเสิร์ตMTV EXIT Live in Myanmarจะออกอากาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของพม่าและบันทึกการแสดงซึ่งเป็นตอนพิเศษของ MTV World Stage และจะได้รับการออกอากาศผ่านเครือข่าย MTVไปทั่วโลกในปีพ.ศ.2556โดยเป็นรายการเพลงที่ออกอากาศทุกสัปดาห์และสามารถเข้าถึงผู้ชมได้มากกว่า 500 ล้านครัวเรือนรายการนี้จะรวมไปถึงบันทึกการแสดงสดการสัมภาษณ์และเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

งานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดยองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย (AusAID), องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID)และโครงการการขับเคลื่อนเพื่อหยุดการค้ามนุษย์ (Walk Free) ร่วมอำนวยการผลิตโดยรัฐบาลพม่า,โครงการความร่วมมือแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์(UNIAP) และ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(ASEAN)

เจสัน มราซ ศิลปินผู้มีเส้นทางสายดนตรีเริ่มตั้งแต่การร้องเพลงในร้านกาแฟ มาจนกระทั่งการแสดงบนเวทีระดับโลก และปัจจุบันได้เป็นเจ้าของรางวัลแกรมมี่ถึงสองรางวัล อีกทั้งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ถึง 6 ครั้ง และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ในปี พ.ศ.2551 กับอัลบั้มลำดับที่สามที่มีชื่อว่า “We Sing We Dance We Steal Things”ซึ่งมีเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างสูงเช่น“I’m Yours” ที่มียอดจำหน่ายทั่วโลกกว่า 21 ล้านชุดนอกจากนี้ยังประกอบด้วยเพลงที่ได้รับรางวัลแกรมมี่ถึง 2 เพลงคือ “Make It Mine” และ “Lucky”และล่าสุดในปีนี้กับอัลบั้ม“Love Is A Four Letter Word”ที่มีเพลงดังระดับท็อปชาร์ตอย่าง “I Won’t Give Up” เจสัม มราซ ได้อุทิศตนให้กับการรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์มาเป็นเวลานาน ทั้งยังได้ร่วมมือกับองค์กรต่อต้านการค้ามนุษย์ที่ประเทศกาน่าและฟิลิปปินส์โดยนักร้องจากแคลิฟอร์เนียผู้นี้เพิ่งเสร็จสิ้นการแสดงทัวร์คอนเสิร์ตที่คราครั่งไปด้วยผู้ชมจำนวนมากในเอเชียไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

การค้ามนุษย์ คือ อาชญากรรมที่โหดร้ายเป็นเหตุให้ผู้คนต้องถูกคุมขังเยี่ยงทาสและถูกละเมิดต่อความเป็นมนุษย์ส่วนมากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะเป็นผู้หญิงและเด็กคาดการณ์ว่าน่าจะมีคนมากกว่า20ล้านคนทั่วโลกที่กำลังตกเป็นทาสจากการค้ามนุษย์โดยเฉพาะในประเทศพม่านอกจากนี้ประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยไปกว่ากัน การจัดคอนเสิร์ตครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการที่รวมถึงรายการโทรทัศน์และการจัดกิจกรรมสัมมนาในพื้นที่เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ให้กับเยาวชนโดยก่อนหน้าคอนเสิร์ตครั้งนี้ MTV EXIT เคยได้ทำการออกอากาศสารคดีเพื่อการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศพม่ามาแล้วถึงสองครั้งกับสารคดีสองเวอร์ชั่น ในปี พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2555 ตามลำดับ

MTV EXITLive in Myanmar ได้ร่วมมือจาก TQPRThailand

ติดตามรายละเอียดรายละเอียดของคอนเสิร์ตและการรับบัตรเข้าชมฟรีได้ทาง www.mtvexit.org หรือจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ Twitter ที่ @mtvexitและ facebook ที่ www.facebook.com/mtvexit

ข้อมูลเพื่มเติมเกี่ยวกับ MTV EXIT
แคมเปญ MTV EXIT (End Exploitation and Trafficking) เป็นโครงการที่ได้รับรางวัลในการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความพยายามในการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อสร้างความตระหนักและความรู้ในการป้องกันการค้ามนุษย์และการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ โครงการนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรปเมื่อปีพ.ศ. 2547 ด้วยความร่วมมือจาก Swedish International Development Cooperation Agency หรือ SIDA และด้วยความร่วมมือจาก USAID ในปีพ.ศ. 2550 ซึ่งทำให้โครงการนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วเอเชีย โครงการนี้ได้จัดทำภาพยนตร์สารคดีและสื่ออื่นๆที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ เช่นสารคดี Sold: An MTV EXIT Special นำเสนอโดย Lara Duttaสารคดี Traffic: An MTV EXIT Special นำเสนอโดย Lucy Liu และสารคดี Inhuman Trafficนำเสนอโดย Angelina Jolie และได้มีการจัดทำสารคดีเหล่านี้ในภาคภาษาท้องถิ่นที่นำเสนอโดยศิลปินเอเชียอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ประกาศในสื่อสาธารณะ และการ์ตูน โครงการ MTV EXIT และ Radiohead ได้ร่วมมือกันจัดทำวีดีโอประกอบเพลงเพื่อต่อต้านการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบที่มีชื่อว่า All I Need ซึ่งได้เผยแพร่ออกอากาศทั่วทุกเครือข่ายของ MTV ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2551 โครงการ MTV EXIT ยังร่วมมือกับองค์กรเอกชนต่างๆกว่า 100 องค์กร ในการแจกแผ่นพับหลายแสนแผ่นที่จัดทำขึ้นในภาษาต่างๆกว่า 25 ภาษาเพื่อรณรงค์ให้เยาวชนจำนวนกว่าล้านคนได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว มีการณณรงค์ผ่านการแสดงคอนเสิร์ตและเทศกาลดนตรีที่นำแสดงโดยศิลปินชั้นนำเช่น R.E.M, Radiohead, The White Stripes, The Hives Thievery Corporation และศิลปินชั้นนำระดับประเทศและระดับสากลอีกมากมาย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็ปไซต์  : www.mtvexit.org

USAID
USAID หรือ The United States Agency for International Development เป็นหน่วยงานอิสระของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาซึ่งดำเนินงานโดยรับนโยบายต่างประเทศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา USAID เป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลสหรัฐฯในการให้ความช่วยเหลือไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูสภาพความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติ ลดปัญหาความยากจน และให้การช่วยเหลือในการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย หน่วยงาน Regional Development Mission for Asia ของ USAID ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ มีหน้าที่ดูแลโปรแกรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งโครงการข้ามชาติและให้ความสนับสนุนกับภารกิจของ USAID ในระดับทวิภาคีในเอเชีย โดยครอบคลุมประเด็นปัญหาหลัก อาทิ ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติด้านการค้ามนุษย์และสัตว์ป่า ปัญหาโรคเอดส์ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การค้า และปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ

สาหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็ปไซต์ : www.usaid.govและ www.usaid.gov/rdma/

AusAID
Australian Agency for International Development (สานักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย)หรือ AusAIDคือหน่วยงานของออสเตรเลียที่ทำงานด้านการพัฒนาในระดับสากลการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาของออสเตรเลียเป็นไปตามแนวทางและข้อ กำหนดของ Millennium Development Goals ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการลดระดับความยากจน นอกจากนี้ AusAIDยังดาเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์ของโครงการความช่วยเหลือเพื่อประเทศกำลังพัฒนาของรัฐบาลออสเตรเลียที่ให้ความสาคัญกับการลดระดับความยากจน และการมุ่งประสบผลสำเร็จในการพัฒนาที่ยั่งยืน AusAIDทางานร่วมกับ องค์กรอิสระ สถาบันพหุภาคี และอาสาสมัคร อีกทั้งยังมีการทำงานประสานงานโดยตรงกับหน่วยงานภาครัฐ การให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลออสเตรเลียในโครงการMTV EXIT เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทที่รัฐบาลออสเตรเลียมีต่อพันธกิจในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ของ AusAIDที่ดำเนินการอยู่ในภูมิภาคเอเชียซึ่งรวมถึงโครงการ“การค้ามนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย (ARTIP)” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานยุติธรรมทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นโครงการTRIANGLEซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐในภูมิภาคเพี่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของแรงงานข้ามชาติ และ โครงการ Childhood ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการป้องกันเด็กและเยาวชนจากธุรกิจการค้าประเวณีและการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนพัฒนากระบวนการของรัฐในการดาเนินการสอบสวน จับกุมผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์

ข้อมูลเพิ่มเติม  :www.ausaid.gov.au

วอล์คฟรี (WALK FREE)
เป็นการเคลื่อนไหวรูปแบบใหม่ของคนจากทั่วสารทิศเพื่อที่จะทำงานร่วมกันในการที่จะหยุดเรื่องที่เลวร้ายที่สุดอย่างหนึ่งของโลกนั่นก็คือการค้าทาสยุคใหม่เราได้สร้างสังคมของเราขึ้นมาทั่วโลกด้วยเครื่องมือที่ทรงพลัง โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และโซเชี่ยลมีเดีย เราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก วอลค์ฟรี มุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือจากประชาชน รัฐบาล กลุ่มธุรกิจ และชุมชนให้เกิดการลงมือทำเพื่อที่การค้าทาสยุคใหม่ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตามจะถึงจุดจบ และทุกคนจะได้มีสิทธิ์เลือกทางเดินของตัวเอง

ข้อมูลเพิ่มเติม :  www.walkfree.org

โครงการความร่วมมือสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ (UNIAP)
ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2543 เพื่อประสานความร่วมมือที่แข็งแกร่งในการตอบสนองต่อปัญหาการค้ามนุษย์ ในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป้าหมายหลักของ UNIAP คือการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมและมั่นคงต่อปัญหาการค้ามนุษย์ ในประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง (จีน กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม) ผ่านความร่วมมืออย่างต่อเนื่องจากการวางกลยุทธ์เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้เนื่องจากเป็นโครงการระดับสากลจึงได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากรัฐบาลกว่า 250 ประเทศรวมไปถึงผู้แทนในระดับต่างๆและจากองค์การสหประชาชาติ  (UN, ILO, UNICEF, IOM และอื่นๆ) องค์กรไม่แสวงหากำไรในระดับถ้องทิ่นรวมไปถึงองค์กรเอกชน ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับชุมชน

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
ประชาคมอาเซี่ยน ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2504 มีประเทศสมาชิก คือ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม สำนักงานเลขาธิการอาเซี่ยนตั้งอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

ข้อมูลเพิ่มเติมของ อาเซียนสามารถค้นหาได้ที่เว็บไซต์ : www.asean.org

การค้ามนุษย์
องค์การสหประชาชาติได้ให้คำจำกัดความของการค้ามนุษย์ว่าหมายถึง“การว่าจ้างการขนส่งและการรับไว้ซึ่งบุคคลเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์จากการค้าประเวณีด้วยการใช้กาลังการฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงเพื่อความมุ่งประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์” ซึ่งเปรียบได้ว่าเป็นระบบค้าทาสสมัยใหม่องค์การสหประชาชาติประมาณการว่าในช่วงเวลาหนึ่งอาจมีผู้คนมากกว่า 20 ล้านคนจากทั่วโลกที่ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกการค้ามนุษย์เป็นการค้าที่ผิดกฎหมายและเป็นปัญหาอาชญากรรมที่ใหญ่อันดับสองรองมาจากการค้าเสพติดซึ่งผู้กระทาความผิดฐานค้ามนุษย์มีรายได้มากกว่าหมื่นล้านเหรียญดอลล่าร์ต่อปีจากการค้ามนุษย์และผู้ที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่คือกลุ่มเยาวชนชายและหญิงผู้ซึ่งแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า

มูลนิธิ MTV EXIT
ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2546 ในสหราชอาณาจักร (หมายเลขทะเบียน 1103267) โดยมีเป้าหมายสาคัญในการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย MTV ในการให้ความรู้กับเยาวชนและผู้ใหญ่เกี่ยวกับปัญหาด้านสิทธิของมนุษยชนและปัญหาสังคมมูลนิธิจัดทำโปรแกรมมัลติมีเดียและกิจกรรมต่างๆเพื่อรณรงค์ให้เกิดการรับรู้และสร้างทัศนคติในกลุ่มเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์นอกจากนี้มูลนิธิยังร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรเอกชนที่มีจุดประสงค์ในการต่อต้านการค้ามนุษย์และการให้ความช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์ให้ได้มีอนาคตที่ดีขึ้น

You may also like...